ธ.ก.ส.พร้อมจ่ายเงินชาวนาไร่ละ 1 พันบาท มั่นใจถึงมือเกษตรกรภายในเดือนตุลาคมนี้แน่นอน

อังคาร ๓๐ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๕
ธ.ก.ส.พร้อมดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 ยืนยันเสร็จสิ้นภายในฤดูการผลิตปีนี้หรือภายในเดือนตุลาคมนี้แน่นอน

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ ธ.ก.ส. ดำเนินโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 โดยจากการหารือร่วมระหว่าง 6 หน่วยงานดังกล่าวสามารถได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแผนดำเนินการในรายละเอียดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการดำเนินมาตรการและการกำกับดูแลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะสามารถดำเนินการจ่ายเงินสนับสนุนต้นทุนการผลิตได้ตามกรอบวิธีปฏิบัติภายใน 47 วัน หรือภายในเดือนตุลาคมนี้แน่นอน

สำหรับรายละเอียดขั้นตอนการดำเนินโครงการฯ ประกอบไปด้วย 1.ประชุมทางไกลเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการฯ แก่คณะกรรมการฯ ระดับจังหวัด กรุงเทพมหานคร นายอำเภอ และพนักงาน ธ.ก.ส. 2.ประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการฯ ให้แก่ คณะกรรมการฯ ระดับหมู่บ้าน/แขวง/เทศบาล 3.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการฯ4.เกษตรกรลงทะเบียนแสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ 5.ปิดประกาศข้อมูลผู้แสดงความประสงค์เข้าร่วมโครงการฯ 6.ประชุมประชาคมเพื่อยืนยันและรับรองสิทธิ์ 7.คณะกรรมการระดับอำเภอ/เขต ตรวจสอบข้อมูล 8.ธ.ก.ส. สาขา บันทึกข้อมูล 9.ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ ประมวลผล และ 10.โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรและรายงานผล โดยกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายใน 47 วัน

โครงการฯ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยรัฐบาลสนับสนุนเงินช่วยเหลือไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 10ไร่ ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2559 – 31 ต.ค. 2559 และภาคใต้ไม่เกิน 31 ธ.ค. 2559 มีกลุ่มเป้าหมายคือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2559/60 ที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นผู้ปลูกข้าวตามทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2557/58 ที่ผ่านมา และเป็นเกษตรกรตามมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มีรายได้น้อย ปี 2557 เป็นเจ้าของนาและทำนาเอง ต้องมีเอกสารสิทธิ์ กรณีเช่านาต้องมีสัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองการเช่า

ทั้งนี้ เกษตรกรจะต้องเลือกใช้สิทธิ์เข้าร่วมในโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2559/60 หรือโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำนา ไม่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงกระบือ โคเนื้อ แพะ การทำนาหญ้า และโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าว ไม่เหมาะสมเป็นเกษตรกรรมทางเลือกอื่น โครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น

สำหรับขั้นตอนการขอใช้สิทธิ์และการรับรองสิทธิ์ ประกอบไปด้วย 1.เกษตรกรจัดทำหนังสือแสดงความประสงค์และรับรองตนเองตามแบบที่กำหนดต่อคณะกรรมการฯ ระดับหมู่บ้าน 2. ให้มีการประชุมประชาคมหมู่บ้านเพื่อยืนยันหรือรับรองการเป็นเกษตรกรและจำนวนแปลงที่ดินโดย คณะกรรมการฯ ระดับหมู่บ้าน 3.คณะกรรมการฯ ระดับอำเภอ ตรวจสอบข้อมูล ผลการประชุมประชาคมหมู่บ้าน และจัดส่งข้อมูลให้ ธ.ก.ส. สาขาในพื้นที่ และ 4. ธ.ก.ส. นำรายชื่อบันทึกในระบบและโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกร โดยเกษตรกรต้องดำเนินการเพาะปลูกข้าวตามที่รับรองไว้ หากไม่ดำเนินการต้องคืนเงินที่ได้รับไว้ในโครงการฯ ทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ กรณีเกษตรกรไม่คืนเงินที่ได้รับไว้จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ