“วันหัวใจโลก ประจำปี 2559” รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๓:๒๙
จากสภาวะเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง ทำให้ไลฟ์สไตส์การใช้ชีวิต การกินดี อยู่ดี รวมถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากอยากมีชีวิตที่ยืนยาว!! อย่ามัวทำงานจนหลงลืมดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของ "หัวใจ" เพราะโรคหัวใจถือเป็นภัยเงียบที่รุนแรง

รศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของทั่วโลก รวมทั้งสาธารณสุขของไทย จากข้อมูลสถิติของAmerican Heart Association (AHA) พบว่ามีผู้ที่เจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึง 17.3 ล้านคน และคาดว่าในอีก 14ปีข้างหน้า หรือ ในปีพ.ศ.2573 จะเพิ่มเป็น 23.6 ล้านคน นับว่าเป็นสาเหตุ การเจ็บป่วยและมีอัตราการตายเป็นอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและอันดับ 3 ของประเทศไทยเลยทีเดียว

โรคหัวใจ มีสาเหตุเกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ทางกรรมพันธุ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น การดำเนินชีวิต ส่วนหนึ่งของปัจจัยการเกิดโรคมาจากการกินดีอยู่ดี ความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ทำให้โรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงภัยร้าย รวมถึงการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก่อนที่ภัยเหล่านี้จะมาถึงตัวนั้น โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติซึ่งเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูงที่มีศูนย์หัวใจธรรมศาสตร์ ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดครบวงจร จึงได้จัดกิจกรรม "วันหัวใจโลกประจำปี 2559" ( World Heart Day) ขึ้น เพื่อแนะเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลหัวใจให้แข็งแรง การบริการตรวจสุขภาพหัวใจ รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ มาเล่าสู่กันฟัง

ผศ. แพทย์หญิงอิงอร อรุณากูร ทีมพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ได้แนะเคล็ดลับการดูแลหัวใจ ห่างไกลโรคง่ายๆด้วยตัวเอง ดังนี้ ก่อนอื่นให้สำรวจตัวเองว่าการดำเนินชีวิตในแต่ละวันนั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือไม่ เช่น การสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการทำลายหลอดเลือดแดงให้เสื่อมเร็วขึ้น การหมั่นตรวจวัดความดันสม่ำเสมอ โดยค่าความดันปกติควรอยู่ที่ระดับ 120/80 แต่หากค่าความดันสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งมีค่าความดันที่ 140/90 นั่นหมายความว่ากำลังเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ควรได้รับการรักษาเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในอนาคต นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักอย่าให้อ้วนลงพุง และลดอาหารประเภทไขมันสูง หรือจำกัดปริมาณแคลอรี่ ที่เหมาะสมในแต่ละวัน ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยควรเดินให้ได้ 3.2 กิโลเมตรต่อวัน ที่สำคัญต้องไม่เครียด เพราะความเครียดและซึมเศร้าจะทำให้สุขภาพหัวใจคุณแย่ลงได้ด้วยเช่นกัน ง่ายๆเพียงเท่านี้ก็เป็นการดูแลหัวใจ ให้แข็งแรงได้ด้วยตนเอง

ท้ายที่สุด ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ย้ำเตือนว่า หากคุณมีภาวะ ใจสั่น ใจเต้น ใจหวิวๆ เหนื่อยง่ายกว่าเดิม หรือหน้ามืด ควรรีบพบแพทย์เพื่อเช็กสุขภาพหัวใจโดยด่วน อย่าปล่อยให้"หัวใจ" อ่อนแอ ก่อนที่จะสายเกินไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ