ส.อ.ท. เร่งเครื่องเต็มสูบ พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ - 3 ปี ขยายผล Eco Factory 70 แห่ง พร้อมผนึกกำลัง ก.อุตสาหกรรม MOU การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว Green industry

พุธ ๐๕ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๕๓
สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 "Eco Innovation and Solution 2016" พร้อมพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมืออุตสาหกรรมสีเขียว ระดับ 4 และ มาตรฐานการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ กระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อวันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา ณ ห้อง Grand Hall 201-202 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีนโยบายและแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เกิดความยั่งยืน

ซึ่งนอกจากการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตควบคู่กับการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับสังคมอย่างผาสุกแล้ว กระทรวงอุตสาหรรมได้มีการกำหนดแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559 - 2564 ขึ้น เพื่อต่อยอดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องไปสู่ Industry 4.0 โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ ยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมไทย โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม และระบบบริหารจัดการสมัยใหม่ ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่สำคัญของยุทธศาสตร์นี้คือ การพัฒนาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลักดันให้มีการนำแนวคิดเรื่อง Green Productivity

มาออกแบบในกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการภายในองค์กร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการ นำแนวคิดเรื่องการสร้างคุณค่าระหว่างธุรกิจและสังคมควบคู่ไปพร้อมกัน หรือที่เรียกว่า Creating Share Value หรือ CSV ซึ่งจะเกิดคุณค่าต่อสังคมมากกว่า CSR โดยกลยุทธ์นี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงกระบวนการเพิ่มศักยภาพให้เกิดความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า โดยการปรับปรุงและยกระดับผลิตภาพของกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การจัดการโซ่อุปทานสีเขียว การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนวัตถุดิบ และประหยัดพลังงาน รวมทั้งเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้ ผ่านการนำวัสดุเหลือใช้ หรือของเสียไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการสร้างคุณค่าระหว่างธุรกิจและสังคมที่ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจควบคู่กับการพัฒนา และแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและความเชี่ยวชาญหลักขององค์กรมาสร้างให้เกิดคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่นอกเหนือจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม

สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ถือเป็นหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานพันธมิตรของกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มีภาระกิจและบทบาท

ที่สำคัญในการส่งเสริมยุทธศาสตร์ของกระทรวงอุตสาหกรรมให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยสถาบันฯ มีการริเริ่มมาตรฐานรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ ที่รู้จักกันดีในชื่อว่า Eco Factory ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อยกระดับและมุ่งส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเกณฑ์ในการพัฒนาโรงงานให้ได้รับการรับรอง Eco Factory นั้น จะต้องมีการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง 5 มิติ ได้แก่ กายภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการ ซึ่งโรงงานนั้นจะต้องมีการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรและการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมด้วย รวมทั้งต้องมีกิจกรรมร่วมกับสังคม โดยการส่งเสริมให้โรงงานมีกิจกรรมพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนเพื่อเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชน และเกิดการอยู่ร่วมกันกับชุมชนโดยรอบ ซึ่งแนวทางการพัฒนามาตรฐาน Eco Factory นี้เอง ได้ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ของภาครัฐ ที่ได้มีนโยบายขยายการดำเนินงานการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีบทบาทสำคัญในการดำเนินการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ให้เกิดขึ้นภายในปี 2561 จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นครปฐม ราชบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี และสงขลา ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ก็ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศร่วมกับ

กรมโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังได้มีส่วนร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาตัวชี้วัดการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ Eco-Excellence และ Eco-World Class ด้วย

"การจัดงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2559 "Eco Innovation and Solution 2016" ถือเป็นเวทีสำคัญ ที่สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี โดยเรื่อง Eco Innovation and Solution ยังคงเป็นประเด็นสัมมนาที่สำคัญ และทันต่อยุคสมัย เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นจะต้องส่งเสริมและผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจด้วยการพัฒนาผลิตภาพและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไปสู่ Industry 4.0 พร้อมคำนึงถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ตามแนวคิดอุตสาหรรมสีเขียว (Green Industry) และการเพิ่มคุณค่าให้กับสังคม (Creating Share Value) ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรมไทย

ที่เราควรมุ่งเน้นเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถยกระดับไปสู่การพัฒนาอีกขั้น" ดร.อรรชกา กล่าว

นายบวร วงศ์สินอุดม รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นพันธมิตรในการทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐทั้งระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น รวมถึงทำงานร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และเครือข่ายภาคประชาสังคมต่างๆ ในการดำเนินงานส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ที่มุ่งเน้นการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการอยู่ร่วมกับสังคม โดยมีการส่งเสริมให้โรงงานมีธรรมาภิบาลที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม มีการส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ประกอบการอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การส่งเสริมให้สร้างวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น และจากเหตุผลข้างต้น งานสัมมนาวิชาการประจำปีที่จัดขึ้นในครั้งนี้ จึงยังคงเน้นความต่อเนื่องเรื่องการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ นิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โดยมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและสังคม รวมถึงส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการทุกขนาดให้มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"การจัดงานสัมมนาวิชาการ ประจำปี 2559 Eco Innovation and Solution 2016 ที่จัดขึ้นตลอด2 วัน คือ ระหว่างวันที่ 3 - 4 ตุลาคม 2559 นี้ ประกอบด้วยกิจกรรมที่ส่งเสริมเรื่องอุตสาหกรรมเป็นมิตร ในหลากหลายมิติ อาทิ การสัมมนา Eco Factory โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเพื่อความมั่งคั่งและยั่งยืน, สัมมนาบุคลากรสิ่งแวดล้อมกลไกสำคัญสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยั่งยืน เสวนาพิเศษ Industry 4.0 พัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืนและสังคมมีสุข, พิธีมอบโล่รับรองรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศแก่โรงงานอุตสาหกรรมที่ได้นำหลักเกณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ Eco Factory ซึ่งดำเนินการโรงงานต้นแบบในปี 2557 จำนวน 2 บริษัท และได้ขยายผลมาในปี 2558 จำนวน 37 บริษัท และในปี 2559 นี้ มีโรงงานขอรับรองจำนวน 31 บริษัท รวมทั้งสิ้น 70 บริษัท (ปี 2557 – 2559) รวมถึงยังจัดให้มีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการบูรณาการ การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว Green industry (GI) ระดับที่ 4 วัฒนธรรมสีเขียว (Green Culture) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยทั้งสองฝ่ายตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมสู่การเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) และโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน โดยกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้ให้การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว Green industry (GI) ระดับที่ 4 วัฒนธรรม สีเขียว (Green Culture) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับรองมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น" นายบวร กล่าว

ทั้งนี้ นอกจากกิจกรรมสัมมนาทางวิชาการที่ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิและวิทยาการทั้งจากภาครัฐและเอกชนมาร่วเป็นวิทยากรแล้ว ภายในงานยังมีการจัดแสดงนิทรรศการเทคโนโลยี และบริการในการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงกิจกรรมเครือข่ายพันธมิตรจากภาคเอกชน ประชาคม และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมวาดภาพศิลปะ การนวดแผนไทยจากนักเรียน และนิทรรศการแสดงกิจกรรมส่งเสริมอาชีพให้แก่ชุมชนโดยสมาคมเพื่อนชุมชน ซึ่งคาดงานจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาจากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม นักวิชาการ ภาคประชาชน และสื่อมวลชน ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน...

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ