กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าดัน SMEs สู่ตลาดโลก ตามแผน 'Global Reach’ เปิดเวทีพัฒนา การออกแบบแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา ผลักดันไทยเป็นเมืองแฟชั่นระดับสากล

พฤหัส ๐๑ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๕:๔๘
กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ จัดงาน กิจกรรมการพัฒนาออกแบบแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา (Fashion Smart Start Up 2016 : Creative Designers Creation) ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach) เพื่อสร้างบุคลากรด้านการออกแบบตั้งแต่ระดับเยาวชนโดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา ให้มีความสามารถในการบูรณาการความรู้ในทุกประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและการดำเนินธุรกิจแฟชั่น จนสามารถแข่งขันในระดับอาเซียน (ASEAN) ได้อย่างภาคภูมิ โดยมีนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดตัวโครงการ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงแนวนโยบายต้นทางของกิจกรรมดังกล่าวว่า "วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการพัฒนาออกแบบแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา (Fashion Smart Start Up 2016 : Creative Designers Creation) ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach) นี้เพื่อร่วมส่งเสริมผลักดันบุคลากรในสายอุตสาหกรรมออกแบบ-แฟชั่นทั้งระบบ ให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ตั้งแต่เรื่องของแนวโน้มการออกแบบ การคัดเลือกวัตถุดิบ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์ ตลอดจนการสื่อสารทางการตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและการนำเสนอผลงานการออกแบบ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการก้าวกระโดดไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง สามารถแข่งขันในระดับสากลได้ (Global Reach) โดยกิจกรรมนี้เน้นไปที่นักเรียนนักศึกษาด้านออกแบบรวมถึงสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ เพื่อการเริ่มสร้างทักษะและปรับแนวทางวิธีคิดอย่างเป็นระบบทั้งวงจรให้เกิดขึ้นตั้งแต่ในระดับเยาวชน ซึ่งต้นกล้าเหล่านี้จะกลายเป็นบุคลากรสำคัญในอุตสาหกรรมออกแบบแฟชั่นที่มีศักยภาพนำพาประเทศไปสู่เป้าหมายในอนาคตอันใกล้ ตามแนวนโยบายภาครัฐที่วางแผนและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมทุกประเภท (Hub of ASEAN Industrial) และด้วยขีดความสามารถของบุคลากรที่มีคุณภาพเราตั้งเป้าให้ไทยเป็นเมืองแฟชั่นของภูมิภาคนี้และในระดับสากลต่อไป"

ทั้งนี้ จากภาพรวมด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมแฟชั่น (สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ตกแต่ง) เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเห็น

ได้จากมูลค่าการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่สร้างรายได้และการจ้างแรงงานมากกว่า 2.2 ล้านคน มีมูลค่าการส่งออกในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทั้งหมด และกำลังซื้อในประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าการบริโภคในประเทศกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี รวมถึงสินค้าแฟชั่นไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับด้านการออกแบบและการผลิต เป็นแหล่งธุรกิจแฟชั่นระดับแนวหน้าของภูมิภาค รัฐบาลจึงวางแผนงานทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อรองรับการเติบโตที่จะเกิดขึ้น รวมถึงตั้งเป้าให้ไทยก้าวไปเป็นผู้นำของภูมิภาคในภาคอุตสาหกรรม ASEAN

นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ข้อมูลโครงการฯนำร่องที่จะเกิดขึ้นในระยะเวลา 8 เดือนต่อจากนี้ "บุคลากรรุ่นใหม่ในภาคการศึกษาจำนวนหลายพันคนทั่วประเทศมีทุนเดิมในการเรียนรู้จากสถาบันอยู่แล้วเพียงแต่ขาดการวิเคราะห์ในภาพรวมเพื่อต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์ ฉะนั้นสถาบันจะนำหลักสูตร เครื่องมือและความรู้ไปเติมเต็ม โดยตัวโครงการจะให้ความสำคัญในแนวคิดหลักเรื่อง "ทุนทางวัฒนธรรม" ที่ส่งเสริมให้นักออกแบบมองเห็นคุณค่าของท้องถิ่น วัฒนธรรมประจำภาค ที่เป็นอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ให้นำมาผสมผสานกับไอเดียสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีการออกแบบและการผลิตเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นภายใต้กลิ่นอายแห่งความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนให้คนทั่วโลกได้เห็น โดยแบ่งเป็นส่วนของการผลักดันเยาวชนกลุ่มที่มีความพร้อมด้านทักษะความรู้และความเข้าใจ ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สามารถสร้างงานได้จริงก่อน คัดจากจำนวน 50 เหลือ 10 คนเพื่อเข้ารับการอบรมในเชิงลึกเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และส่วนของโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่นักศึกษาและสถาบันการศึกษาทั่วทั้ง 4 ภาค โดยทีมผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายที่ปรึกษาครอบคลุมการพัฒนาบุคลากรแฟชั่นครบทั้ง 4 อุตสาหกรรม คือสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า เครื่องประดับ และของตกแต่ง"

"รูปแบบการดำเนินโครงการจะเป็นลักษณะบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม และสถาบันด้านออกแบบต่างๆ จึงมั่นใจได้ว่าภาคของเนื้อหาและภาคปฏิบัติจะเข้มข้นและได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง จนนักออกแบบรุ่นเยาวชนของเราสามารถพัฒนาและมีความพร้อมมากพอ ที่ในอนาคตจะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Hub of ASEAN Design Industrial) ได้อย่างแน่นอน" นางอนงค์กล่าวปิดท้าย

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ Call Center โทร 093-2636111 หรือ เฟสบุ๊กแฟนเพจ Fashion Smart Start Up 2016 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์http://www.thaitextile.org

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๐๐ วว. จับมือจังหวัดสระบุรี/อบต.ตาลเดี่ยว ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก นำ วทน. พัฒนาศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีจัดการขยะชุมชน
๑๑:๐๐ วว.จับมือคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งเสริมวิจัยนวัตกรรม พัฒนาบัณฑิตสมรรถนะสูง ด้วยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
๑๑:๓๗ เปลี่ยนธุรกิจคุณให้โตคูณร้อย กับหลักสูตร CMF เปิดรับสมัครรุ่นที่ 21 แล้ววันนี้ !!
๑๑:๒๖ GFC เสิร์ฟข่าวดีรับศักราชใหม่ปี 68 ดีเดย์ให้บริการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก GFC Ubon เต็มสูบ
๑๑:๐๐ โรงพยาบาลลานนา จัดอบรม ชาวลานนาร่วมใจ ต้านโรคภัยจากภาวะอ้วนลงพุง
๑๑:๑๕ ค้นหา รักแท้ ในมุมมองใหม่กับศูนย์ฯ สิริกิติ์ ในกิจกรรม ธรรมะในสวน ณ สวนเบญจกิติ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้
๑๑:๑๐ เชฟรอน (ไทย) รุกเจาะตลาดน้ำมันเครื่อง เพื่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
๑๑:๐๗ RML เปิดศักราชปี'68 มาแรง! หุ้นกู้มีหลักประกันขายหมดเกลี้ยง 100%
๑๑:๐๐ สมาคมดินโลก ร่วมกับ 4 หน่วยงาน ลงนามความร่วมมือเสริมสร้างการจัดการดินเพื่อเกษตรยั่งยืน
๑๐:๐๐ ศูนย์การค้าเครือเอ็ม บี เค ฉลองเทศกาลตรุษจีนสุดยิ่งใหญ่ CHINESE NEW YEAR 2025