กยศ. แถลงผลการดำเนินงานปี 2559

จันทร์ ๐๓ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๐๐:๐๖
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แถลงผลการดำเนินงานประจำปี 2559 และความคืบหน้ากฎหมายใหม่ที่จะบังคับใช้ในปี 2560 พร้อมพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และเพิ่มโอกาสทางการศึกษาตามนโยบายรัฐบาล

ดร. ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานที่สำคัญของกองทุนในปีงบประมาณ 2559 ว่า "กองทุนฯ ดำเนินการให้กู้ยืมตั้งแต่ปี 2539 จนถึงปัจจุบัน มีนักเรียน นักศึกษาผู้ได้รับโอกาสทางการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 4,657,139 ราย ประกอบด้วย ผู้กู้ที่ชำระเสร็จสิ้นแล้ว 489,684 ราย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3,133,661 ราย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและปลอดหนี้ 880,950 ราย และอื่นๆ 41,454 ราย เป็นเงินงบประมาณจำนวนกว่า 4 แสนล้านบาท โดยผลการกู้ยืม ในปีการศึกษา 2559 มีนักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมรายเก่าและรายใหม่รวมทั้งสิ้น 458,389 ราย แบ่งเป็นผู้ที่เรียน ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 70,361 ราย ระดับปวช. 52,159 ราย ระดับปวท./ปวส. 55,800 ราย และอนุปริญญา/ปริญญาตรี 280,069 ราย เป็นเงินให้กู้ยืมประมาณ 18,605 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ส.ค. 2559)

ด้านผลการชำระหนี้ในปีงบประมาณ 2559 เป็นปีแรกที่มีผู้กู้ยืม กยศ. มาชำระหนี้สูงถึง 20,335 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมา 16.83 % ทั้งนี้ ผลการชำระหนี้ที่ดีขึ้นมากเป็นผลมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ช่วยผลักดันนโยบายต่างๆ ที่ช่วยเสริมสร้างวินัยและความรับผิดชอบ ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย รวมถึงกองทุนฯ ได้มีมาตรการจูงใจให้ผู้กู้ยืมมาชำระหนี้ปิดบัญชี การสร้างความร่วมมือกับองค์กรนายจ้างที่เข้าโครงการ กยศ. กรอ. เพื่อชาติ การเพิ่มความสะดวกในการชำระหนี้ด้วยรหัสการชำระเงิน (barcode) ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสและไปรษณีย์ไทยทุกสาขา นอกจากนั้น กองทุนฯ ยังได้ขยายความร่วมมือ กับธนาคารต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้ผู้กู้ยืมสามารถชำระหนี้ผ่านทางธนาคารทหารไทยและธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ได้แล้ว

สำหรับความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ... ขณะนี้อยู่ในชั้นพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2560 โดยได้กำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่หักเงินเดือนและค่าจ้างนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพื่อชำระคืนกองทุนฯ และเพิ่มอำนาจหน้าที่ให้กองทุนฯ สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้กู้ยืม เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้กู้ยืมที่จะไม่ต้องเสียเบี้ยปรับกรณีค้างชำระ หรือถูกฟ้องร้องดำเนินคดีกรณีที่ค้างชำระเป็นเวลานาน ทั้งนี้ กฎหมายใหม่ดังกล่าวจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทั้งด้านการให้กู้ยืมและติดตามหนี้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้อย่างเท่าเทียมกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ