“AECS” กังวลราคาสินค้าโภคภัณฑ์ร่วง-NPLพุ่งกดดันดัชนี แนะลงทุนหุ้นขนาดเล็ก ชู EA - CBG-LPH-BR-BA-TWPC- ARROW- EPG

อังคาร ๐๖ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๙:๔๔
บล. เออีซี (AECS) ประเมินตลาดหุ้นไทยเดือนกันยายนผันผวน จากความกังวลราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวลง และความกังวล NPL ให้กรอบดัชนีที่ระดับ 1,480-1,550 จุด แนะลงทุนหุ้นขนาดเล็ก ปัจจัยพื้นฐานรองรับ และผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่น ชู EA-CBG-LPH-BR-BA-TWPC-ARROW- EPG

นายเกรียงไกร ทำนุทัศน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECSประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนกันยายนว่า ตลาดหุ้นไทยได้รับแรงกดดันจากการปรับตัวลดลงของของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และความกังวล NPL จึงทำให้ดัชนีมีความผันผวนในระยะสั้น โดยมองกรอบดัชนีไว้ที่ระดับ 1,480-1,550 จุด และหากดัชนีมีการปรับตัวต่ำกว่า 1,500 จุดเป็นจังหวะพิจารณาเข้าซื้อกลับได้

ทั้งนี้ให้พิจารณาบริษัทที่มีปัจจัยเชิงลบที่มีผลระยะสั้น มองว่ากลุ่มพลังงาน และธนาคารอาจจะกดดันบรรยากาศการลงทุนได้ เพราะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มสำรวจขุดเจาะน้ำมัน ได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ เนื่องจากตลาดคาดการณ์ว่าเฟด จะมีการเพิ่มน้ำหนักการปรับอัตราดอกเบี้ย และกลุ่มธนาคารที่ตลาดเพิ่มความกังวลเกี่ยวกับ NPL ในอุตสาหกรรมบันเทิง ทำให้หุ้น Big cap ดังนั้นจึงแนะนำเปลี่ยนเป็นลงทุนในหุ้นโรงกลั่น เช่น TOP และกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน เช่น EA แทน

นอกจากนี้แนะนำลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก ที่ปรับตัวลดลงจากภาวะตลาด แต่มีแนวโน้มผลการดำเนินงาน และธุรกิจสดใส โดยมองว่าเป็นโอกาสเหมาะในการเข้าลงทุน เช่น หุ้น EA ซึ่งเข้าสู่เฟส Up – cycle ของผลการดำเนินงานรอบใหม่ในปี 2560 ซึ่งเป็นปีที่สามารถรับรู้รายได้จากธุรกิจโรงไฟฟ้า solar 278 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลง 126 เมกะวัตต์ อีกทั้งกระแสเงินสดที่เหลืออยู่หลังจากหักค่าใช้จ่ายต่างๆของบริษัทระยะ 3 ปีข้างหน้ามีโอกาสขยับเพิ่มขึ้นจากระดับ 5,000 ล้านบาทต่อปีเป็น 8,000 ล้านบาทต่อปี

แม้โครงการพลังงานลมส่งมอบลดลง รวมกับผลตอบแทนจากโครงการที่ลงทุนที่สูงสุดในผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานลม

รองลงมาหุ้น CBG รายได้ในประเทศมีการเติบโต และมีมาร์เก็ตแชร์ ที่สูงขึ้นตามการเติบโตของการกระจายสินค้า ที่มีการคิดภาษีเพิ่มขึ้น ตามสินค้าที่เพิ่มขึ้น ส่วนรายได้ต่างประเทศมีการเติบโตจากกัมพูชาสูงถึง 42% เมื่อเทียบจากปีก่อน และมีการรับรู้รายได้ในอังกฤษปีนี้ 2.5% จากการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้น ICUK เพื่อเพิ่มช่องทางในการทำการตลาด และเพิ่มสัดส่วนรายได้ต่างประเทศ

หุ้น LPH ผลการดำเนินงานเติบโต 123% จากการเริ่มรับรู้การแพทย์เฉพาะทาง (ตา) ,บริษัทกำลังเข้าสู่Milestone 3 เฟสของการเติบโต คือ 1) เพิ่มศูนย์แพทย์เฉพาะทาง 5 ประเภท 2) อยู่ระหว่างการขยายธุรกิจโรงพยาบาลแห่งใหม่ (Green Field) แต่ก็เปิดโอกาสสำหรับแผนลงทุนโรงพยาบาลที*มีอยู่ในตลาด (Brown Field) ซึ่งจะมีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นลง 3) เพิ่มสัดส่วนรายได้จากการรองรับ Medical Tourism จากการเพิ่มใบอนุญาต JCIA, สัดส่วนลูกค้าประกันสังคมยังมีแนวโน้มเติบโต และลูกค้าประกันสังคมมีศักยภาพเนื่องจากเป็นลูกค้าที่มีแผนประกันสุขภาพมากกว่า 1 รูปแบบ ธุรกิจโรงพยาบาลในโซนลาดพร้าว เป็น Non CBD ที่มีการเติบโตตามผังเมือง (โดยเฉพาะเส้นเกษตรนวมินตร์ที่มีขนาดทางเศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) และแนวโน้มผลการดำเนินงานระยะสั้นกำลังเข้าสู่ช่วง High Season ทำให้เติบโตได้ แม้จะมาจากฐานการเติบโตที่สูงในไตรมาส 2/59

หุ้น BR มีผลการดำเนินงานผ่านจุด่ำสุดและเริ่มฟื้นตัว, รายไดธุรกิจการเกษตรฟื้นตัวตาม Farm Income,สัดส่วนรายได้ต่างประเทศมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้น ทั้งจากส่วนแบ่งการตลาดในยุโรปที่เพิ่มขึ้น และการเพิ่มสัดส่วนสินค้าแปรรูป หุ้น BA ธุรกิจสนามบินสมุยยังเติบโตได้อย่างโดดเด่น, เพิ่มเส้นทางการบินจากการเปิด Code sharingกับสายการบินต่างประเทศ, มูลค่าส่วนเพิ่มจากการเข้าถือ SPF, และสมุยยังสามารถเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ 1 ใน 5 ของ Trip Advisory ในขณะที่ตัวเลข Passenger Yield, Load Factor ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง

หุ้น TWPC เติบโตตามการนำเข้าของแป้งมันของจีนที่เพิ่มขึ้นจาก 5 แสนตันต่อปี เป็น 1.5 ล้านต้นต่อปีจากการเติบโตของอุตสาหกรรมบะหมี่ และขนมหวาย TWPC มีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ 7% ในตัวเลข China Import และยังต้องมีการขยายกำลังการผลิตเฉลี่ย 9หมื่นตัน/ปีในระยะ 3 ปี ข้างหน้าเพื่อรักษาและเพิ่มโอกาสในการขยายส่วนแบ่งการตลาด ธุรกิจ Food ในประเทศขยายจากตลาดวุ้นเส้นไปยังก๋วยเตี๋ยว ซึ่งมีจุดแข็งด้านอายุของผลิตภัณฑ์, ความสะอาดและการประหยัดต่อขนาด, มีระบบการจัดส่งที*เข้มแข็ง (Cash Van) และมีประวัติของสายการผลิต 65 ปี

หุ้น ARROW ผู้นำการผลิตและจัดจำหน่ายท่อร้อยสายไฟ และท่อชนิดต่างๆ มีส่วนแบ่งการตลาดในไทยสูงถึง 60% มีประเด็นบวกจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ได้แก่โครงการย้ายสายไฟลงดิน โครงการรถไฟฟ้า โครงการสุวรรณภูมิเฟส 2 โครงการมอเตอร์เวย์ตลอดจนการก่อสร้างในโครงการอสังหาริมทรัพย์จากภาคเอกชน มี Interest Bearing Debt to Equity เพียง 0.02 เท่า และมีฐานะ Net Cash 200 ล้านบาท อีกทั้งยังมี CFO ปีละ 275 ล้านบาท ปี 2559 คาดทำสถิติกำไรสูงสุดที่300 ล้านบาท เติบโต 22.1%จากปีก่อน และโตต่อปีละ 7.8% ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2560-2562)

สุดท้ายหุ้น EPG เน้นผลิตสินค้านวัตกรรม เจาะกลุ่มพรีเมี่ยม (Innovation Based Product) ส่งผลให้รายได้ทั้ง 3 ธุรกิจหลักโตทั้งหมด ได้แก่ 1) ฉนวนยาง (โต 10%จากปีก่อน) 2) อุปกรณ์ยานยนต์ (โต 30%จากปีก่อน) และ 3) บรรจุภัณฑ์พลาสติก (โต 10%จากปีก่อน) มีอานิสงส์บวกจากราคาต้นทุนน้ำมันปรับตัวลง หนุนมาร์จิ้นขยับเพิ่มขึ้น โดยปี 2559/60 คาดมีกำไรปกติโต 32.9%จากปีก่อน และโตต่อ 19.2%จากปีก่อน ในปี 2560/61 ฐานะการเงินแข็งแกร่ง มี Interest Bearing Debt to Equity ที่ 0.2 เท่า พร้อมรองรับแผนลงทุนในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม