ร่วมเดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร สศก. ระดมทุกภาคส่วน เสวนายุทธศาสตร์ภูมิอากาศ ปี 60-64

ศุกร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๐:๑๗
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเวทีสัมมนาระดมความเห็นจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ปี 2560 – 2564 ดึงทุกภาคส่วนร่วมเสวนา หวังเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ให้สมบูรณ์ ครอบคลุม พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงอย่างทันสถานการณ์และสร้างการมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นางจันทร์ธิดา มีเดช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนา การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ปี2560 – 2564 ณ โรงแรมรามาการ์เด้น กรุงเทพฯ ซึ่ง สศก. ร่วมกับศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการกำหนดและวางแผนกลยุทธ์การดำเนินงานของยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้านการเกษตร ฉบับที่ 2 เพื่อให้มีความครอบคลุม เป็นรูปธรรม และสามารถวัดผลสัมฤทธิ์ได้ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ธุรกิจเกษตร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ

สำหรับการสัมมนาดังกล่าว ได้มีการเสวนาในหัวข้อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคการเกษตรและแนวทางการรับมือ การอภิปรายในประเด็นความท้าทาย แนวทางการปรับตัว และการมีส่วนร่วมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคเอกชน ผลการประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ฉบับที่ 1 (ปี 2556-2559) ตลอดจนการสัมมนากลุ่มย่อยระดมความคิดเห็นต่อสภาพปัญหา ความคาดหวัง และข้อเสนอแนวทางการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ฯ โดยวิทยากรทั้งจากภาครัฐเอกชน และสถาบันการศึกษา

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยในปี 2553 พบว่า ภาคเกษตรของไทยมีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับสอง (ร้อยละ 22.6) รองจากภาคพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด (ร้อยละ 69.9) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรของไทยจึงมีความสำคัญ ทั้งจากแรงกดดันของโลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และประเทศผู้นำเข้าสินค้าเกษตร อาจใช้เป็นข้อกีดกันทางการค้า ทั้งนี้ ภาคเกษตรกรรม เป็นภาคการผลิตที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเกษตรกรรายย่อยและชาวประมงชายฝั่งพื้นบ้าน ซึ่งมีวิถีการผลิตที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เมื่อภูมิอากาศมีความแปรปรวน ทำให้เกษตรกรไม่สามารถกำหนดวันเพาะปลูกได้เหมือนในอดีต การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น ลดลง ยังมีผลต่อการอยู่รอดและการขยายพันธุ์ของแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้มีการระบาดของโรคและแมลง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก

ดังนั้น ภาคเกษตรจึงจำเป็นจะต้องเตรียมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม บนพื้นฐานทรัพยากรและสภาพที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ ซึ่งการวางแผนที่ดีและสอดคล้องต่อบริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากจะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านภาคเกษตรของประเทศไปสู่เกษตรกรรม ยั่งยืนแล้ว ยังจะทำให้ประเทศไทยสามารถการสร้างความได้เปรียบในการผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่ม AEC ด้วย

ทั้งนี้ เชื่อว่า ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศด้านการเกษตร ปี 2560-2564 ในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ให้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์มีความสมบูรณ์เกิดประโยชน์ต่อสร้างความเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมและเตรียมพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ รวมถึงข้อตกลงต่างๆ ตามบริบทโลกต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version