ประชาชน 76.19% เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 แก้ปัญหานักเรียนตีกัน ร้อยละ 75.51 เห็นด้วยให้กักบริเวณในค่ายทหาร ขณะที่ร้อยละ66.61 คิดว่าควรกำหนดโทษกับสถาบันการศึกษาที่มีเด็กนักเรียนตีกันให้หนักขึ้น

พฤหัส ๐๑ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๙:๔๖
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการบังคับใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาท โดยได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 ถึง 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,157 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ออกคำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวเรื่องมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาลงวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โดยมีเนื้อหาว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษาก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและสังคม แต่เนื่องจากมาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ทันต่อสถานการณ์ ทำให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพิ่มเติมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปและจัดระเบียบในสังคม โดยกำหนดให้เจ้าพนักงานกักตัวผู้ก่อเหตุ หรือเตรียมก่อเหตุไม่เกิน 6 ชั่วโมง พ่อแม่ผู้ปกครองต้องทำทัณฑ์บนหรือวางเงินประกัน หากลูกหลานทำผิดซ้ำถูกริบเงิน เอาผิดผู้ยุยง ส่งเสริม สนับสนุน ติดคุกตั้งแต่ 3 ถึง 1 ปี ขณะที่สถาบันการศึกษาต่างๆต้องทำมาตรการป้องกันและแก้ไขโดยด่วน ซึ่งคำสั่งดังกล่าวได้รับการตอบรับจากผู้คนในสังคมเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามถึงแม้คำสั่งดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้มากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ยังคงปรากฎข่าวปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาอยู่เป็นระยะและมีแนวโน้มมาปัญหาดังกล่าวยังคงไม่ลดลงไป ซึ่งหลายภาคส่วนในสังคมได้ออกมาแสดงความห่วงใยวิพากษ์วิจารณ์ถึงปัญหาดังกล่าว โดยบางส่วนมีความคิดเห็นว่ามาตรการที่กำหนดยังคงเบาไปและไม่เด็ดขาดจึงทำให้ปัญหาเด็กนักเรียนตีกันยังคงเกิดขึ้น จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการบังคับใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาท

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดอายุ 15 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.68 และเพศชายร้อยละ 49.32 สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านความคิดเห็นต่อการใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแก้ปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทนั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 76.19 เห็นด้วยกับการใช้มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวในการแก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาท ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.61 ไม่เห็นด้วย ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.2 ไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าการที่เจ้าหน้าที่มีอำนาจกักตัวเด็กนักเรียนที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทไว้ไม่เกิน 6 ชั่วโมงนั้นเป็นเวลาที่น้อยเกินไปซึ่งคิดเป็นร้อยละ 40.42 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 32.71 มีความคิดเห็นว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้ว ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.56 มีความคิดเห็นว่าเป็นเวลาที่มากเกินไป และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.31 ไม่แน่ใจ และหลังจากมีการใช้มาตรา 44 แก้ไขปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทมาได้ประมาณ 2 เดือน กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.17 รู้สึกว่าปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนยังมีเท่าเดิม ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.22 รู้สึกว่าปัญหาเพิ่มขึ้น โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 21.61 ที่รู้สึกว่าปัญหาลดลง

ในด้านความคิดเห็นต่อปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนนั้น กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.83 มีความคิดเห็นว่าการลงโทษสถานเบากับเด็กนักเรียนที่ก่อปัญหาทะเลาะวิวาทด้วยการตักเตือน อบรม ทำทัณฑ์บน ไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กนักเรียนเหล่านั้นเกิดความสำนึกไม่กลับมาก่อเหตุทะเลาะวิวาทอีก นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 68.56 มีความคิดเห็นว่าการนำเด็กนักเรียนต่างสถาบันที่ก่อปัญหาทะเลาะวิวาทมาเข้าค่ายทำกิจกรรมร่วมกันจะไม่มีส่วนช่วยลดปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทได้ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.34 มีความคิดเห็นว่าพฤติกรรม/คำพูดของศิษย์เก่าหรือบรรดาครูอาจารย์ที่เป็นศิษย์เก่ามีอิฐธิพลต่อการตัดสินใจก่อปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนในรุ่นปัจจุบันได้

ในด้านความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทนั้น กลุ่มตัวอย่างประมาณสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 75.51 เห็นด้วยกับการลงโทษเด็กนักเรียนที่ก่อปัญหาทะเลาะวิวาทด้วยการกักบริเวณในค่ายทหาร กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.56 เห็นด้วยที่จะให้เด็กนักเรียนที่ก่อปัญหาทะเลาะวิวาทไปบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ เช่น เก็บกวาดขยะ ลอกท่อระบายน้ำ/คูคลอง เป็นต้น ขณะที่กลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 66.61 มีความคิดเห็นว่าควรมีการกำหนดโทษกับสถาบันการศึกษาที่มีเด็กนักเรียนก่อปัญหาทะเลาะวิวาทให้หนักขึ้นและเด็ดขาดกว่าในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.17 ไม่เห็นด้วยหากจะมีการกำหนดบทลงโทษทางอาญากับพ่อแม่ผู้ปกครองที่บุตรหลานไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท

และเมื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมของวิธีการจัดการปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาทระหว่างการขึ้นบัญชีเกณฑ์ทหารกับการเข้าค่ายฝึกอบรมระเบียบวินัยตามแนวของทหารนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 42.71 มีความคิดเห็นว่าการให้เด็กนักเรียนเข้าค่ายฝึกอบรมระเบียบวินัยตามแนวของทหารมีความเหมาะสมกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.68 มีความคิดเห็นว่าให้ขึ้นบัญชีเกณฑ์ทหารมีความเหมาะสมกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 17.88 มีความคิดเห็นว่าเหมาะสมทั้งสองวิธี และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.73 ไม่แน่ใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ