กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 ยิ่งใหญ่ เข้าร่วมมากกว่า 60 ประเทศ เพื่อร่วมผนึกกำลังประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วม และสร้างความยั่งยืนด้านอาหาร

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๑๒
กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 ยิ่งใหญ่ เข้าร่วมมากกว่า 60 ประเทศ เพื่อร่วมผนึกกำลังประชุมแก้ปัญหาน้ำท่วม และสร้างความยั่งยืนด้านอาหาร พร้อมจัดนิทรรศการแสดง พระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำชลประทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ทั่วโลกได้รับรู้

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลป์ยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 (2nd World Irrigation Forum : WIF2) และการประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศ ครั้งที่ 67 ( The 67th International Executive Committee Meeting : 67th IEC Meeting) ในวันที่ 10 ตุลาคม 2559 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าการที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมชลประทานโลก และการประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศในครั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยการชลประทานและการระบายน้ำ (International Commission on Irrigation and Drainage: ICID) เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพและความพร้อมด้านชลประทานมากที่สุดในภูมิภาคนี้ โดยการประชุม จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 12 พฤศจิกายน 2559 ณ ศูนย์ประชมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ "การบริหารจัดการน้ำภายใต้สภาวะการเปลี่ยน แปลงของโลก : บทบาทการชลประทานต่อความยั่งยืนด้านอาหาร" (Water Management in a Changing World: Role of Irrigation in Sustainable Food Production) ซึ่งขณะนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งในระดับรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ระดับสูง เอกอัครราชทูต ผู้บริหารจากสถานบันการศึกษา นักวิชาการด้านน้ำและชลประทาน ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตอบรับเข้าร่วมประชุมแล้ว 60 ประเทศ จำนวนประมาณ 1,200 คน โดยเป็นระดับรัฐมนตรียืนยันที่จะมาร่วมประชุมแล้ว 13 ประเทศ คือ จีน อียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ เนปาล ปากีสถาน รัสเซีย แอฟริกาใต้ ซูดาน ยูเครน อุซเบกิสถาน ซิมบับเว และอยู่ระหว่างรอตอบรับอีกว่า 10 ประเทศ

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ 3 หัวข้อหลักๆ คือ 1) การแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการร่วมกันเพื่อสร้างความสมดุลระหว่าง น้ำ อาหาร พลังงาน และระบบนิเวศ 2) การร่วมกันกำหนดวิธีการรับมือที่เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่มีผลต่อปริมาณน้ำ ทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง และ3) เป็นการใช้ระบบชลประทานและการระบายน้ำ เพื่อลดความยากจนและความหิวโหย โดยร่วมวางแนวทางพัฒนาแหล่งน้ำซึ่งถือเป็นปัจจัยพื้นฐานให้เพียงพอที่จะสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยในการดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตร ทั้งนี้ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญของการจัดประชุมครั้งนี้มาก เพราะนอกจากจะทำให้ได้รับทราบความก้าวหน้าของการชลประทานของไทย และมีผลทางอ้อมช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของประเทศแล้ว ที่สำคัญที่สุดยังจะทำให้ทั่วโลกได้รับทราบถึงพระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะมีการนำเสนอแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการน้ำชลประทานตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ โดยในส่วนของนิทรรศการจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมได้ในวันที่ 7 – 8 พฤศจิกายน 2559

ด้าน นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมชลประทานยังจะใช้ ศูนย์การศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ต้อนรับและดูงานของผู้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีและผู้ที่สนใจเพื่อแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพด้านการบริหารจัดการน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พลิกผืนดินที่แห้งแล้งกว่า 8,500 ไร่ ให้เป็นผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ จนกลายเป็นศูนย์การศึกษาที่สมบูรณ์แบบ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ แล้วนำไปใช้ปฏิบัติอย่างได้ผล ทั้งการพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ การพัฒนาแหล่งน้ำ ตลอดจนการส่งเสริมการประกอบอาชีพต่างๆ ไม่ว่าการเกษตร การประมง ปศุสัตว์ รวมทั้งด้านการเกษตรอุตสาหกรรมอีกด้วย ดังมีพระราชดำริว่า ให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต" หรืออีกนับหนึ่งเป็น "สรุปผลของการพัฒนา" ที่ประชาชนจะเข้าไปเรียนรู้และนำไปปฏิบัติได้

"การประชุมชลประทานโลกครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบชลประทานเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย โดยในส่วนของประเทศไทยยังได้คัดเลือก Smart Farmer หรือ เกษตรกรปราดเปรื่อง จำนวน 4 คน เข้าร่วมประชุมและร่วมพบปะหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านต่างๆกับ Smart Farmer ของประเทศต่างๆ อาทิ ซูดาน อินเดีย อิหร่าน กว่า 10 คน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาต่อยอดความรู้ ความสามารถ ความเข้มแข็ง ทักษะ ประสบการณ์ใหม่ๆ และเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรรุ่นใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเกษตรในอนาคตอย่างมั่นคาง เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของโลกตามนโยบายของรัฐบาล"พลเอก ฉัตรชัยกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ