เปิดยุทธศาสตร์ 3 อุตสาหกรรมอนาคต ผลักดันไทยก้าวสู่ประเทศรายได้สูง

ศุกร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๔๗
สศอ. เปิดยุทธศาสตร์ ผลักดันไทยก้าวสู่ประเทศรายได้สูง ดึง 3 ประเทศร่วมเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ พร้อมชี้ 7 ลักษณะประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า หลังจาก สศอ.ได้ทำการศึกษาอุตสาหกรรมอนาคตที่มีศักยภาพของไทยที่จะทำให้ก้าวกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารสำหรับอนาคต,อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพและอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและซ่อมบำรุง จากปัจจัยต่างๆดังนี้ คือ

อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง

อุตสาหกรรมที่มีอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องจำนวนมาก

อุตสาหกรรมที่สามารถแข่งขันได้ในอนาคต มีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา

อุตสาหกรรมที่สามารถต่อสู้กับนโยบายอุตสาหกรรมของต่างประเทศได้

•การเจริญเติบโตที่ถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation – Driven Growth)

•การลงทุนในการพัฒนาทักษะแรงงานที่สำคัญ

•การออกแบบที่เน้นประสิทธิภาพ

•การผลิตสินค้าใหม่ ๆ โดยการปรับปรุงและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่

•ความซับซ้อนของการส่งออก (Sophistication of Export) นอกจากนี้ปัจจัยเกื้อหนุนที่ต้องมีการพัฒนาควบคู่กันไป คือ การศึกษา (Education) โดยเฉพาะแรงงานฝีมือที่มีทักษะ

จากนั้นจึงได้ กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอนาคต ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสาหรับอนาคต ให้เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสูงให้แก่ประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่จะสร้างรายได้เพิ่มให้ประเทศก้าวไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง

ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารสำหรับอนาคต ประกอบด้วย

1.พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันที่จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำตลาด (Product Champion) ในแต่ละกลุ่ม โดยใช้ทรัพยากรและวัตถุดิบในประเทศและหรือประเทศที่เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์

2.พัฒนาและส่งเสริมผลักดันอย่างต่อเนื่องให้ผลิตภัณฑ์อาหารฟังก์ชันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผู้บริโภคในตลาดโลกเปลี่ยนกระแสมาบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ และทำให้ผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่ในห่วงโซ่อาหารสำคัญของโลก

ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ (ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา) ประกอบด้วย

1.เพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ (Scale Up Capability) ที่ประเทศมีฐานความรู้พร้อมอยู่แล้วและเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตและมีส่วนแบ่งสำคัญในตลาดโลก

2.พัฒนางานวิจัยและผลิตสินค้าและบริการที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ในอุตสาหกรรมชีวเภสัชกรรม (Bio-Pharmaceutical) และชีวเวชภัณฑ์ (Bio-Medical) รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาระบบการทดลอง ระบบการผลิต ที่เป็นไปตามมาตรฐานโลก

3.พัฒนางานวิจัยในความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นที่สามารถนำมาใช้ในเศรษฐกิจชีวภาพเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมใหม่ได้

ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและซ่อมบำรุง (ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา) ประกอบด้วย

1.มุ่งเป็นศูนย์บริการ (Service Hub) ในการซ่อมบำรุงและฐานผลิตชิ้นส่วน (Production Base)สำหรับการซ่อมบำรุงอากาศยาน โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุตสาหกรรม และอาศัยการสร้างความร่วมมือ (Strategic Partnership) กับภาคเอกชนของประเทศที่เป็นผู้ผลิตอากาศยานและเครื่องยนต์อากาศยานรายใหญ่ของโลก

2.สร้างพันธมิตรกับสายการบินที่ให้บริการเส้นทางบินในภูมิภาค เพื่อชักชวนให้ใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์บริการ ตลอดจนลงทุนหรือร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและการซ่อมบำรุงในประเทศไทย

3.จัดหาเทคโนโลยีชิ้นส่วนอากาศยานที่อยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมจากต่างประเทศ (Technology Acquisition) เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยใช้เป็นฐานในการเข้าสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมได้เร็วขึ้น

พร้อมกันนั้นยังได้ศึกษาประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์สำหรับอุตสาหกรรมอนาคตของไทย โดยวิเคราะห์จากความเชื่อมโยงด้านทรัพยากรและผลกระทบด้านนโยบายของ 11 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน มาเลเซีย อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม กัมพูชา ติมอร์-เลสเต รวมทั้งไทย ปรากฏว่า ประเทศที่เหมาะสมเป็นประเทศหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ สำหรับ อุตสาหกรรมอาหารสำรับอนาคต คือ ประเทศบรูไน เนื่องจากบรูไนมีนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร มีความแข็งแกร่งด้านอาหารฮาลาล และมีความร่วมมือด้านอาหารกับประเทศไทยมาโดยตลอด

ส่วน อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ คือ ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากมาเลเซีย เป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกกำหนดให้เป็นแหล่งชีวพันธุ์ขนาดใหญ่ที่มีความหลากหลาย มีนโยบายสนับสนุนชีวเศรษฐกิจ (Bioeconomy) และมีเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพที่ชัดเจน รวมทั้งมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ดีและมีความพร้อมของสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพาราฯ

สำหรับ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอากาศยานและซ่อมบำรุง คือ ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจาก สิงคโปร์เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมฯ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รวมทั้งมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า

ทั้งนี้ลักษณะของการติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เห็นได้จาก 1.อัตราการเติบโตการลงทุนต่ำ

2.การเติบโตการผลิตชะลอตัวลง 3.ขีดจำกัดของความหลากหลายของอุตสาหกรรม 4.ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันลดลงและอุตสาหกรรมเคลื่อนที่ไปประเทศที่ค่าแรงต่ำกว่า ทำให้ขาดแคลนแรงงาน รวมถึงตลาดแรงงานไม่มีคุณภาพ 5.การพัฒนาและสะสมองค์ความรู้อยู่ในระดับต่ำทำให้ไม่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการได้ 6.ปัญหาคอรัปชั่น/เสถียรภาพทางการเมือง 7 .ปัญหาการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

"ดังนั้นประเทศไทยจะก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางได้จะต้องเพิ่มรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี หรือ GDP per capita ให้ได้ประมาณ 450,000 -500,000 บาท หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.25 เท่าของปัจจุบัน ซึ่งนโยบายและยุทธศาสตร์ ดังกล่าวจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่ประเทศที่มีรายได้สูงในอนาคต รวมทั้งเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการสนับสนุนและรองรับอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 อีกด้วย" นายวีรศักดิ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version