AACSB International เผย 5 แนวทางที่บัณฑิตจากสถาบันบริหารธุรกิจใช้เปลี่ยนแปลงโลก

อังคาร ๒๐ กันยายน ๒๐๑๖ ๐๙:๐๑
โครงการ Influential Leaders Challenge ปี 2 เผยโฉมหน้า 30 ผู้นำทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงสังคมของตนในเชิงสร้างสรรค์

ทุกวันนี้ บัณฑิตที่จบจากสถาบันบริหารธุรกิจไม่ได้ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในองค์กรเท่านั้น แต่ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมด้วย ซึ่งนับเป็นการก้าวข้ามบทบาทในรูปแบบเดิมๆ AACSB International (AACSB) จึงขอรวบรวม 5 แนวทางที่บัณฑิตสถาบันบริหารธุรกิจใช้ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในชุมชนต่างๆทั่วโลก

โลโก้ - https://photos.prnewswire.com/prnh/20160711/388301LOGO

ผลงานของผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงทั้ง 30 ท่านได้รับการยกย่องในการประชุม Annual Accreditation Conference ของ AACSB ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา สหรัฐอเมริกา ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ 2016 AACSB Influential Leaders Challenge ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2015 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกย่องศิษย์เก่าของสถาบันบริหารธุกิจ ผู้เป็นแบบอย่างที่สร้างแรงบันดาลใจและทำประโยชน์ต่อสังคม

Thomas R. Robinson ประธานและซีอีโอ AACSB กล่าวว่า "Influential Leaders สะท้อนให้เห็นว่าสถาบันบริหารธุรกิจมีอิทธิพลไปไกลเกินกว่าห้องประชุมและเข้าถึงผู้คนทั่วทุกมุมโลก ผู้นำเหล่านี้เป็นแบบอย่างในการสร้างอิทธิพลเชิงบวกต่อธุรกิจและสังคม โดยอาศัยภาวะผู้นำ ความรู้ และทักษะ เพื่อแก้ปัญหายากๆในสังคมโลก"

บุคคลที่ติดทำเนียบ Influential Leaders ในปีนี้ มาจากกว่า 15 ภาคส่วน ใน 11 ประเทศทั่วโลก ตั้งแต่องค์กรเพื่อสังคม การบริการสุขภาพ ไปจนถึงเทคโนโลยี แม้ว่าผู้นำเหล่านี้จะมีความต่างในเรื่องของความถนัดและเส้นทางสู่ความสำเร็จ แต่แนวทางในการทำประโยชน์ต่อสังคมไม่ได้แตกต่างกันเลย

สำหรับแนวทาง 5 ประการที่ผู้นำเหล่านี้ใช้ในการทำประโยชน์ต่อสังคม ประกอบด้วย

- ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี: บัณฑิตที่จบจากสถาบันบริหารธุรกิจต่างอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างสัมฤทธิ์ผลและยั่งยืน พวกเขาเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้สร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ เป็นผู้บริหารบริษัทชั้นนำอย่าง Jonathan Mildenhall แห่งแบรนด์ Airbnb และเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของสหราชอาณาจักร โดยทุกคนล้วนเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมและการพัฒนา

- พัฒนาการศึกษาและการจ้างงานโดยอาศัยความสามารถในฐานะผู้ประกอบการ: บรรดาศิษย์เก่าของสถาบันบริหารธุรกิจต่างใช้ความสามารถในฐานะผู้ประกอบการเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและการจ้างงานให้กับชุมชนที่ด้อยโอกาส เช่น Zibu Mthyiane ผู้เกิดในยุคที่มีการแบ่งแยกสีผิวในแอฟริกาใต้ ได้ก่อตั้งธุรกิจขึ้นมา 2 ส่วน หนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้หญิงในชนบทได้มีธุรกิจเป็นของตนเอง และสอง คอยให้คำแนะนำแก่เยาวชนในเมือง ตลอดจนจัดการประชุมผู้ประกอบการทั่วโลกเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆช่วยกันสร้างโลกที่ดีกว่าเดิม

- สนับสนุนความหลากหลาย การรวมตัวกัน และความเสมอภาค: บรรดาศิษย์เก่าของสถาบันบริหารธุรกิจต่างตระหนักดีถึงบทบาทความสำคัญของความหลากหลาย การรวมตัวกัน และความเสมอภาค ที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จึงพยายามสร้างสภาพแวดล้อมเชิงบวกเพื่อต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมกัน อย่างเช่น Nashwa Taher นักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จในซาอุดิอาระเบีย ก็ได้ร่วมก่อตั้งองค์กร 2 แห่งขึ้นมา เพื่อสร้างงานให้กับคนหนุ่มสาวและสตรีที่ด้อยโอกาส เช่นเดียวกับ Tawani Cranz จาก Netflix ก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันนโยบายใหม่ ที่อนุญาตให้บิดาและมารดาสามารถลางานเพื่อเลี้ยงดูบุตรอย่างเสมอภาค นอกจากนั้นยังมีศิษย์เก่าอีกมากมายที่สนับสนุนความเท่าเทียมกันของชาวแอฟริกันอเมริกัน ทหารผ่านศึก รวมถึงผู้พิการ

- สร้างอนาคตที่ยั่งยืนกว่าเดิม: บัณฑิตที่จบจากสถาบันบริหารธุรกิจต่างนำแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนมาใช้ เพื่อปกป้องและปรับปรุงโลกของเราให้ดีขึ้น อย่างเช่น Rahul Pushp ผู้ร่วมก่อตั้ง i-Solarlite ซึ่งช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในชนบทด้วยการใช้โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ เช่นเดียวกับ Guillermo Dietrich รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของอาร์เจนตินา ที่ได้สร้างระบบขนส่งสาธารณะและขนส่งทางเลือกที่มีความยั่งยืนในกรุงบัวโนสไอเรส

- สร้างความมั่นใจในเรื่องของสุขภาพ: การใช้ความรู้ความชำนาญเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้านสุขภาพทั่วโลก คืออีกหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ อย่างเช่น Pete Petit ที่ได้พัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับการทำงานของอวัยวะทารกสำหรับใช้ในบ้านเป็นครั้งแรก หลังจากสูญเสียลูกชายไปจากโรคการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก (SIDS) เช่นเดียวกับ Analjit Singh ผู้ปฏิรูประบบดูแลสุขภาพของอินเดีย ด้วยการสร้างโรงพยาบาลที่ให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้ารับบริการได้โดยไม่คำนึงถึงระดับรายได้

สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Influential Leaders Challenge รวมทั้งรายชื่อผู้ที่ได้รับการยกย่องทั้งหมดได้ที่ http://www.aacsb.edu/Influential-Leaders

เกี่ยวกับ AACSB International

ในฐานะที่เป็นเครือข่ายการศึกษาด้านธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งเชื่อมโยงวิชาการเข้ากับธุรกิจ AACSB มีพันธกิจในการให้ความรู้ด้านธุรกิจ รับรองคุณภาพ และพัฒนาความเป็นมืออาชีพ ให้แก่องค์กรสมาชิกกว่า 1,500 แห่งจาก 91 ประเทศและดินแดน AACSB ก่อตั้งขึ้นในปี1916 และให้การรับรองโรงเรียนธุรกิจมาแล้ว 765 แห่งทั่วโลก สำนักงานใหญ่ระดับโลกของ AACSB ตั้งอยู่ในเมืองแทมปา รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ส่วนสำนักงานใหญ่ประจำเอเชียแปซิฟิกตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ และสำนักงานใหญ่ประจำยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ตั้งอยู่ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.aacsb.edu

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version