เทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตและการจ้างงานประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกในอนาคตที่ส่งผลกระทบต่อแต่ละประเทศโดยเป็น "กระแสร่วม" ที่โลกกำลังดำเนินไปในอนาคตในทิศทางเดียวกันหรือเรียกว่า 5 เมกะเทรนด์ ได้แก่ 1) ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยี 2) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร 3) การเปลี่ยนขั้วอำนาจเศรษฐกิจของโลก 4) การขยายตัวของชุมชนเมือง และ 5) การขาดแคลนทรัพยากรและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงกระแสโลกในอนาคตและการเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับนโยบายที่จะผลักดันเศรษฐกิจทั้งระบบ ทั้งอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจระดับรากฐานของประเทศ
ประเทศไทย จึงประกาศนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ด้วยนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" คือ การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนา คือ เปลี่ยนจากการทำปริมาณมากแต่ได้ผลน้อย เป็นการทำปริมาณน้อยแต่ได้ผลมาก ซึ่งต้องอาศัยกระบวนทัศน์ในการพัฒนา 3 เรื่อง คือ 1) เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ไปสู่สินค้าเชิงนวัตกรรม 2) เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนด้วยอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และ 3) เปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้าไปสู่ภาคบริการมากขึ้นซึ่งแตกต่างกับนโยบาย "ประเทศไทย 3.0" ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและทำให้ประเทศไทยติดอยู่ใน 3 กับดัก คือ รายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่สมดุลในการพัฒนา
สำหรับความพร้อมของภาคการเกษตร 4.0 เพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ "ภายใต้โมเดล ไทยแลนด์ 4.0" ภาคการเกษตรควรให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมบุคลากรสู่การเป็น Smart Officer และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรสู่การเป็น Smart Farmer และ Young Smart Farmer ที่มีความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตและการตลาด มีการติดตามสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการนำข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรของตนเองมากขึ้น
หากในอนาคตนโยบาย "โมเดล ไทยแลนด์ 4.0 "ประสบผลสำเร็จในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม และภาคเกษตรสามารถพัฒนาเกษตรกรให้มีระดับมาตรฐานความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามที่วางแผนไว้ ภาครัฐไม่จำเป็นต้องกำหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและโอบอุ้ม เกษตรกรอย่างที่เป็นมาในอดีต
การคัดกรองเกษตรกรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเป็น Smart Farmer นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณา 2 ประเด็นหลัก คือ รายได้ของครัวเรือนเกษตรไม่ต่ำกว่า 180,000 บาท/ปีและมีคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ ดังตาราง
ตาราง หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรที่เป็น Smart Farmer แบ่งตามคุณสมบัติพื้นฐาน 6 ข้อ
คุณสมบัติ ตัวบ่งชี้
1. มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ 1.1 สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือให้คำแนะนำปรึกษาให้กับผู้อื่นได้
1.2 สามารถเป็นเกษตรกรต้นแบบหรือจุดเรียนรู้ให้กับผู้อื่น
2. มีข้อมูลประกอบ การตัดสินใจ