มรภ.สงขลา ได้ 10 ทีมใต้แข่งเขียนโปรแกรมคอมฯ ระดับประเทศ

อังคาร ๒๗ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๔:๓๙
มรภ.สงขลา เปิดบ้านจัดแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นานาชาติ ระดับอุดมศึกษา ได้ 10 ทีมตัวแทนภาคใต้เข้าชิงชัยระดับประเทศ ม.อ. โชว์ผลงานยอดเยี่ยมพาเหรดรับรางวัล

ผศ.ดร.อำนาจ ทองขาว ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงผลการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์นานาชาติ ระดับอุดมศึกษา ACM-ICPC 2016 (ACM International Collegiate Programming Contest) ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) จัดขึ้น ณ ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มรภ.สงขลา ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ทีมชนะเลิศได้แก่ ทีมTeen คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ สมาชิกประกอบด้วย นายสมชาย วิชัยดิษฐ์ นายพันธวัตถ์ พงศ์เลิศนภากร นายอนันต์ บือราเฮง ควบคุมทีมโดย ผศ. ดร. แสงสุรรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ได้รับเงินรางวัล 25,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 1 ทีม XtremeDyn@mic คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ม.อ. วิทยาเขตภูเก็ต สมาชิกในทีม นายภควันต์ มณีเปรม นายณัฐกิตติ์ บุญยัง นายสิรวิชญ์ วงศ์ช่วย ควบคุมทีมโดย อ.กุลวรรธน์ เชาวนวาที รับเงินรางวัล 20,000 บาท รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม -Super Novice- คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.วิทยาเขตภูเก็ต สมาชิกในทีม นายธราเทพ หนูเหมือน นายณัชพล วงศ์สว่างศิริฒ นายนัธธี สุขลิ้ม ควบคุมทีมโดย อ.กุลวรรธน์ เชาวนวาที รับเงินรางวัล 15,000 บาท

ผศ.ดร.อำนาจ สำหรับรางวัลชมเชย 2 รางวัลๆ ละ 10,000 บาท ได้แก่ ทีม Get High และ ทีม Sniper Go จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) ม.อ.หาดใหญ่ รางวัลพิเศษ 4 รางวัลๆ 3,000 บาท แบ่งออกเป็น รางวัลRookie First Solver ทีมหน้าใหม่ (นอกเหนือจากทีมที่ติดอันดับ Top 10) ที่แก้โจทย์ได้เป็นทีมแรก ได้แก่ ทีมต้นกล้ายางนา (YangnaSeeds57) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.) สงขลา สามารถแก้โจทย์ข้อ D ได้เป็นทีมแรกในนาทีที่ 34 รางวัล Rookie Last Solver ทีมหน้าใหม่ที่แก้โจทย์ได้หลังสุด ก่อนหมดเวลา ได้แก่ ทีม SkiDC0d3R คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มทร.ศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) เป็นทีมที่ส่งโปรแกรมถูกก่อนหมดเวลาเพียง 4 นาที รางวัล Best Try ทีมที่มีความพยายามส่งโปรแกรมหลายครั้งจนผ่านในที่สุด ได้แก่ ทีม Koala's March สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) และ รางวัล Top Host Team เป็นทีมตัวแทนของมหาวิทยาลัยเจ้าภาพที่ได้อันดับดีที่สุด ได้แก่ ทีม Jojo จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วิทยาการคอมพิวเตอร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ได้อันดับที่ 19 สมาชิกประกอบด้วย นายวรากรณ์ ใจชื้น นายกิตติวัฒน์ กิติคุณ น.ส.ฟาริดา โต๊ะปังหลู ควบคุมทีมโดย ผศ.ดร.ทวีรัตน์ นวลช่วย

ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สงขลา กล่าวอีกว่า สำหรับทีมอันดับ 1-10 ซึ่งได้แก่ 1. ทีม Teen ม.อ.หาดใหญ่ 2. ทีม XtremeDyn@mic ม.อ.ภูเก็ต 3. ทีม -Super Novice-ม.อ.ภูเก็ต 4. ทีม Get Highม.อ.หาดใหญ่ 5. ทีม Sniper Go ม.อ.หาดใหญ่ 6. ทีม 2pt มวล. 7. ทีม infinite ม.อ.ภูเก็ต 8. ทีม PSU-PN03 ม.อ.ปัตตานี 9. ทีม MIPK ม.อ.ภูเก็ต และ 10. ทีม Keywords 2.1 ม.อ.ภูเก็ต โดยทั้ง 10 ทีมได้รับเงินสนับสนุนทีมละ 6,000 บาท และจะเดินทางไปเข้าร่วมการแข่งขัน ACM-ICPC Thailand National Contest 2016 ช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 59 ณ มหาวิทยาลัยสารคาม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ