โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กับความพร้อมของศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

อังคาร ๒๗ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๗:๓๓
โรงพยาบาลเทพธารินทร์ กับความพร้อมของศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ปณิธานและความมุ่งมั่นของศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ สู่ความเป็นโรงพยาบาลเทพธารินทร์

ช่วงเวลาที่ ศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ เข้ารับการฝึกอบรมด้านต่อมไร้ท่อที่ โรงพยาบาลบริกแฮมแอนด์วูแมน (Brigham and Women Hospital) ของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ด ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมที่ศูนย์เบาหวานจอสลิน (Joslin Diabetes Center) ซึ่งเป็นสถาบันสอนและสถานที่รักษาโรคเบาหวานที่ทั่วโลกยอมรับ เพราะมีบรรยากาศดี มีความพร้อมในการดูแลรักษาโรคเบาหวาน เน้นการให้ความรู้ผู้ป่วย รวมไปถึงวิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในเวลานั้นนายแพทย์หนุ่ม เทพ หิมะทองคำ ตั้งใจไว้ว่าวันหนึ่งประเทศไทยต้องมีสิ่งดีๆ แบบเกิดขึ้น นั้นคือปณิธานและสิ่งมุ่งมั่นของศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 "เทพธารินทร์ ศูนย์เบาหวานและไทรอยด์" ได้ถือกำเนิดขึ้นบนย่านถนนพระรามที่ 4 โดยเปิดตัวเป็นคลินิกเฉพาะทางเบาหวานและไทรอยด์ มีเตียงให้ผู้ป่วยได้พักค้างคืนจำนวน 8 เตียง จุดมุ่งหมายในการทำงานมี 3 ประการด้วยกัน คือ การให้บริการที่ดี การให้ความรู้ทั้งกับผู้เป็นเบาหวานและบุคลากร และการวิจัย ซึ่งทีมดูแลผู้ป่วยเป็นเบาหวานทีมแรกของประเทศไทยถือกำเนิดขึ้นที่นี่ "ทีม" ในเวลานั้นประกอบด้วย

- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเบาหวาน

- พยาบาลผู้ทำหน้าที่ในการสอนผู้ป่วยเป็นเบาหวาน

- นักกำหนดอาหารผู้รับหน้าที่สอนผู้ป่วยเรื่องอาหาร

ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ได้พัฒนาต่อเป็นโรงพยาบาลเทพธารินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบการดูแลรักษาโรคเบาหวานที่ถูกวิธี ตามหลักวิชาการ และครบวงจร เน้นการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม เน้นการป้องกันโรค ไม่ใช่แค่รักษาโรคเพียงอย่างเดียว พยายามให้ความรู้ และรณรงค์ให้คนทั่วไปออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน เน้นดูแลรักษาผู้ป่วยด้วยบุคลากรจากสหสาขา เนื่องจากศาสตราจารย์นายแพทย์เทพให้ความสำคัญเรื่องการรับประทานอย่างถูกต้อง ท่านจึงได้รับนักกำหนดอาหารที่จบการฝึกอบรมจากต่างประเทศเข้ามาร่วมทำงานในโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ซึ่งนับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่มีนักกำหนดอาหาร และตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่ก่อตั่งจนถึงทุกวันนี้ศาสตราจารย์นายแพทย์เทพ ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่างๆมากมายซึ่ง มีประโยชน์ทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากร ทำให้โรงพยาบาลเทพธารินทร์ได้รับการยอมรับและมีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ นอกเหนือจากความเป็นเลิศด้านรักษาโรคเบาหวานแล้ว ยังเป็นศูนย์ไทรอยด์แห่งแรกของประเทศไทยด้วย ซึ่งให้บริการวินิจฉัยและรักษาแบบครบวงจร ทั้งยังเป็นสถานที่ดูแลและฝึกอบรมของบุคลากรการแพทย์จากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

โรงพยาบาลเทพธารินทร์ยึดมั่นในแนวคิด "สมดุลชีวี…ด้วยวิถีพอเพียง"

โรงพยาบาลเทพธารินทร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนที่มีระบบการบริหารงานไม่เหมือนโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ เพราะ มีจุดกำเนิดจากความต้องการเติมช่องว่างในสังคมซึ่งขณะนั้นยังขาดการดูแลเบาหวานแบบทีมสหสาขาและเน้นการสอนและส่งเสริมให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง ที่โรงพยาบาลแห่งนี้บริหารงานแบบเศรษฐกิจพอเพียง และยังคงบริหารงานโดยผู้ถือหุ้นเดิมที่เริ่มก่อตั้ง ไม่ได้มุ่งเน้นการทำกำไรสูงสุด แต่เน้นการสร้างความเชี่ยวชาญของแพทย์และทีมงาน และเรื่องของการดูแลแบบชนิดครบวงจร Holistic care เพื่อเป็นต้นแบบการดูแลผู้ป่วยที่ยังเป็นช่องว่างในสังคม ทีมผู้บริหารพยายามที่จะให้คนไข้ได้สิ่งที่ดีที่สุดในราคาที่เหมาะสมที่สุด และเพราะการบริหารงานตามนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมีประสิทธิภาพนี่เองทำให้โรงพยาบาลเทพธารินทร์เป็นโรงพยาบาลเอกชนแห่งเดียวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรณีศึกษาและเรื่องราวถูกหยิบยกตีพิมพ์ในงานนวิจัยและตำราด้านการบริหารธุรกิจระดับนานาชาติซึ่งพยายามนำเสนอรูปแบบการบริหารที่จะนำสู่ความยั่งยืนของทั้งองค์กรและสังคมไปควบคู่กัน นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างที่สุดของโรงพยาบาล

สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางด้านโภชนาการและการกำหนดอาหาร

วัฒนธรรมของทางโรงพยาบาลคือ Ethics ไล่ลงมาในรายละเอียด E-for Excellence, T for Teamwork, H for Hospitality, I for Integrity, C for Continuous Improvement และ S for Social Responsibility เพราะฉะนั้นเวลาทำอะไร ทางทีมผู้บริหารโรงพยาบาลจะนึกถึงประโยชน์ของสาธารณะเป็นอันดับแรก จะทำอะไรก็ตามจะนึกถึงประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลัก Multidiscipline คือสหสาขาวิชาชีพในการดูแลเบาหวาน เริ่มต้นที่นี่ ตัวอย่างที่สำคัญมาก คือเรื่องของนักกำหนดอาหาร (Dietitian) ซึ่งเป็นวิชาชีพใหม่สำหรับประเทศไทย เดิมทีนั้นประเทศไทยมีการพัฒนาบุคลากรและงานด้านโภชนาการมาอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อมาถึงการดูแลอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานเฉพาะราย จึงเกิดความต้องการพัฒนาวิชาชีพนักกำหนดอาหารขึ้น วิชาชีพนี้คือผู้ที่มีความรู้ด้านอาหารเช่นเดียวกับนักโภชนาการ แต่มีความรู้ในเชิงคลินิก รู้จักโรค รู้จักระยะของโรค และทราบรายละเอียดของสารอาหารซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายต้องการในระยะต่างๆ พูดง่ายๆ คือสามารถใช้อาหารเป็นยาในการรักษาโรค ทำงานควบคู่ไปกับทีมแพทย์และพยาบาลที่ดูแลคนไข้นั่นเอง โรงพยาบาลเทพธารินทร์เป็นโรงพยาบาลแรกที่มีความต้องการบริการของนักกำหนดอาหาร ซึ่งสมัยก่อนประเทศไทยยังไม่มีการผลิตสายวิชาชีพนี้ จึงใช้วิธีการพัฒนาวิชาชีพนี้ขึ้นเองโดยการเสริมความรู้ให้กับกลุ่มนักโภชนาการที่มีพื้นฐานเป็นพยาบาล ในขณะเดียวกันชักชวนให้มหาวิทยาลัยเห็นความสำคัญของวิชาชีพนี้ และให้การสนับสนุนจนปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่มีหลักสูตรผลิตนักกำหนดอาหารขึ้นแล้ว และโรงพยาบาลเทพธารินทร์ก็ให้การสนับสนุนวิชาชีพนี้ด้วยการเป็นอาจารย์และสถานที่ฝึกงานมาอย่างต่อเนื่อง

ผสานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง

ถึงแม้ทางโรงพยาบาลจะดูแลคนไข้ดีขนาดไหนก็ตาม แต่เนื่องจากโรคทางด้าน Metabolic (เกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร) ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคนไข้ด้วย ฉะนั้นเราจึงเน้นเรื่องการสอน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ แต่เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคที่มีการดำเนินไปเรื่อยๆ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำได้ยาก โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานก็ยังคงเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หรือแผลเรื้อรังที่เท้า เรื่องการดูแลเท้านับว่าไม่เคยมีมาก่อนเลยในเมืองไทย ทางทีมเทพธารินทร์ได้พยายามค้นหาความรู้ใหม่ๆ และทดลองนำมาใช้ จนกระทั่งคนไข้ไม่ต้องถูกตัดขา ทำให้ทางโรงพยาบาลเริ่มขยายงานออกสู่ภายนอกด้วยการสอน โดยร่วมกับทาง สปสช.(สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานทั่วประเทศได้รับประโยชน์จากสิ่งใหม่ๆ ที่เทพธารินทร์เริ่มต้นด้วย ผลตอบรับที่ออกมาก็คือ สถิติการตัดขาในประเทศไทยลดไปแล้ว 80% เพราะฉะนั้นเรื่องของการตัดขาก็ดีขึ้นและเริ่มเห็นผลแล้ว โรคเบาหวานนั้นส่วนใหญ่ไม่จบเพียงเบาหวานแต่ยังพัวพันไปถึงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ในปีนี้ทางโรงพยาบาลจะเน้นเรื่องของหัวใจ ซึ่งเป็นคีย์ใหญ่มาก แต่เนื่องจากนโยบายการบริหารแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นที่รู้กันคือ ไม่มุ่งกำไรสูงสุด ในขณะที่คุณภาพการรักษามีคุณภาพสูงสุด ส่วนนี้เองที่ดึงดูดให้นายแพทย์ผู้เชียวชาญด้านหัวใจซึ่งมีแนวคิดเดียวกัน รศ.นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม ได้เข้ามาร่วมมือกันในการจัดตั้ง iCATH Cardio Metabolic Center เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ป่วย โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทย

ผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากสภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป อาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ อาทิ ของทอด ของมัน ของหวาน ซึ่งรับประทานแล้วไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ค่อยได้ดูแลตัวเอง รวมถึงการใช้ชีวิตของคนในสังคมเมืองที่เปลี่ยนไป เป็นเหตุให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น รวมถึงทางด้านกรรมพันธุ์ก็มีส่วนทำให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยเช่นกัน

สำหรับความร่วมมือระหว่างแพทย์โรงพยาบาทเทพธารินทร์ และแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งนำทีมโดย รศ.นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม ในการดูแลรักษา กลุ่มโรคต่อมไร้ท่อโดยเฉพาะเบาหวานและโรคหัวใจซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก นี่จัดเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบครบวงจร ทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาแบบบูรณาการ เพราะได้แพทย์ที่มีประสบการณ์ในโรคหัวใจและหลอดเลือดมายาวนานกว่า 30 ปี นับตั้งแต่เริ่มวิชาชีพแพทย์คุณหมอได้ตั้งปณิธานไว้ว่า "ดูแลคนไข้เหมือนเป็นญาติของเราและตรวจรักษาให้ดีที่สุดให้เหมาะกับอาการของคนไข้"

ความในใจและเหตุผลของ รศ.นพ.วสันต์ อุทัยเฉลิม ต่อความร่วมมือที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์

"ผมมีแนวความคิดและแนวทางเดียวกันกับผู้บริหารโรงพยาบาลเทพธารินทร์ครับ คือ เน้นในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และคืนประโยชน์ให้กับสังคม ซึ่งแนวคิดนี้ตรงกับแนวคิดของผมมากที่ต้องการจะมีศูนย์รักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย ปลอดภัย และมีเทคโนโลยีครบถ้วน ในขณะเดียวกันค่ารักษาไม่ได้สูงเกินไป ประกอบกับเรามี การคืนประโยชน์ให้สังคมโดยได้รับความร่วมมือจากมูลนิธิ "เทพศิริ" ซึ่งมี อ.นพ. ชลิต เชียรวิชัย เป็นประธาน ซึ่งท่านเป็นศัลยแพทย์ด้านโรคทรวงอก เป็นมูลนิธิเกี่ยวกับโรคหัวใจเพื่อผู้ป่วยที่ขาดทุนทรัพย์และพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ โดยรายได้ส่วนหนึ่งของ iCATH Cardio Metabolic Center จะนำไปสมทบทุนกับทางมูลนิธิ "เทพศิริ"ครับ

จุดเด่นของ iCATH Cardio Metabolic Center

นอกจากเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จุดเด่นของศูนย์แห่งนี้คือการนำเทคโนโลยีที่มีประโยชน์มาใช้ในการรักษาคนไข้เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด รวมถึงในเรื่องของการป้องกันโรค เน้นถึงการให้ความรู้ด้านสุขศึกษา คือ ให้ความรู้ทั้งผู้ป่วยและญาติในด้านต่างๆ เพื่อการป้องกัน ไม่ใช่รักษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังเน้นในเรื่องควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรคในอนาคต สำหรับด้านอุปกรณ์รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจโรคหัวใจและหลอดเลือดมีการนำเครื่องมือรุ่นใหม่ล่าสุดมาใช้เพื่อการรัษา โดยใช้งบประมาณในการทำศูนย์แห่งนี้ประมาณ 100 ล้าน (หนึ่งร้อยล้านบาท) ซึ่งรวมถึงการตกแต่งสถานที่ทุกอย่าง โดยพื้นที่ใช้สอยของ iCATH Cardio Metabolic Center อยู่อาคารด้านหน้าของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ มีทั้งห้องผู้ป่วยที่มีอาการหนักหรือห้อง CCU ห้องตรวจสวนหัวใจคนไข้ที่เรียกกันว่าห้อง cath หรือห้อง Cardiac Catheterization Laboratory ใช้ในการสวนหัวใจทำบอลลูน และห้องผ่าตัดด้านหัวใจและหลอดเลือด รวมถึง OPD ห้องตรวจคนไข้นอกด้านโรคหัวใจ ชั้น 2 เป็นพื้นที่ตรวจทางด้านผู้ป่วยนอก และ non- invasive investigation คือการตรวจหัวใจทางด้านต่างๆ ตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ การเดินสายพาน เป็นต้น ส่วนชั้น 6 จะเป็นห้อง ccu ผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ ห้องผ่าตัด ห้องปฏิบัติการตรวจสวนหัวใจ นอกจากความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์แล้ว ที่นี่ยังนี้เพียบพร้อมไปด้วยทีมแพทย์ที่มาดูแลมากกว่า 10 ท่าน บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงการให้บริการที่ดีอีกด้วย

ความมุ่งมั่นของทีมแพทย์และบุคคากร เพื่อศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

ทีมแพทย์ที่มาร่วมงานกับ iCATH Cardio Metabolic Center เป็นทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาหลายปี เน้นการรักษาที่ถูกต้องตามหลักมาตรฐานและเป็นประโยชน์ต่อคนไข้มากที่สุด ประกอบกับโรงพยาบาลเทพธารินทร์เป็นโรงพยาบาลที่เปิดมานาน มีชื่อเสียงด้านการรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานแล้วมาเป็นโรคหัวใจมีอยู่มาก ซึ่งที่โรงพยาบาลเทพธารินทร์ ยังไม่มีศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือดของตัวเอง จึงได้มีการปรึกษาเพื่อหาแนวทางดูแลคนไข้ให้ดีที่สุด คนไข้ได้รับการรักษาดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด รวมถึงปรัชญาในการทำงานที่ตรงกันด้วย จึงเกิด" iCATH Cardio Metabolic Center" ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมในวันนี้

นับเป็นก้าวสำคัญของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ในการเพิ่มศักยภาพการรักษาที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพเป็นไปตามปณิธานและความมุ่งมั่นของโรงพยาบาลเทพธารินทร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version