ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลกรวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2006

จันทร์ ๑๒ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๐:๐๒
ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลกรวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2006 และมีความเคลื่อนไหวทางด้านการจดสิทธิบัตรเพิ่มสูงขึ้นกว่า 40% ในรอบสามปีที่ผ่านมา

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนได้มีสัดส่วนบทความงานวิจัยทั่วโลก (วารสารทางวิทยาศาสตร์) รวมกันเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า และมีความเคลื่อนไหวทางด้านการจดสิทธิบัตร ซึ่งโดยทั่วไปแสดงถึงการเติบโตของนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 40% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นี่คือบางส่วนของข้อมูลสำคัญที่ปรากฏในรายงาน "อาเซียน – ศูนย์กลางการวิจัยและนวัตกรรมแห่งใหม่" จัดทำโดย หน่วยธุรกิจทรัพย์สินทางปัญญา & วิทยาศาสตร์ (IP & Science) ทอมสัน รอยเตอร์ส อันเป็นการบ่งบอกว่าภูมิภาคอาเซียนกำลังจะเป็นศูนย์กลางทางด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่รุ่งเรือง

รายงานการวิจัยซึ่งเป็นฉบับล่าสุดของซีรีส์ที่โฟกัสตามกลุ่มประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดหาภาพรวมและบทวิเคราะห์ของงานวิจัยในประเทศกลุ่มอาเซียนและผลกระทบของงานวิจัยและนวัตกรรม โดยอิงจากการที่บทความวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์และความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตร ซึ่งรวบรวมจากดัชนีในฐานข้อมูล Web of Science Core Collection, Derwent World Patents Index® และ Derwent Patents Citation Index®

บางส่วนของข้อมูลสำคัญจากผลรายงาน:

• กลุ่มประเทศอาเซียนมีสัดส่วนผลงานทางด้านบทความวิทยาศาสตร์ในโลกที่เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าซึ่งวัดได้จากฐานข้อมูล Web of Science โดยเพิ่มขึ้นจาก 1.37% ในปี 2006 เป็น 2.43% ในปี 2015 และเมื่อพูดถึงผลิตผลทางด้านงานวิจัย ประเทศในกลุ่มอาเซียนมีผล งานเพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาในขณะที่ทั่วโลกเพิ่มขึ้นราว 50%

• มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม ต่างมีผลิตผลทางด้านบทความงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในทศวรรษที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 300% ระหว่างปี 2006-2015

• การเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิบัตรจากกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นมากกว่า 40% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

• ภูมิภาคอาเซียนมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในแง่ของการพัฒนานวัตกรรมภายในประเทศ สัดส่วนของการยื่นขอจดสิทธิบัตรโดยหน่วยงานภายในประเทศเมื่อเทียบกับจำนวนการยื่นขอจดสิทธิบัตรทั้งหมดเพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 9% ในปี 2005 เป็น 12.5% ในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการลงทุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศในแถบอาเซียนเริ่มจะเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว

• เทคโนโลยีที่ประเทศในกลุ่มอาเซียนเน้นให้ความสำคัญเท่าที่วัดจากการจดสิทธิบัตรนั้นได้แก่ด้าน เคมี เกษตรศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ และไม่ค่อยเน้นไปที่ด้านเซมิคอนดัคเตอร์หรือโทรคมนาคม

ภูมิภาคอาเซียนประกอบด้วย 10 ประเทศที่มีอาณาเขตใกล้กันแต่ทว่ามีความแตกต่างที่หลากหลาย เช่น จำนวนประชากร ความมั่งคั่งและลักษณะภูมิประเทศ ผลิตผลงานวิจัยในภูมิภาคนี้โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มนักวิจัยในสิงคโปร์ มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 85% ของบทความงานวิจัยทั้งหมดในภูมิภาคนี้ ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยเวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนต่างก็มีจำนวนผลิตผลงานวิจัยที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วกว่าค่าเฉลี่ยโลก, สหรัฐอเมริกา และกลุ่มสหภาพยุโรป

สำหรับประเทศไทยนั้นมีสัดส่วนผลงานทางด้านบทความงานวิจัยทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวัดจากฐานข้อมูล Web of Science โดยมีจำนวนบทความงานวิจัยทั้งสิ้น 7,200 บทความในปี 2015 หรือคิดเป็น 0.48% ของฐานข้อมูลทั้งหมด อย่างไรก็ตามในแง่ของการสร้างอิทธิพลต่อวงการซึ่งบ่งชี้โดยการอ้างอิงบทความงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (คุณภาพของงานวิจัย) ประเทศไทยถูกระบุว่ามีความใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยการอ้างอิงบทความงานวิจัยทั่วโลกตั้งแต่ปี 2006 โดยมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ในแง่ของการจดบันทึกบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงของโลก ประเทศไทยได้รับการบันทึกว่าบทความที่มีการนำไปอ้างอิงสูงที่สุดคือในประเภทหลากหลายสาขา (Multidisciplinary) ตามด้วยฟิสิกส์ งานวิจัยของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นมากเป็นพิเศษคือทางด้านการแพทย์คลีนิค และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือประเทศไทยเป็นผู้นำโลกทางด้านวิทยาเชื้อรา (การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อราและเห็ด) รวมถึงคุณสมบัติทางด้านพันธุกรรมและชีวเคมี และการนำไปใช้ในมนุษย์เช่น เป็นแหล่งเพาะเชื้อ ยา อาหาร และสารที่มีฤทธ์ทางประสาท รวมถึงผลเสียและอันตราย

การสำรวจความเคลื่อนไหวการติพิมพ์และอ้างอิงบทความวิจัย รวมทั้งการดำเนินการทางด้านการจดสิทธิบัตรนี้แสดงให้เห็นว่าตัวชี้วัดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับภูมิภาคอาเซียนกำลังพุ่งไปในทิศทางที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มขึ้นของงานวิจัยและนวัตกรรมในภูมิภาคนี้กำลังส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนมากขึ้น

สามารถดาวน์โหลดรายงานนี้ได้ที่ http://stateofinnovation.thomsonreuters.com/asean-an-emerging-hub-in-research-and-innovation

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version