ประชาชน 48.92% เคยรับโทรศัพท์จากแก๊ง call center มากกว่า 2 ครั้ง ร้อยละ 50.77 ยอมรับว่ารู้สึกตกใจเมื่อได้รับโทรศัพท์จากแก๊ง call center ครั้งแรก ขณะที่สาเหตุสำคัญ 3 อันดับที่ทำให้ถูกหลอกลวงคือ ความตกใจ ขาดการไตร่ตรอง และขาดความรู้ที่ถูกต้อง

จันทร์ ๑๒ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๙:๐๓
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ (แก๊ง call center) หลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 8 กันยายน พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,157 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ปัญหากลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หรือแก๊ง call center นั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่องและได้ปรากฎข่าวอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวจะมีพฤติกรรมในการหลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมโดยจะทำทีเป็นแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเหยื่อและพูดจาหว่านล้อมจนเหยื่อเกิดความหลงเชื่อปฏิบัติตามข้อแนะนำของกลุ่มมิจฉาชีพจนถูกหลอกลวงให้ต้องศูนย์เสียเงินฝากในบัญชีธนาคารที่ตนเองมีอยู่ไป ด้วยเหตุดังกล่าวดังกล่าวหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินโดยเฉพาะสถาบันทางการเงินทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างๆตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ เช่น กรมสรรพากร จึงได้ออกมาชี้แจงให้กับสาธารณะได้รับทราบถึงขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติรวมถึงข้อมูลที่ถูกต้องหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจได้พยายามปราบปรามกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีข่าวปรากฎอยู่เป็นระยะเกี่ยวกับผู้เสียหายที่ถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หลอกลวงในการทำธุรกรรมทางการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้องรวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการปราบปรามจำกุมอย่างต่อเนื่อง แต่ปัญหากลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หรือแก๊ง call center นั้นก็ยังคงไม่หมดไปและยังคงปรากฎผู้เสียหายที่ถูกกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าวหลอกลวงอยู่อย่างต่อเนื่อง จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ (แก๊ง call center) หลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.82 เพศชายร้อยละ 49.18 อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถสรุปผลได้ดังนี้ ในด้านพฤติกรรมการรับโทรศัพท์ติดต่อจากกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หรือแก๊ง call center เพื่อหลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น กลุ่มตัวอย่างเกือบครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.92 ระบุว่าตนเองเคยได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ (แก๊ง call center) เพื่อทำการหลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินมากกว่า 2 ครั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 34.83 ระบุว่าเคยได้รับประมาณ 1 ถึง 2 ครั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.25 ระบุว่าตนเองไม่เคยได้รับเลย นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.25 ระบุว่าตนเองเคยรับรู้ข่าวที่มีผู้เสียหายจากการถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หลอกลวงในการทำธุรกรรมทางการเงินมาก่อนที่จะได้รับโทรศัพท์จากกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านั้นเป็นครั้งแรก ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.75 ระบุว่าไม่เคยรับรู้มาก่อน

สำหรับความรู้สึกและความเชื่อในการรับโทรศัพท์เกี่ยวกับการแจ้งปัญหาจากการทำธุรกรรมทางการเงินนั้น ครั้งแรกที่ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงตอบรับอัตโนมัติแจ้งเกี่ยวกับปัญหาการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การถูกอายัดบัญชีเงินฝาก การถูกแจ้งหนี้ชำระบัตรเครดิต การถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากธนาคาร เป็นต้น กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.77 ยอมรับว่าตนเองรู้สึกตกใจ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.7 ไม่รู้สึกตกใจ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.53 ระบุว่าตนเองรู้สึกงงๆไม่แน่ใจ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 52.84 ระบุว่าครั้งแรกที่ได้รับโทรศัพท์เป็นเสียงตอบรับอัตโนมัติแจ้งเกี่ยวกับปัญหาการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การถูกอายัดบัญชีเงินฝาก การถูกแจ้งหนี้ชำระบัตรเครดิต การถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากธนาคาร เป็นต้น ตนเองไม่เชื่อข้อมูลเหล่านั้นทันที ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.78 ยอมรับว่าตนเองเชื่อทันที โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.38 ระบุว่าตนเองยังไม่แน่ใจ อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.08 ทราบ/มั่นใจว่าโทรศัพท์ที่ได้รับเพื่อแจ้งปัญหาเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินนั้นเป็นการหลอกลวงจากกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ (แก๊ง call center) ทันทีที่ตนเองได้รับโทรศัพท์ รองลงมาทราบขณะที่กำลังพูดคุยกับบุคคลที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 23.74

สำหรับสาเหตุสำคัญสูงสุด 5 อันดับที่ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อจนถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินคือ ความกลัว/ความตกใจคิดเป็นร้อยละ 85.05 ขาดการไตร่ตรอง/ยั้งคิดคิดเป็นร้อยละ 81.68 ขาดความรู้เกี่ยวกับขั้นตอน/วิธีดำเนินการของสถาบันการเงินคิดเป็นร้อยละ 79.43 ถูกกลุ่มมิจฉาชีพโน้มน้าวจนหลงเชื่อคิดเป็นร้อยละ 75.89 และเคยมีประวัติไม่ดีเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินมาก่อนคิดเป็นร้อยละ 73.98

ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหากลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หรือแก๊ง call center นั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 69.14 มีความคิดเห็นว่าการนำข่าวเกี่ยวกับกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ (แก๊ง call center) กลับมาเผยแพร่ซ้ำอย่างต่อเนื่องผ่านสื่อสาธารณะต่างๆจะมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้เสียหายจากการถูกกลุ่มมิฉาชีพทางโทรศัพท์หลอกลวงได้ ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.18 มีความคิดเห็นว่าการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้องหากเกิดปัญหาต่างๆในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสื่อสาธารณะอย่างต่อเนื่องจะมีส่วนช่วยลดจำนวนผู้เสียหายจากการถูกกลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์หลอกลวงได้ นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 62.4 มีความคิดเห็นว่ากลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ที่ถูกว่าจ้างให้แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่/เปิดบัญชีรับเงินโอนจากผู้เสียหายควรได้รับโทษรุนแรงเท่ากันกับผู้ว่าจ้าง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 56.27 ไม่เชื่อว่าปัญหากลุ่มมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ที่มีพฤติกรรมหลอกลวงเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินจะได้รับการจัดการแก้ไขให้หมดไปได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version