นอกจากนี้ การดำเนินงานดังกล่าวยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน อาทิ การบริหารจัดการที่ดี การขนส่ง การเงิน และการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขยายตลาดและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น "คูปองวิทย์เพื่อโอทอป (STI for OTOP upgrade)" จึงเป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ที่เน้นการพัฒนา 6 ด้าน ได้แก่ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ พัฒนาและออกแบบกระบวนการผลิต ระบบมาตรฐาน เครื่องจักร และวัตถุดิบต้นน้ำ ผ่านกลไกระบบพี่เลี้ยง หรือที่ปรึกษาเทคโนโลยี เชื่อมโยงการบริการด้านการตลาดและการเงินผ่านเครือข่ายในการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เชื่อมต่อและบรรลุยังวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ปี 2015-2020 คือ ประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กิจกรรมงาน TISTR and FRIENDS นี้เป็นการสรุปภาพรวม และการจัดแสดงผลงานที่ดำเนินการมาตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ทางกระทรวงวิทย์ฯ ได้ดำเนินการโครงการคูปองวิทย์เพื่อ OTOP จัดให้มีการลงทะเบียนเพื่อ matching technology กับผู้ประกอบการ OTOP เพื่อยกระดับ OTOP ด้วย วทน. ทั้ง 4 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด มุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการในระดับ SME และOTOP ที่เป็นผู้ประกอบการส่วนใหญ่ของประเทศ ตลอดจนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีธุรกิจเป็นของตัวเองให้สามารถเข้าถึงและเข้าใจในเรื่องการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจมากยิ่งขึ้น การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ซึ่งเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน โดยนำหลักยุทธศาสตร์ของรัฐบาลเป็นตัวกำหนดทิศทางและการดำเนินการ
ปัจจุบันการดำเนินงานภายใต้โครงการนี้มีผู้ประกอบการผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือก technology matching รวมทั้งสิ้น 239 ราย โดยโครงการได้ผ่านการอนุมัติจากคณะทำงานของแต่ละหน่วยงาน จัดทำ technology matching กับนักวิจัย อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นให้สินค้า OTOP มีนวัตกรรม เพื่อให้เกิดธุรกิจ OTOP ที่ยั่งยืน และสำหรับในปี 2560 มีเป้าหมายพัฒนากลุ่ม OTOP เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 629 ราย โดยจะเริ่มสัญจรรายภูมิภาคเพื่อรับลงทะเบียนผู้ประกอบการ OTOP ในช่วง พฤศจิกายน 2559 – เมษายน 2560ใน 10 จังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ ภาคเหนือ เชียงใหม่ แพร่ น่าน และพิษณุโลก ภาคอีสาน อุดรธานี บุรีรัมย์ ภาคใต้ ภูเก็ต เพชรบุรี ชุมพร ภาคตะวันออก สระแก้ว ตามที่ได้มีโครงการการจัดตั้งบริษัท ประชารัฐ รักสามัคคีประเทศไทย โดยปี 2560 จะเน้นการทำ OTOP Innovation เป็นสำคัญ มุ่งเน้นพัฒนาด้าน OTOP sector อาหารและการเกษตร เป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการที่เป็น Agenda หลัก ของกระทรวงวิทย์ฯ และประเทศ ได้แก่ โครงการสร้างความเข้มแข็ง SME, Food Innopolis และ Startup ได้อย่างลงตัว
ดังนั้น ปี 2559 และปี 2560 โครงการวิทย์เพื่อ OTOP เป็นโครงการพลิกโฉมสินค้า OTOP ของประเทศ ให้พัฒนามีคุณภาพเทียบเท่ากับสากล และสามารถสร้างผู้ประกอบการใหม่และเสริมสร้างฐานรากที่เข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างแท้จริง
นอกจากนี้ ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า งาน TISTR and FRIENDS 2016 ภายในงานจะมีการแบ่งรูปแบบกิจกรรมเน้น 3 โซน คือ โซน นิทรรศการ (1) "Technology readyness for SMEs และ OTOP" เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP นำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาสินค้าและการบริการ รวมทั้งแสดงผลงาน OTOP success case ของหน่วยงานในกระทรวงวิทย์ฯ โซน OTOP ประชารัฐ (2) บูธเพื่อให้หน่วยงานพันธมิตรร่วมใจกันให้คำปรึกษา เสนอแนวทางให้การสนับสนุนกับผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ทั้งด้านการตลาด การเงิน ด้านมาตรฐานแบบอาชีพ และ โซน OTOP ชวนชิมชวนใช้ (3) OTOP takeoff การออกบูธของผู้ประกอบการที่ผ่านการพัฒนาด้วย วทน. ที่พร้อมสู่การจัดจำหน่ายสู่สากลเพื่อให้ประชาชนที่สนใจสามารถเลือกซื้อไปใช้ไปชิม เพื่อร่วมกันสร้างความภาคภูมิใจให้กับสินค้า OTOP ไทย
อีกทั้งในงานมีวิทยากรที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาสินค้า OTOP จากหน่วยงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างแบรนด์สินค้า OTOP สู่สากล ผู้เชี่ยวชาญการตั้งชื่อสินค้า OTOP ให้โดนใจ, ผู้สร้างแรงบันดาลใจ OTOP inspired, และ OTOP startup มาบรรยายให้กับผู้ประกอบการ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาสินค้า OTOP ต่อไป และผู้ฟังเกิดแรงบันดาลใจในการตั้งต้นธุรกิจ ว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นั้น เป็นส่วนสำคัญ ในระบบการพัฒนาสินค้าและธุรกิจ ซึ่งจะก่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อนต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง รวมทั้งร่วมกันเดินหน้าประเทศไทยของเราให้เป็น Thailand 4.0 ได้อย่างมั่นคง โดย ทางผู้จัดงาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดงาน TISTR and Friends 2016 จะแสดงให้ทุกท่านเห็นว่า ภาครัฐ มีความตั้งใจจริงและเต็มที่ในการผลักดันให้กลไกคูปองวิทย์เพื่อ ใช้ในการสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOPสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ไทยให้ก้าวไทยสู่สากล
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของท่านกับทางสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สามารถขอคำปรึกษาได้ภายในงาน สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองการตลาด หรือ call center วว. โทร. 02-577-9300 หรือwww.tistr.or.th ดร.ลักษมี กล่าวสรุป
ที่มาข้อมูล : รายงานผลการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 31 ก.ค. 2559 โดย คณะทำงานยกระดับOTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี