บรรดาผู้ชนะการแข่งขันจากเชียงใหม่ ขอนแก่น และภูเก็ต รวม 6 ทีม ได้มาประชันไอเดียกันอีกครั้งในรอบสุดท้าย โดยกิจกรรม Startup Thailand Pitching Challenge จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้กลุ่มคนรุ่นใหม่หันมาสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพที่เป็นระบบ มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยีช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงเน้นย้ำบทบาทสำคัญของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดเล็กและธุรกิจใหม่ที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย
ภูเก็ตได้รับเลือกให้เป็นโมเดล "เมืองอัจฉริยะ" แห่งแรกของประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับนโยบายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของรัฐบาล โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Smart Thailand มุ่งเน้นการติดต่อสื่อสารที่คล่องตัว การปฏิบัติตามกฎระเบียบ การใช้กล้องวงจรปิด CCTV การวิเคราะห์ข้อมูลในระบบบิ๊กดาต้า ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะ (Intelligence Operations Centre หรือ IOC) รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคล โครงการภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ ยังเป็นผลงานอันเกิดจากความร่วมมือระหว่างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กับหัวเว่ย
มร วัง อี้ฝาน กรรมการผู้จัดการ หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า "เรายังคงมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพของประเทศไทยเพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ และด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้นจะสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนและประสบความสำเร็จ หัวเว่ยภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนถ่ายทอดความรู้และสร้างเสริมขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอนาคตให้แก่ธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป"
เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้ CSIC (Customer Solution Innovation and Integration Experience Center – CSIC) และศูนย์ฝึกอบรมแห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ โดยศูนย์การเรียนรู้เชิงนวัตกรรมระดับโลกอันทันสมัยแห่งนี้ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการด้านไอซีทีและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจได้สัมผัสประสบการณ์ รวมถึงออกแบบ พัฒนา และสร้างสรรค์โซลูชั่นและแอพลิเคชั่นด้านไอซีทีขึ้นเองได้
"หัวเว่ยยังเตรียมสร้าง Open Lab ขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและขับเคลื่อนระบบนิเวศไอซีทีให้ขยายตัวมากขึ้น ทั้งในด้านเทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud) บิ๊กดาต้า (Big Data) และอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (Internet of Things) ที่จะช่วยสร้างเมืองอัจฉริยะที่ปลอดภัยและชาญฉลาดมากยิ่งขึ้น" มร. วัง อี้ฝาน กล่าว
ในระหว่างการแข่งขันที่ภูเก็ต สตาร์ทอัพแต่ละทีมที่ได้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้นำเสนอโครงการและแนวคิด แผนพัฒนาและขยายตัวของธุรกิจ รวมถึงมุมมองการแก้ปัญหาความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจริงในโลกธุรกิจ ทีมละ 5 นาที โดยผู้ชนะการแข่งขัน Startup Thailand 2016 Pitching Grand Challenge ได้แก่ ทีม Community Information กับผลิตภัณฑ์ Chumchon.Cloud
หัวเว่ยให้การสนับสนุนงาน Startup Thailand 2016 งานมหกรรมครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีครั้งแรกในประเทศไทยสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่ โดยมีบริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมากเข้าร่วมงาน เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยให้เข้าสู่ประเทศเศรษฐกิจดิจิทัล มหกรรมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีความคิดสร้างสรรค์และความรู้ความสามารถได้มาพบปะแลกเปลี่ยนมุมมองและไอเดียระหว่างกัน โดยหัวเว่ยได้นำเทคโนโลยีไอซีทีใหม่ล่าสุดมาจัดแสดงในงานครั้งนี้ด้วย อาทิ โซลูชั่น Safe City