CMMU ชี้คอนเซปต์ “Entrepreneurial University” กับ 7 กลไกยกระดับชาติอย่างยั่งยืน พร้อมเผยต้นแบบความสำเร็จของมหาวิทยาลัยระดับโลก

จันทร์ ๒๖ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๙:๓๖
วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดมิติใหม่มหาวิทยาลัยไทยกับแนวคิด "มหาวิทยาลัยนักคิดแบบผู้ประกอบการ" (Entrepreneurial University) พลิกบทบาทมหาวิทยาลัยไม่ให้เป็นเพียงแค่ ตลาดความรู้ แต่ส่งเสริมสู่การเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการระดับพื้นฐาน ผ่าน 7 กลไก ได้แก่ 1. นโยบายและกลยุทธ์การบริหาร 2. สมรรถนะขององค์กร บุคลากร และสิ่งจูงใจ 3.หลักพัฒนาแนวคิดผู้ประกอบในการเรียนการสอน 4.เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ 5.ความเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้กับภาคธุรกิจ 6.ความเป็นสถาบันระหว่างประเทศ 7.การวัดผลกระทบการเปลี่ยนแปลง พร้อมเผยตัวอย่างมหาวิทยาลัยระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ อาทิ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology - MIT) มีความร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ ทำให้เกิดนวัตกรรมในการรักษาคนไข้แบบใหม่ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) มีการกำหนดให้นักศึกษาปีที่ 3 สร้างประสบการณ์ด้านผู้ประกอบการ โดยกระจายตัวออกไปไปร่วมงานกับสตาร์ทอัพทั่วโลก

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และผู้อำนวยการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในยุคที่เยาวชนรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับกระแสสตาร์ทอัพ และต้องการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจของตนเองกันอย่างล้นหลาม ประกอบกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ของทางรัฐบาลที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าทางการตลาด บทบาทของภาคการศึกษาโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกันไป โดยต้องเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เน้นสร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริงและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง โดยสิ่งเหล่านี้จะทำให้มหาวิทยาลัยไทย เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศผ่านการพัฒนาผู้ประกอบการที่ให้ความสำคัญต่อนวัตกรรม ซึ่งจะกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แนวคิดดังกล่าวประสบความสำเร็จ มหาวิทยาลัยต้องมุ่งเน้นสร้าง ระบบความคิดแบบผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Mindset) ปลูกฝังให้ผู้เรียนเป็นนักคิด เริ่มต้นคิดค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นจริง จากนั้นจึงมองหาวิธีการแก้ไขแบบร่วมมือกัน (Co-creation) การยกระดับมหาวิทยาลัยสู่การเป็น "มหาวิทยาลัยนักคิดแบบผู้ประกอบการ" จะช่วยผลักดันรูปแบบทั้งการเรียน การสอน และการทำวิจัยที่จะนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ที่จะช่วยยกระดับทั้งด้าน สังคม เศรษฐกิจ และประเทศ

ดร.ภูมิพร กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวคิด "มหาวิทยาลัยนักคิดแบบผู้ประกอบการ" หรือ Entrepreneurial University เป็นแนวคิดที่กลุ่มนักวิชาการ นักวิจัย และสถาบันการศึกษาฝั่งตะวันตกได้ปรับรูปแบบการทำงานของมหาวิทยาลัยในช่วง 10 กว่าปี ที่ผ่านมา จากสาเหตุหลักที่ว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาไม่ควรเป็นเพียงแค่ตลาดความรู้ แต่ควรเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ช่วยให้เกิดการสร้างรายได้และการจ้างงาน และเป็นตัวส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาค นักวิจัยจำนวนมากพยายามศึกษาถึงตัวแปรที่สำคัญในการทำให้มหาวิทยาลัยกลายเป็น "มหาวิทยาลัยนักคิดแบบผู้ประกอบการ" และในปี 2555 องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD – Organization for Economic Co-operation and Development) ได้พัฒนากรอบแนวทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนักคิดแบบผู้ประกอบการ ที่ประกอบด้วย 7 ตัวแปรหลัก ได้แก่

1. นโยบายและกลยุทธ์การบริหาร (Leadership and Governance) นโยบายและทิศทางการบริหารต้องสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการอย่างแท้จริง อาทิ มีแผนกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างผู้ประกอบการภายในมหาวิทยาลัย ตลอดจนเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการในสังคม

2. สมรรถนะขององค์กร บุคลากร และสิ่งจูงใจ (Organizational Capacity, People and Incentives) ลดข้อจำกัดต่างๆขององค์กรในการสนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ อาทิ มหาวิทยาลัยสนับสนุนเงินทุนจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการ

3. หลักพัฒนาแนวคิดผู้ประกอบในการเรียนการสอน (Entrepreneurship Development in Teaching and Learning)โครงสร้างหลักสูตรออกแบบเพื่อรองรับการพัฒนาผู้ประกอบการ มีแนวทางที่เหมาะสมในการสร้างความรู้และฝึกทักษะ อาทิ มีการผลักดันให้ผู้เรียนคิดแบบผู้ประกอบการ ร่วมงานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในสถานการณ์จริง

4. เส้นทางสู่การเป็นผู้ประกอบการ (Pathways for Entrepreneurs) มีหลักรองรับกิจกรรมการพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่การบ่มเพาะไอเดีย ไปจนถึงการเพิ่มมูลค่าการเติบโตในตลาด มีศูนย์บ่มเพาะธุรกิจมี Co-Working space

5. ความเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้กับภาคธุรกิจ (University – business/external relationships for knowledge exchange) สร้างความสัมพันธ์กับภาคธุรกิจภายนอกเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้ อาทิ มีเครือข่ายที่เข้มแข็งกับศูนย์บ่มเพาะ อุทยานวิทยาศาสตร์ และอื่นๆเพื่อสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้

6. ความเป็นสถาบันระหว่างประเทศ (The Entrepreneurial University as an International Institution) มีการแลกเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อส่งเสริมการสร้างธุรกิจกับสถาบันในต่างประเทศทั้ง มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และบริษัท

7. การวัดผลกระทบการเปลี่ยนแปลง (Measuring the Impact of the Entrepreneurial University) มีการประเมินวัดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ทั้งในมุมมองของบุคลากรภายใน และผลกระทบที่มีต่อธุรกิจในท้องถิ่น และสังคม

ดร.ภูมิพร กล่าวเสริมถึงกรณีศึกษาตัวอย่างมหาวิทยาลัยระดับโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ หรือเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology - MIT) มหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็น มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก โดยทุกองค์ประกอบของเอ็มไอทีเอื้ออำนวยต่อการศึกษาแบบร่วมมือกัน (Collaboration) ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และแพทยศาสตร์ จนกลายเป็นนวัตกรรมในการรักษาคนไข้แบบใหม่ รวมถึงอีกหนึ่งตัวอย่างมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งในภูมิภาคเอเชีย คือ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ หรือเอ็นยูเอส (National University of Singapore - NUS) มีการกำหนดให้นักศึกษาปีที่ 3 สร้างประสบการณ์ด้านผู้ประกอบการ โดยกระจายตัวออกไปไปร่วมงานกับสตาร์ทอัพทั่วโลก

ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของธุรกิจให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสตาร์ทอัพที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมา ได้ถูกขยายความและให้คำนิยามที่แตกต่างกันออกไป บางความหมายและคำแนะนำถูกถ่ายทอดอย่างคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง อันจะนำไปสู่ความเข้าใจผิด ซึ่งสุดท้ายจะกลายเป็น "กับดัก" ที่น่ากลัวสำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ ฉะนั้นผู้ที่สนใจควรหาข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน คิดค้นหาปัญหา (pain point) ที่คนจำนวนมากประสบร่วมกัน และหาแนวทางออกที่ดีควบคู่ไปกับการประยุกต์เชิงพาณิชย์เข้าสู่แผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ดร.ภูมิพร กล่าวทิ้งท้าย

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเข้าไปที่ www.cmmu.mahidol.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version