กระทรวงเกษตรฯ โดย กรมส่งเสริมสหกรณ์ เดินหน้าตั้งธนาคารสินค้าเกษตรในสถาบันเกษตรกร เตรียมขยายธนาคารหม่อนไหมใน จ.นครราชสีมาและอุตรดิตถ์

ศุกร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๑:๔๘
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งได้กำหนดแผนการดำเนินงานไว้6 แผนงาน ได้แก่ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว ธนาคารข้าวในสถาบันเกษตรกร ธนาคารโคนมทดแทน ธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามโครงการพระราชดำริ ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ธนาคารปลานิลพันธุ์ดี ทั้ง 6 แผนงาน ขณะนี้ได้ดำเนินการตามเป้าหมายครบ 100% โดยธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ได้ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน คัดเลือกสหกรณ์ต้นแบบ 12 แห่ง ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยหมัก 13,150 ตัน ใช้ในการบำรุงดินในพื้นที่ 6,577 ไร่ ผลิตน้ำหมักชีวภาพ 714,200 ลิตร ใช้ในพื้นที่ 15,710 ไร่ และผลิตปุ๋ยพืชสด 466 ตัน ใช้ในพื้นที่ 58,250 ไร่

สำหรับธนาคารโค - กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์ กำหนดแผนงานบริหารจัดการโค-กระบือ ใน 73 จังหวัด มอบสิทธิ์ให้เกษตรกร 5,000 ราย จำนวน 109,000 ตัว ขณะนี้ได้ดำเนินการมอบสิทธิ์บริหารจัดการโค-กระบือไปแล้ว 7,880 ราย คิดเป็น 157.60% ของเป้าหมาย และมีแผนจะขยายผลการจัดตั้งธนาคารโคกระบือให้ครบทั้ง 77 จังหวัด และจะบริการเกษตรกรรายใหม่และส่งมอบโคกระบือให้แก่เกษตรกรอีกจำนวน 12,131 ราย ส่วนธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว ได้ร่วมกับกรมการข้าว คัดเลือกพื้นที่ดำเนินการในชุมชน 70 แห่ง สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ตั้งต้นให้ชุมชนละ 5 ตัน รวม 100 ตัน และจะมีการขยายผลจัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อชุมชน จำนวน 3 แห่ง โดยมีเกษตรกรเข้าร่วม 30 ราย และอยู่ระหว่างการเสนอขอรับรองข้าวมะลิอินทรีย์

ด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารโคนมทดแทน ยังได้จัดตั้งสหกรณ์ 3 แห่งในจังหวัดพัทลุง เชียงใหม่และอุตรดิตถ์ ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมโครงการ 299 ราย มีบริการรับฝากโคนม 611 ตัว มูลค่า 8.78 ล้านบาท มีการถอนคืนโคนมไปแล้ว 96 ตัว มูลค่า 3.51 ล้านบาท และยังมีธนาคารข้าวในสถาบันเกษตรกร โดยได้คัดเลือกสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 10 แห่ง ในจังหวัดร้อยเอ็ด นครราชสีมา เพชรบุรี สุรินทร์ เชียงใหม่ ตราด น่าน และอุทัยธานี ส่งเสริมการให้บริการกู้ยืมปัจจัยการผลิตสำหรับนำไปใช้ในฤดูกาลปลูกข้าว ทั้งเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืช เมื่อเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะนำมาขายให้กับสหกรณ์และหักค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมปัจจัยการผลิตกับทางสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกสหกรณ์เข้าร่วมโครงการ 577 ราย ส่วนธนาคารปลานิลพันธุ์ดี ได้ร่วมกับกรมประมง จัดตั้งศูนย์ปลานิลพันธุ์ดีและสนับสนุนพันธุ์ปลานิลพันธุ์ดีให้สถาบันเกษตรกร 8 แห่ง จำนวน 15,000 ตัว พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์ในการเลี้ยงปลานิลให้ได้คุณภาพจำนวน 160 ราย

"ระยะต่อไปจะมีการขยายผลโครงการธนาคารสินค้าเกษตรเพิ่มเติมจาก 6 แผนงานเดิม โดยขณะนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์มีแนวคิดที่จะเพิ่มธนาคารปัจจัยการผลิตหม่อนไหม เข้าเป็นหนึ่งในแผนงานของโครงการธนาคารสินค้าเกษตรด้วย โดยจะร่วมบูรณาการกับกรมหม่อนไหมในการดำเนินโครงการดังกล่าว และขณะนี้ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายที่จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุทัยธานี เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนการการผลิตเส้นไหม และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันด้านการผลิตผ้าไหมให้เป็นที่ยอมรับของตลาดมากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย" อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version