การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2559

อาทิตย์ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๖ ๒๑:๕๐
วันนี้ (9 กันยายน 2559) คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ (National Startup Committee) ซึ่งแต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานคณะกรรมการฯ และมีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2559 ซึ่งการประชุมในวันนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของประเทศไทย (พ.ศ. 2559 – 2564) ซึ่งดำเนินการโดยคณะทำงานย่อย 4 คณะที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการฯ ดังนี้

1. การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 1)

1.1 การจัดงานประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ Startup

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดงาน Startup Thailand & Digital Thailand 2016 ในระดับภูมิภาค เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจ ความตระหนักรับรู้ และแรงบันดาลใจให้กับกลุ่ม Startup เป้าหมายและประชาชนในพื้นที่ โดยในปีนี้ได้จัดงานไปแล้ว 2 ครั้ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น และภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่ และล่าสุด จะจัดงาน Startup Thailand & Digital Thailand 2016 ภาคใต้ ณ รอยัล ภูเก็ต มารีน่า จังหวัดภูเก็ต วันที่ 16 – 18 กันยายน 2559 โดยได้กราบเรียนเชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการเปิดงานดังกล่าว

นอกจากนี้ ได้มีการจัดงานประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับ Startup ไปแล้วหลายครั้งด้วยกัน เช่น

1) งาน Smart Business Solution for SMEs วันที่ 10 มิถุนายน 2559 ณ กระทรวงพาณิชย์

2) งาน Techsauce Summit 2016 วันที่ 23 – 24 กรกฎาคม 2559 ณ Centara Grand & Bangkok Convention Center

3) งาน IP Fair 2016 วันที่ 11 – 14 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

4) งาน Thailand Technology Show 2016 วันที่ 8 – 10 กันยายน 2559 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

5) งาน TIDE 2016 วันที่ 15-18 กันยายน 2559

1.2 การสร้างให้เกิดศูนย์กลางแห่งการประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ (Knowledge Center) สำหรับ Startup

ได้มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ หัวข้อ Thailand 4.0 ในรูปแบบ Infographic และ 2D Motion Infographic ความยาว 5.06 นาที เผยแพร่ลงในช่องทาง YouTube

2. การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 2)

2.1 การพัฒนาแนวทางปรับปรุงกฎหมายธุรกิจ การพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจเริ่มต้นและการกำหนดคุณสมบัติของ Qualified Investor และ Qualified Startup

คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ศึกษาแนวทางการปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จำนวน 4 มาตรา เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมสำหรับ Startup และผู้ลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางการพัฒนากฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดทางธุรกิจและระบบบัญชีเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานด้านกฎหมายฯ) ซึ่งคณะทำงานด้านกฎหมายฯ ได้มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้

1) กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นผู้เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อคณะรัฐมนตรี

2) คณะทำงานด้านกฎหมายฯ จะสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมปรับแนวทางการดำเนินงานเพื่อรองรับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว

2.2 แนวทางการพัฒนา Web Portal และระบบ E-learning

สวทน. ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนา Online Portal เพื่อบูรณาการข้อมูลและสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้น โดยมีผู้แทนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน

ปัจจุบัน Web Portal (NEW.set.or.th) ได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานที่หลากหลาย เช่น

1) Startups ลงทะเบียน 541 ราย

2) Investors ลงทะเบียน 51 กลุ่ม

3) ภาครัฐ ลงทะเบียน 44 หน่วยงาน

4) ภาคเอกชน ลงทะเบียน 71 หน่วยงาน

ตลาดหลักทรัพย์ จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกแบบ Web portal รูปแบบใหม่ และเปิดใช้งานในช่วงเดือนตุลาคม 2559 เพื่อให้สอดคล้องกับการตั้งเป้าเป็น Regional Startup Portal ในระยะยาวต่อไป

2.3 การพัฒนาย่านวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup district)

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สวทน. ได้ดำเนินโครงการ University-based startup district โดยในเบื้องต้นได้รวบรวมข้อมูลความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการจัดตั้ง startup district

3. การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการบ่มเพาะวิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 3)

3.1 การพัฒนาบุคลากร โดยเบื้องต้นเน้นด้าน IT เพื่อป้อน Resource ที่มีคุณภาพสู่วิสาหกิจเริ่มต้น

คณะทำงานฯ จะได้เร่งดำเนินการจัดหลักสูตรใหม่เพื่อพัฒนาบุคลากรในสาย IT ให้ตรงตามความต้องการของตลาดภายในปี 2560 โดยจะมีโปรแกรมเพื่อผลิตบุคลากรที่มีความจำเป็นในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 ตำแหน่ง ดังนี้

1) สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย จัดหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาบุคลากรสายอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์/โปรแกรมเมอร์ที่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมจำนวน 240 คน โดย 150 คน มีบริษัทรับเข้าทำงานจริง ภายในระยะเวลา 11 เดือน งบประมาณ 4.32 ล้านบาท โดยทำงานร่วมกับ Thai Tech Startup Association

ในการรับความต้องการโปรแกรมเมอร์จากบริษัท startup และจัดอบรมในรูปแบบ boot camp โดยใช้ระบบพี่เลี้ยงและการเข้าไปฝึกงานจริงในอุตสาหกรรม

2) สมาคม Thailand IoT Consortium นำเสนอโครงการพัฒนาบุคลากรด้าน IOT Hardware Startup โดยหลักสูตรเร่งรัด และสร้าง Community เพื่อป้อนเข้าสู่ความต้องการของการพัฒนาอุปกรณ์ IOT เพื่อ Startup และ Thailand 4.0 จำนวน 1,000 คน ภายในระยะเวลา 2 ปี และสร้าง Startup IoT Hardware

รุ่นใหม่จำนวน 20 new IOT Software ในรูปแบบการทำ Workshop ให้ความรู้ทางด้านธุรกิจและด้าน technical ภายใต้งบประมาณ 4 ล้านบาท ระยะเวลา 2 ปี

3.2 การวางแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติในสอดคล้องตามกรอบเศรษฐกิจใหม่และการส่งเสริมให้เกิด Accelerator ในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

การ Modernized Incubator

1) การพัฒนา Incubator Maturity Model เพื่อการพัฒนา Incubator อย่างเป็นระบบและได้มาตรฐาน

2) การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการระยะสั้นเพื่อพัฒนาศักยภาพและ update ความรู้ใหม่ ๆให้เจ้าหน้าที่บ่มเพาะฯ

3) การจัดเวทีประกวดและกิจกรรมสร้างเครือข่ายให้ Incubator Accelerator และ VC ได้รู้จักและเข้าใจความต้องการเพื่อช่วยกันยกระดับ ecosystem ทั้งระบบ

4) การส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศในกลุ่ม Incubator เพื่อยกระดับและสร้าง perspective ใหม่ ๆ ให้บุคลากรบ่มเพาะในประเทศ

การส่งเสริมให้ศูนย์บ่มเพาะฯ มีความร่วมมือกับคณะต่าง ๆ ในสถาบันการศึกษา เพื่อการเสริมสร้างทักษะให้กับนักศึกษาในการพัฒนาความคิดและนวัตกรรมที่สามารถออกตลาดได้

การกระตุ้นให้เกิด Accelerator ในหลากหลายสาขา ด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิด Corporate Venture ให้มากขึ้น การจัดอบรม Certification program เพื่อสร้างบุคลากรที่จะมา run Corporate Venture เช่น Trust Manager เป็นต้น และการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายในกลุ่ม Corporate Venture และ VC

3.3 การจัดตั้ง Incubator Consortium

จากการประชุม Incubator Consortium เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2559 เวลา 13.30 – 16.00 น.

โดยองค์ประชุมประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยที่อยู่ในคณะทำงานชุดที่ 3 จำนวนทั้งสิ้น 24 คน จาก 15 หน่วยงาน โดยจัดกลุ่มองค์ประกอบใน Consortium เป็น 3 กลุ่ม คือ Incubator (IC) -> Accelerator (AC) -> Venture Capital/Corporate (VC) ซึ่งถือเป็น 3 องค์ประกอบสำคัญของ ecosystem ในการพัฒนา startup ด้วยกลไก Incubator และผลการประชุมมีการระบุประเด็นปัญหา ความท้าทายและแนวทางการส่งเสริม ecosystem ในการพัฒนา startup ให้ได้ผล

4. การดำเนินงานของคณะทำงานเพื่อเสนอแนะนโยบายและมาตรการภาครัฐเพื่อส่งเสริม

วิสาหกิจเริ่มต้น (คณะทำงานชุดที่ 4)

4.1 การออกมาตรการสนับสนุนทางด้านการเงินการคลังแก่วิสาหกิจเริ่มต้น

สำหรับการดำเนินการออกมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการเติบโตของวิสาหกิจเริ่มต้น คณะทำงานฯ จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงการพิจารณาต่ออายุพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง และการพิจารณาให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา Startup

สำหรับสิทธิประโยชน์ทางด้านการเงิน ปัจจุบันหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลัง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และบรรษัทประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) และ บสย. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการใหม่และนวัตกรรม (Start-up & Innovation) ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในโครงการต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวประชุมในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม 2559 ที่ผ่านมา

4.2 การปรับปรุงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนให้เหมาะสมกับการพัฒนาและการเติบโตของ

วิสาหกิจเริ่มต้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้เร่งรัดศึกษาแนวทางการปรับปรุงเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มเติม และคาดว่าจะประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ได้ในปี 2560

4.3 การวางแนวทางเพื่อผ่อนปรนแก่ผู้ชำนาญการต่างชาติเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของไทย

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) จะดำเนินการขับเคลื่อนการให้สิทธิประโยชน์นำเข้าช่างฝีมือ/ผู้ชำนาญการต่างชาติ ตามมาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งกฎหมายว่าด้วยส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้การส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นของไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะพิจารณาวางแนวทางเพื่อปรับปรุงกระบวนการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการพิจารณารับรองคุณสมบัติของผู้ชำนาญการต่างชาติที่ขอรับใบอนุญาตทำงานในราชอาณาจักรไทย

กระทรวงการคลังได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพื่อดึงดูดทรัพยากรบุคคลและการลงทุนที่มีคุณภาพเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างแรงจูงใจให้บริษัทที่มุ่งเน้นการสร้างฐานความรู้และเทคโนโลยี (Knowledge-and-Technology Based Companies) ให้เข้ามาลงทุนหรือย้ายฐานการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย รวมถึงติดต่อประสานกับบริษัทกลุ่มเป้าหมายเพื่อเจรจาและศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

4.4 การวางแนวทางสนับสนุนให้มีการจัดเรตติ้งเทคโนโลยีและการค้ำประกันสินเชื่อเทคโนโลยี (Technology Rating & Technology Guarantee)

บสย. จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อขออนุเคราะห์ข้อมูลสำหรับการจัดทำชุดตัวแปรเพื่อจัดเรตติ้งเทคโนโลยี และดำเนินการตามแนวทางการจัดเรตติ้งเทคโนโลยีและการค้ำประกันสินเชื่อเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สวทช. ต่อไปงยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง และก

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3635

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version