ครม.เห็นชอบระเบียบความรับผิดทางละเมิดให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน

พฤหัส ๐๘ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๖:๐๓
ครม. เห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 แก้ไขให้มีผลใช้บังคับรวมถึง อปท. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐอื่น พร้อมเพิ่มอำนาจให้ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแลหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเสียหายได้ คาดสัปดาห์หน้าประกาศใช้บังคับ

นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 ซึ่งกรมบัญชีกลางได้ยกร่างแก้ไขในเรื่องของการปฏิบัติตามการวินิจฉัยสั่งการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกหน่วยงาน รวมทั้งให้อำนาจผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแลหน่วยงานแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเสียหายได้สำหรับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ฉบับเดิม มีแนวทางในการปฏิบัติคือ เมื่อข้าราชการกระทำผิด ส่วนราชการดำเนินการตามขั้นตอนและส่งให้กระทรวงการคลัง โดยคณะกรรมการพิจารณาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พิจารณา และเมื่อมีการวินิจฉัยประการใดแล้ว จะส่งกลับไปยังส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ตามระเบียบฯ ข้อ 18 ซึ่งส่วนราชการจะออกคำสั่งตามการวินิจฉัยดังกล่าว แต่หากเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานรัฐอื่น สามารถใช้ดุลยพินิจเพื่อสั่งการตามที่เห็นสมควรได้ ทำให้การดำเนินการของหน่วยงานมีความแตกต่างกันเป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาพบว่า จากข้อมูลในปัจจุบัน มีสำนวนของ อปท. จำนวน 594 เรื่อง คิดเป็นจำนวนความเสียหายประมาณ 1,250 ล้านบาท และมีสำนวนของรัฐวิสาหกิจ จำนวน 61 เรื่อง คิดเป็นจำนวนความเสียหายประมาณ 888 ล้านบาท

อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า กรมบัญชีกลางเห็นว่า การดำเนินการในเรื่องดังกล่าวควรปฏิบัติเช่นเดียวกันทุกหน่วยงาน จึงได้เสนอแก้ไขระเบียบนี้ เพื่อให้มีการปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกันทุกหน่วยงานของรัฐ โดยกำหนดให้ส่วนราชการ อปท. รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐอื่น ต้องออกคำสั่งตามการวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ นอกจากนี้ ได้เพิ่มแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดด้วย ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว หัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัด ใช้ดุลยพินิจที่จะตั้งกรรมการหรือไม่ก็ได้ หากหน่วยงานต้นสังกัดไม่ดำเนินการ ทางกรมบัญชีกลางก็ไม่สามารถตรวจสอบอะไรได้ ซึ่งระเบียบฯ ใหม่ ได้ปรับแก้ไขในกรณีดังกล่าว โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นแต่หัวหน้าหน่วยงานต้นสังกัดไม่แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณา ผู้บังคับบัญชาที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้นๆ สามารถแต่งตั้งคณะกรรมการได้ ตามระเบียบฯ ข้อ 12/1 เช่น หากอธิบดีไม่ตั้งกรรมการสอบความเสียหาย ปลัดกระทรวงมีอำนาจในการแต่งตั้งกรรมการได้ เป็นต้น

"ขณะนี้ ครม.ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว ต่อไปจะเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อลงนาม และประกาศในราชกิจจา-นุเบกษาเพื่อใช้บังคับต่อไป คาดว่าจะประกาศได้ในสัปดาห์หน้า" นายมนัสกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version