ผบช.รร.นรต. เผยว่า ในครั้งนี้ ศาสตราจารย์ พล.ต.ต.หญิง ดร. นัยนา เกิดวิชัย คณบดีคณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชนและผู้อำนวยการสำนักวิจัย ซูเปอร์โพล สำรวจเรื่อง "เสียงสะท้อน คนขับรถ และ คนทั่วไปต่อ ผลการแก้ไขปัญหาจราจร" กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนที่เป็นคนขับรถ และคนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,189 ตัวอย่าง โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 - 25 กันยายน พ.ศ. 2559
"จากผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.4 เป็นคนทั่วไป เช่น คนเดินเท้า ผู้โดยสารรถสาธารณะ ขณะที่ร้อยละ 24.6 สถานะเป็นคนขับรถ เมื่อถามถึง ผลการแก้ไขปัญหาจราจร ด้วยวิธีการแบบใหม่ ตามความคิดเห็นของคนขับรถ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 60.1 ระบุว่าตำรวจ มีระบบการแก้ปัญหาจราจรที่ดูดี เป็นระบบมากขึ้นค่อนข้างมาก-มากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 59.0 ระบุ ตำรวจ เสียสละทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหาจราจรในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 58.4 ระบุตำรวจ กระตือรือร้นในการแก้ปัญหาจราจรค่อนข้างมาก มากที่สุด ร้อยละ 51.9 ระบุพฤติกรรมขับรถของประชาชนมีวินัยมากขึ้น ร้อยละ 48.6 ระบุความเร็วในการเดินทาง มีมากขึ้น และร้อยละ 54.9 ระบุการแก้ปัญหารถติดโดยภาพรวมดีขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ตามลำดับ" พลตำรวจโทศักดา เผยผลวิจัย
พร้อมระบุว่า ที่น่าพิจารณาคือ ผลการแก้ไขปัญหาจราจร ด้วยวิธีการแบบใหม่ ตามความคิดเห็นของคนทั่วไป เช่น คนเดินเท้า ผู้โดยสารรถสาธารณะ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 53.3 ระบุ ตำรวจ มีระบบการแก้ปัญหาจราจรที่ดูดี เป็นระบบมากขึ้นค่อนข้างมาก-มากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 49.6 ระบุ ตำรวจ เสียสละทำงานหนักเพื่อแก้ปัญหาจราจรในระดับค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 48.4 ระบุตำรวจ กระตือรือร้นในการแก้ปัญหาจราจรค่อนข้างมาก-มากที่สุด ร้อยละ 45.9 ระบุพฤติกรรมขับรถของประชาชนมีวินัยมากขึ้น ร้อยละ 42.5 ระบุความเร็วในการเดินทาง มีมากขึ้น และร้อยละ 44.3 ระบุการแก้ปัญหารถติดโดยภาพรวมดีขึ้นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ตามลำดับ