ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ประกอบไปด้วย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ,สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) ,ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS), ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ,เครือข่ายวิจัยกลุ่มสถาบันแพทย์ศาสตร์แห่งประเทศไทย และ สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (PReMA) จึงร่วมจัดประชุมสัมมนา "การประชุมสุดยอดผู้นำด้านชีวเภสัชภัณฑ์ : ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0 (Biopharma Innovation Leaders' Forum : Unlocking Thailand 4.0's Potential") ขึ้น ในวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 ณ โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ เพื่อวิเคราะห์โอกาสและสร้างเสริมศักยภาพของประเทศ ตลอดจนข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อพัฒนาแผนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการพัฒนาวิจัยด้านนวัตกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ (HeaIth , Wellness & Bio-Medical) ของไทยให้ก้าวสู่การเป็นผู้นำในอาเซียน โดยการประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมร่วมปาฐกถาในประเด็นที่น่าสนใจ รวมถึงการเสวนาในหัวข้อ "Driving Biopharma through Clinical Research" โดยผู้บริหารองค์กร ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาอีกด้วย
ในการนี้ จึงใคร่ขอเชิญสื่อมวลชน ร่วมการประชุมสัมมนา และสัมภาษณ์พิเศษผู้บริหารในประเด็นที่สำคัญ จาก "การประชุมสุดยอดผู้นำด้านชีวเภสัชภัณฑ์ : ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0" ในวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559 เวลา 12.30 – 16.00 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ มา ณ ที่นี้
กำหนดการ
งานสัมมนา "การประชุมสุดยอดผู้นำด้านชีวเภสัชภัณฑ์ : ร่วมขับเคลื่อนไทยแลนด์ 4.0"
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2559
ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ
เวลา
รายละเอียดกิจกรรม
12.00 – 13.00
ลงทะเบียน
13.00 - 13.05
กล่าวรายงานและพิธีเปิด โดยผู้แทนสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า)
13.05 – 13. 45
ปาฐกถาพิเศษ
"นโยบายและทิศทางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ"
- โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
"บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขในการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านการวิจัยพัฒนา เทคโนโลยีชีวภาพ"
- โดย ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุข
"ยุทธศาสตร์ประเทศด้านพัฒนา นวัตกรรม การวิจัย เพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันของประเทศ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12"
- โดย เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดร.ปรเมธี วิมลศิริ
13.45 – 14.05
Clinical Research Impact Studyโดย ผู้แทนจาก Deloitte (ประเทศออสเตรเลีย)
14.05 – 15.30
เสวนาหัวข้อ "Driving Biopharma through Clinical Research"
ผู้ร่วมเสวนา
- "ประเทศไทย เป็น 1 ใน 5 เอเซีย ในเรื่องของ Clinical Research Management service"
ศ. (คลินิก) นพ. อุดม คชินธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และประธาน ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ)
- "Clinical trials best practices in Asia region"
โดย Mohit Grover, Deloitte
- "Management Model of the National Biopharmaceutical Facility"
รศ. ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
"การพัฒนา Medical Research Network Service (ในรูปแบบบริษัท)"
ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, MedResNet, ThaiTECT
- "โอกาสของ Biopharmaceutical สำหรับประเทศไทย"
วิริยะ จงไพศาล นายกสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (พรีม่า) PReMA
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยา (TCELS) Moderator และกล่าวปิดการสัมมนา
15.30 เป็นต้นไป
ผู้บริหารให้สัมภาษณ์พิเศษสื่อมวลชน
(** หมายเหตุ**) 1. มีล่ามแปลภาษาแบบ simultaneous
2. กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม