การชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559

จันทร์ ๑๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๙:๒๖
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (ITD) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UNESCAP) จัดเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559 (Trade and Development Regional Forum 2016) ในวันที่ 21-22 กันยายน 2559 เวลา 8.30-17.00น. ณ ห้องบอลล์รูม โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมฯ และนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดงาน

ITD หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมฯ ในครั้งนี้ จะสามารถเป็นแรงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆ ผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้อง และก่อเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมได้ในอนาคต ITD จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชน เข้าร่วมเวทีการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559" (Trade and Development Regional Forum 2016) ในวันที่ 21 กันยายน 2559 เวลา 08.30 น. ณ ห้องนภาลัย บอลรูม โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ ทั้งนี้การประชุมฯดังกล่าวจะดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษ และมีล่ามแปลเป็นภาษาไทยตลอดการจัดงาน นอกจากนี้ในช่วงหลังการเปิดงาน ITD จะเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสัมภาษณ์ ผู้อำนวยการ ITD และวิทยากรจากประเทศต่างๆ ด้วย

ในโอกาสนี้ จึงใคร่ขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชน ร่วมงานตามวันและเวลาดังกล่าว พร้อมขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและ/หรือยืนยันการเข้าร่วมงานได้ที่คุณรัชฎา ปสันตา โทร. 0 2610 2352,081 850 4349 หรือ คุณกนกวรรณ บำรุงราษฎร์ โทร. 0 2610 2392,094 230 9495

การประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการค้าและการพัฒนา ประจำปี 2559(Trade and Development Regional Forum 2016)

วันที่ 21-22 กันยายน 2559

โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพฯ

วันพุธที่ 21 กันยายน 2559 (ณ ห้องนภาลัยบอลรูม)

08.00 – 09.15 น. ลงทะเบียน

09.15 – 09.25 น. กล่าวต้อนรับ

โดย ดร. สุภัทร จำปาทองรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการประธานคณะกรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

09.25 – 09.35 น. กล่าวแนะนำ

โดย ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดลผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

09.35 – 10.00 น. กล่าวเปิดงาน

โดย นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

10.00 – 10.45 น. ประเด็นหลัก: Nairobi Maafikiano and Nairobi Azimio

บรรยายพิเศษ โดย ผู้แทน UNCTAD

10.45 – 11.00 น. รับประทานอาหารว่าง

11.00 – 12.30 น. เสวนาในช่วงที่ 1: ประเด็นสำคัญจากแถลงการณ์ไนโรบี (Nairobi Maafikiano)

ประเด็นหลัก: แถลงการณ์ไนโรบี (Nairobi Maafikiano) เป็นเรื่องที่ให้ความสนใจมุ่งเน้นใน4 ประเด็นหลักและแนวทางที่ UNCTAD ถูกคาดหวังในการช่วยเหลือประเทศสมาชิกในเรื่องการเคลื่อนไปข้างหน้า การมีส่วนร่วมและความเป็นธรรมในสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจโลกในด้านการค้าและการพัฒนา การอภิปรายในครั้งนี้มองเข้าไปถึงแนวทางและวิธีการของ UNCTAD และการพัฒนาชุมชนในวงกว้างที่สามารถส่งต่อในแต่ละพื้นที่

• แนวทางการสร้างความเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งและความสอดคล้องในภาคการผลิตเพื่อสร้างวงล้อที่ดีงามของการเพิ่มและการแบ่งปันความมั่งคั่ง

• นอกเหนือการเข้าถึงตลาด:มาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีใหม่ ๆ (NTM Inventory), การวิเคราะห์ (Analysis) และ การลดมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (Reduction)

• การตะหนักความสำคัญของการค้าและบริการ

• ห่วงโซ่มูลค่าโลก: การเสริมสร้างผลกระทบของการพัฒนาที่สำคัญ

นำเสนอโดย: UNCTAD, Division on Investment and Enterprise

UNCTAD, Division on Globalization and Development Strategies

ผู้ร่วมอภิปราย: H.E. Somchitth Inthamith

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว

Mr. Sim Sokheng

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ประเทศกัมพูชา

Dr. Susan F. Stone

ผู้แทนจาก UNESCAP

ดำเนิการอภิปราย: Mr. Sven Sylvain Callebaut,

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

11.15-11.45 น. การเปิดตัวรายงานการค้าและการพัฒนาโลก ปี 2016 (ณ ห้องสีลม)

โดย ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์

อดีตเลขาธิการที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD)

Dr. Diana Barrowclough

ผู้แทนจาก UNCTAD

12.30 – 13.45 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.45 – 15.30 น. เสวนาในช่วงที่ 2: มุมมองของภูมิภาค: การตอบรับของอาเซียนที่มีต่อข้อตกลงไนโรบี

ประเด็นหลัก: พลวัตภูมิภาคอาเซียนที่มีความแตกต่างหลากหลายของกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ จากประเทศพัฒนาน้อยที่สุดที่ไม่ติดทะเล จนถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว วิธีการที่ทำให้มั่นใจได้ว่ามีการเจริญเติบโตอย่างเท่าเทียมกันทั่วทั้งทวีปและวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ มีการปรับตัวในการพัฒนาการค้าของประเทศเหล่านั้น เพื่อความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบบูรณาการ

• วาระ 2030 สำหรับประเทศรายได้ต่ำและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดด้านการศึกษาโอกาสการเร่งพัฒนา ?

• จากความช่วยเหลือด้านการค้ามาสู่การลงทุนด้านการค้า?

• การเร่งปฏิรูปสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า

นำเสนอโดย: UNCTAD, Division on Investment and Enterprise

UNCTAD, Division on Globalization and Development Strategies

Dr. Susan F. Stone

ผู้แทนจาก UNESCAP

Mr. Philip Dupuis

ผู้แทนจาก EU Delegation to Thailand

Mr. Masanari Yanagiuchi

ผู้แทนจาก Japan International Cooperation Agency, Thailand Office

ผู้ร่วมอภิปรายจากอาเซียน: H.E. Somchitth Inthamith

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป.ลาว

Mr. Pan Sokheng

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประเทศกัมพูชา

Mr. Shinichi Nakabayashi

ผู้แทนจาก Asian Development Bank Institute

คุณไพศาล หรูพาณิชย์กิจ

รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผู้ดำเนินการอภิปราย: Mr. Sven Sylvain Callebaut,

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

15.30 – 15.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.45 – 17.00 น. เสวนาในช่วงที่ 3: ข้อตกลงการค้าขนาดใหญ่: โอกาสหรือภัยคุกคามสำหรับพหุภาคี

ประเด็นหลัก: ระบบการค้าพหุภาคียังคงอยู่ในการเจริญเติบโตของการค้าและการที่จะผลักดันผลประโยชน์การค้าไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและมีส่วนร่วม อย่างไรก็ตามจุดอ่อนของวาระการประชุมพหุภาคีภายใต้องค์การการค้าโลกในปีที่ผ่านมา ได้นำไปสู่การพัฒนาทางเลือก ได้แก่ ภูมิภาคขนาดใหญ่ หรือรูปแบบอื่นของหลายฝ่าย สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเป็นตัวแทนของขั้นตอนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่มีต่อผลพหุภาคีที่มีความแข็งแรงหรือความเสี่ยงของการกระจายตัวของระบบซื้อขายในโลกหรือไม่?

• Mega RTAs (RCEP, TPP), ผลกระทบอะไร, กลยุทธ์อะไรที่ถูกปล่อยไว้ข้างหลัง?

• ข้อตกลงหลายฝ่ายเป็นทางเลือกที่ดี ?

วิทยากรนำเสนอโดย: UNCTAD, Division on Investment and Enterprise

UNCTAD, Division on Globalization and Development Strategies

Mr. Shintaro Hamanaka

ผู้แทนจาก Institute of Developing Economic, Japan

Mr. Carlos Kuriyama

ผู้แทนจาก Asia-Pacific Economic Cooperation

ดร. สุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง

อดีตรองเลขาธิการอาเซียน

Mr. Manuel Montes

ผู้แทนจาก South Centre

ผู้ร่วมอภิปรายจากอาเซียน: Mr. Shinichi Nakabayashi

ผู้แทนจาก Asian Development Bank Institute

Ms. Sanya Reid Smith

Third World Network

ผู้แทนจากประเทศเวียดนาม

Mr. Kavi Chongkittavorn

ผู้แทนจาก Institute of Security and International Studies

ผู้ดำเนินการอภิปราย: Mr. Vincent Chauvet,

สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

วันพฤหัสบดี ที่ 22 กันยายน 2559 (ณ ห้องวิมานสุริยา)

08.00 – 09.15 น. ลงทะเบียน

09.15 – 10.00 น. ปาฐกถาพิเศษ: ความท้าทายนโยบายการลงทุนที่เพิ่มขึ้น

โดย ผู้แทนรัฐบาลไทย

10.15 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น. เสวนาช่วงที่ 4: การปฏิรูปนโยบายการลงทุนในระดับชาติและระดับนานาชาติ: มุมมองสู่อนาคต

ประเด็นหลัก: ในซ่วงนี้เน้นที่การปฏิรูปนโยบายการลงทุนในระดับชาติและระดับนานาชาติขึ้นอยู่กับประเด็นสำคัญในรายงานการลงทุนโลกประจำปี 2016 ที่ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่า "นโยบายการลงทุนของชาติยังคงมุ่งเน้นที่การส่งเสริมและการเปิดเสรีการลงทุน" ในขณะที่นโยบายการลงทุนหระหว่างประเทศผ่าน IIAS อาจมีประเด็นของการปฏิรูป นับตั้งแต่หลายประเทศกำลังตรวจสอบเครือข่าย IIA การปฏิรูปนี้ยังจะนำระบอบ IIA ที่สอดคล้องกับความจำเป็นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ณ ปัจจุบันนี้ การนำรายงานการลงทุนโลกประจำปี 2015 ออกมานำเสนอในรายละเอียดของแผนปฏิบัติการและแผนงานสำหรับการปฏิรูป IIA เป็นที่น่าสนใจที่จะได้ทราบหนทางข้างหน้า เกี่ยวกับอะไร อย่างไรและขอบเขตของการปฏิรูปดังกล่าวในภูมิภาคนี้

• แนวโน้มการลงทุนทั่วโลกในรายงานการลงทุนโลก 2015 และ รายงานการลงทุนโลกประจำปี 2016

• สนธิสัญญาการลงทุนทวิภาคี (BITs): การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน(ISDS)

• ผู้กำหนดนโยบายควรวาดเส้นแบ่งระหว่างเงินลงทุนในหลักทรัพย์และเงินลงทุนโดยตรง

• ถึงเวลาในการให้ความสนใจต่อการอำนวยความสะดวกในการลงทุน

วิทยากรนำเสนอโดย: Mr. Astrit Sulstarova,

ผู้แทนจาก UNCTAD

Mr. Marc Proksch

ผู้แทนจาก UNESCAP

คุณโชคดี แก้วแสง

ผู้แทนจากรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ผู้ร่วมอภิปรายจากอาเซียน: Ms. Sanya Reid Smith

ผู้แทนจาก Third World Network

Mr. Soun Sophal

ผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเทศกัมพูชา

Assoc. Prof. Dr. Sufian Jusoh

ผู้แทนจาก National University of Malaysia

Assoc. Prof. Michael Ewing-Chow,

ผู้แทนจาก National University of Singapore

ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร.วิลาวรรณ มังคละธนะกุล

ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ

12.00 – 13.15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.15 – 15.00 น. เสวนาช่วงที่ 5: สัญชาตินักลงทุน: การเติบโตที่ความท้าทายสำหรับผู้กำหนดนโยบาย

ประเด็นหลัก: เป็นเรื่องยากมากขึ้นในการกำหนดสัญชาติของบริษัทข้ามชาติ เนื่องจากมีจำนวนมากขึ้นและโครงสร้างความเป็นเจ้าของมีความซับซ้อนมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในประสิทธิภาพและความเหมาะสมของเจ้าของนโยบายการลงทุน กับทางเลือกสำหรับผู้กำหนดนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งที่จะแบกรับภาระของการบริหารในเชิงลึกในการเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนไปใช้กลไกอื่น ๆ ในพื้นที่นโยบายการลงทุน เช่น การแข่งขัน ภาษี และการพัฒนาอุตสาหกรรม

• ทำไมแนวโน้มดังกล่าวถึงมีความซับซ้อน? พลวัตของตลาดโลกและการเติบโตของห่วงโซ่มูลค่าทั่วโลก

• ผลกระทบการจัดเก็บภาษีในบริบทความท้าทาย

• ทางเลือกอะไรสำหรับผู้กำหนดนโยบาย

วิทยากรนำเสนอโดย: Mr. Astrit Sulstarova

ผู้แทนจาก UNCTAD

Assoc. Prof. Michael Ewing-Chow,

ผู้แทนจากNational University of Singapore

ดร.วิลาวรรณ มังคละธนะกุล

ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ร่วมอภิปรายจากอาเซียน: Mr. Manuel Montes

ผู้แทนจาก South Centre

Mr. Shintaro Hamanaka

ผู้แทนจาก Institute of Developing Economic, Japan

Mr. Soun Sophal

ผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ประเทศกัมพูชา

Mr. Max Wong Wai Khuen

ผู้แทนจาก ประเทศมาเลเซีย

Assoc. Prof. Dr. Sufian Jusoh,

ผู้แทนจาก National University of Malaysia

ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล

ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์การมหาชน)

15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

15.15 – 16.30 น. เสวนาในช่วงที่ 6: หุ้นส่วนด้านการค้าและการลงทุนเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายโลก

ประเด็นหลัก: การอภิปรายนี้จะมุ่งจับประเด็นของการเสวนาในช่วง 2 วันของการประชุมในประเด็นด้านการค้าและการลงทุนและเน้นโอกาสการเป็นหุ้นส่วนสำหรับการสร้างศักยภาพ และการฝึกอบรมตลอดจนการระบุแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

ซึ่งผู้กำหนดโยบายและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องต้องถือผลประโยชน์ร่วมกันต่อวิถีทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

วิทยากรนำเสนอโดย: Mr. Astrit Sulstarova

ผู้แทนจาก UNCTAD

Dr. Diana Barrowclough

ผู้แทนจาก UNCTAD

Dr. Susan F. Stone

ผู้แทนจาก UNESCAP

Mr. Carlos Kuriyama

ผู้แทนจาก Asia-Pacific Economic Cooperation

Mr. Suon Vichea

ผู้แทนจาก สถาบันการอบรมเพื่อการค้าและการวิจัย ประเทศกัมพูชา

Mr. Xaysomphet Norasingh

ผู้แทนจาก สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่อการค้า สปป. ลาว

คุณไพศาล หรูพาณิชย์กิจ

ผู้แทนจาก รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผู้แทนจากประเทศเวียดนาม

ผู้ดำเนินการอภิปราย: ดร.กมลินทร์ พินิจภูวดล

ผู้อำนวยการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา(องค์การมหาชน)

16.30 น. กล่าวปิดงาน

โดย คุณกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์กรรมการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๕๕ FTI รับ 2 รางวัล จากกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประจำปี 2567
๑๔:๕๕ OKMD ร่วมกับ CMDF จัดประกวดประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการเงินการลงทุน หนุนไอเดียเด็กมัธยม ต่อยอดทำธุรกิจเพื่อสังคม
๑๔:๓๐ แอลจีเผยเทรนด์ทำงานปี 2025 พร้อมเทคนิคใช้โน๊ตบุ๊กแบบสมาร์ทเวิร์กเกอร์
๑๔:๓๓ ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
๑๔:๒๒ เจียไต๋แมน เมื่อรุ่นเดอะผนึกกำลังกับรุ่นใหม่ เติบโตไปด้วยกันอย่างมั่นคง
๑๔:๒๙ สุขภาพดีแบบไม่ต้องเดี๋ยว! รพ.วิมุต ชวนตรวจสุขภาพ - ปรับพฤติกรรมสไตล์คนไม่มีเวลาสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาวรับปีใหม่
๑๔:๕๐ HBA ส่องภาพรวมตลาดรับสร้างบ้านปี 68 เผชิญความท้าทายใหม่ เร่งงัดกลยุทธ์ฝ่าแข่งขันสูง รุกเจาะตลาดใหม่ 'รอจังหวะฟื้น'
๑๔:๕๒ ดิเอมเมอรัลด์ช่วยสนับสนุนงานกาชาด
๑๔:๓๑ เอพี ไทยแลนด์ รับ 3 รางวัลจาก Meta ตอกย้ำจุดยืน แบรนด์อสังหาฯ ที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์และดาต้า
๑๔:๓๕ มาคาเลียส แหล่งรวม อี-วอเชอร์ที่พัก ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว อันดับ 1 ของประเทศไทย เผย 10 เทรนด์ท่องเที่ยวไทยปี