ศ. วรศักดิ์กล่าวว่า สถาบันเอไอทีมีความเข้มแข็งทางด้านความเป็นนานาชาติ และสนใจที่จะช่วยเหลือประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ศ.วรศักดิ์ยังกล่าวเสริมอีกว่าสถาบันเอไอทีได้รับประโยชน์จากความเอื้อเฟื้อของประเทศไทย และมีความยินดีที่จะทำหน้าที่เสมือนเวทีทางด้านวิชาการและงานวิจัยเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ
ในการหารือกับอธิการบดีสถาบันเอไอทีและเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถาบันฯ ดร.สุวิทย์ ได้แนะนำแผนปฏิบัติงานสำหรับสถาบันเอไอทีว่า "สถาบันเอไอทีควรทำหน้าที่เป็นสถาบันเฉพาะทางที่เน้นทางด้านงานวิจัย ในลักษณะนี้ สถาบันเอไอทีสามารถสร้างพื้นที่พิเศษสำหรับตัวสถาบันเองและไม่เป็นการไปแข่งขันกับมหาวิทยาลัยทั่วๆไป ซึ่งกำลังพยายามจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีกิจกรรมครอบคลุมหลายด้าน
นอกจากนี้ สถาบันเอไอทียังสามารถมีบทบาทเป็นผู้นำในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน บนพื้นฐานของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" ดร.สุวิทย์ยังกล่าวเพิ่มเติมว่าประเทศไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอด G77 ซึ่งจะกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหัวข้อหนึ่งของการประชุม "เราควรทำงานเพื่อมุ่งสู่โลกาภิวัฒน์จากส่วนที่เหลืออยู่ มากกว่าโลกาภิวัฒน์จากโลกตะวันตก" ดร.สุวิทย์กล่าว
นอกจากนี้ ดร.สุวิทย์ ยังแนะนำให้สถาบันเอไอทีเน้นปัญหาสำคัญๆในงานวิชาการและงานวิจัย ซึ่งอาจจะตอบสนองความท้าทายต่างๆของประเทศไทยทางด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การจัดการน้ำ และความท้าทายด้านสังคมผู้สูงอายุ และยังกล่าวอีกว่าความช่วยหลือของสถาบันเอไอทีสามารถทำได้ในสามด้าน ได้แก่ เทคโนโลยี การนำเอานโยบายเอาไปปฏิบัติ และความร่วมมือในระดับภูมิภาค และในขณะที่สถาบันเอไอทีเน้นทางด้านวิชาการและงานวิจัย สถาบันเอไอทียังสามารถช่วยเหลือประเทศไทยในวาระแห่งชาติและทำงานเพื่อมุ่งสู่ความร่วมมือระดับภูมิภาคไปพร้อมๆกัน ท่านรัฐมนตรีช่วยยังกล่าวถึงสโลแกนของรัฐบาลที่ว่า "เราจะเดินหน้าไปด้วยกัน" และ "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" โดยย้ำถึงความคิดที่ว่าประเทศไทยสามารถได้รับประโยชน์จากเครือข่ายทั่วโลกของสถาบันเอไอที ก่อนที่จะสรุปว่า "สถาบันเอไอทีมีบทบาทสำคัญที่จะทำให้มันเกิดขึ้น"