เปิด CSR in Process ของ TPARK ชูกรีนแวร์เฮ้าส์ LEED? Silver แห่งแรกในไทย

พฤหัส ๒๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๔:๓๗
"การพัฒนาอาคารสีเขียวไม่ใช่เรื่องแฟชั่น แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำ" แทน จิตะพันธ์กุล ผู้จัดการทั่วไป TPARK หรือ บริษัท ไทคอน โลจิสติคส์ พาร์ค จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาคลังสินค้าคุณภาพสูงรายใหญ่ของไทย

คุยให้ฟังถึงแนวคิดในการพัฒนา Green Warehouse ของ TPARK ซึ่งได้รับการการันตีคุณภาพคลังสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน LEED® ระดับ Silver แห่งแรกของไทยจาก U.S. Green Building Council (USGBC) องค์กรผู้นำด้านการกำหนดมาตรฐานอาคารสีเขียวในสหรัฐ ที่ได้รับการยอมรับระดับโลก

"แนวคิดเรื่อง Green Warehouse ของ TPARK เริ่มมาจากนโยบายด้านการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ที่ผ่านมาเราได้จัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน อนุรักษ์หาดชายทะเล แต่เราก็มองว่ามันค่อนข้างไกลตัว และจะรณรงค์กันเพียงปีละครั้ง ทำไมเราไม่ทำ CSR จากกระบวนการภายในของบริษัทหรือที่เรียกว่า CSR in Process ซึ่งไม่ใช่เรื่องแฟชั่นฉาบฉวย แต่เป็นเรื่องยั่งยืนกว่า และเป็นเรื่องที่ต้องทำเราจึงเริ่มกลับมามองที่ตัวตนขององค์กรเอง ด้วยความที่ TPARK เป็นเสมือนนักพัฒนา เราทำธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และคลังสินค้าสำหรับเช่ามานานกว่า 11 ปี สิ่งที่เราทำทุกๆวันคือการออกแบบและการก่อสร้างโครงการให้คงมาตรฐานระดับสากลมาอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าของ TPARKล้วนแต่เป็นบริษัทชั้นนำข้ามชาติ (Multi-national Company) จากทั่วโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับทุกรายละเอียด

ในการพัฒนาทั้งอาคารคลังสินค้า ระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบริษัท เราจึงเริ่มเอาแนวคิดเรื่องอาคารสีเขียวมาประยุกต์ใช้กับคลังสินค้าของบริษัทฯ

โดยนำเอามาตรฐาน LEED® Building (Leadership in Energy and Environmental Design) ซึ่งเป็นระบบการประเมินผลที่เป็นที่ยอมรับในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลก มาพัฒนาคลังสินค้าสีเขียวนำร่องที่โครงการ TPARK วังน้อย 2 ขนาดพื้นที่ 25,380 ตารางเมตร"

คุณแทน เล่าว่า "ที่ผ่านมาคนมักจะเข้าใจว่าอาคารสีเขียวจะต้องมีการปลูกต้นไม้ในโครงการเยอะๆ ใช้พลังงานให้น้อยที่สุด ปิดไฟ ปิดแอร์ เมื่อไม่จำเป็น แต่ไม่ดูความเหมาะสม ผลที่ได้คือประหยัดพลังงานจริงแต่คนอยู่ในอาคารไม่ได้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ มีต้นไม้เยอะๆ ก็ต้องใช้น้ำเพื่อรดต้นไม้ในปริมาณมาก แทนที่จะประหยัดกลับต้องเสียมากขึ้น" ดังนั้น จุดสำคัญสำหรับการออกแบบคลังสินค้าสีเขียวของ TPARK ก็คือ การสร้างความสมดุลระหว่างการประหยัดพลังงานและการใช้อาคารในการปฎิบัติงาน ซึ่งจะเริ่มคิดถึงเรื่อง Green ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการก่อสร้าง จนถึงการใช้อาคารในการปฏิบัติงานจริง เราให้ความสำคัญกับแหล่งทรัพยากร และวัสดุที่นำมาใช้ คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกโครงการ ลม การถ่ายเทอากาศ

การใช้พลังงาน และน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งภายหลังการประเมินคลังสินค้าต้นแบบแห่งนี้ตามมาตรฐาน LEED® แล้ว พบว่าสามารถใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ดีขึ้น 32 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐาน ASHRAE (มาตรฐานการใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับโลก) และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานได้ประมาณ 356,000 บาทต่อปี นอกจากนี้ ยังสามารถลดการใช้น้ำในอาคารได้มากถึง

42 เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับคลังสินค้าทั่วไป ซึ่งจะช่วยประหยัดการใช้น้ำได้มากถึงประมาณ 750 ลูกบาศก์เมตร ต่อปี ตลอดจนคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร ได้ถูกออกแบบให้มีระบบหมุนเวียนอากาศตามมาตรฐาน ASHRAE ซึ่งจะช่วยให้อาคาร สามารถประหยัดพลังงานได้ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต และสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ในอาคารให้ดีขึ้นอีกด้วย

"นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของ TPARK ในการช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจากตัวองค์กรของเราเอง ซึ่งเราคิดว่า Know-how ที่เราได้เรียนรู้มาจากการพัฒนาคลังสินค้าสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแห่งนี้ จะเป็นต้นแบบและองค์ความรู้ที่ดีสำหรับการพัฒนาอาคารสีเขียวในรูปแบบต่างๆ ต่อไป

ทั้งในกลุ่มบริษัทของเราเอง และผู้ประกอบการอื่นๆ ประโยชน์ที่ได้นอกจากตัวเราเองแล้ว ยังส่งผลต่อลูกค้าของเรา ชุมชนรอบข้างของเรา และสังคมของเราก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย และถ้าทุกคน ทุกองค์กร ช่วยกันสร้างความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคนละไม้ละมือ โลกก็คงจะถูกทำร้ายน้อยลง" คุณแทนกล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ