ชี้แจงกรณีมีการกล่าวหาเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินการ ตามคำพิพากษาศาลปกครอง

จันทร์ ๑๐ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๕๘
วันนี้ (6 ตุลาคม 2559) นายยงยุทธ มะลิทอง รองเลขาธิการฯ รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ชี้แจงว่า ตามที่มีการกล่าวหาเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ไม่ดำเนินการตามคำพิพากษาศาลปกครอง

สำนักงาน ป.ป.ช. ขอชี้แจง ดังนี้

เมื่อวันที่ 13 ส.ค. 58 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับคำพิพากษาแรกกรณีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. 2 คน ฟ้องคดี โดยศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้ผู้ฟ้องชนะคดี โดยคำพิพากษามีผลกระทบกับอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และสำนักงาน ป.ป.ช. ในสาระสำคัญ ดังนี้

ประเด็นที่ 1 การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการสำนักงานป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 2/2546 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2546 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ได้มีมติกำหนดขึ้นนั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่นำไปใช้บังคับกับข้าราชการในสังกัด ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ทุกคน โดยมีการแจ้งเวียนหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ทราบนั้น มีลักษณะเป็นกฎตามนัย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีการพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ. 2542 โดยต้องออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 107 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจที่จะออกกฎ ระเบียบหรือประกาศที่เกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคลของข้าราชการและลูกจ้างของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ ซึ่งต้องดำเนินการตามมาตรา 107 วรรคสอง กล่าวคือ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. จะต้องลงนามและมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา จึงจะนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้บังคับได้ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช. ไม่ได้ลงนามและไม่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดอันเป็นสาระสำคัญ จึงไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ และกรณีนี้ไม่อาจนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับได้ เนื่องจากมีกฎหมายเฉพาะกำหนดไว้ชัดเจนแล้ว แต่เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งและการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. พ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2550 จึงมีผลทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ระดับ 7 ระดับ 8 และระดับ 9 ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2546 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ถูกยกเลิกไป ศาลปกครองจึงไม่จำต้องมีคำบังคับให้เพิกถอนแต่อย่างใด

ประเด็นที่ 2 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 141/2548 ลงวันที่31 ตุลาคม 2548 เลื่อนข้าราชการ จำนวน 35 ราย ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. 9 โดยไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการสำนักงานป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ระดับ 7 ระดับ 8 และระดับ 9 ตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ครั้งที่ 2/2546 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2546 ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 นำไปใช้ในการพิจารณาเพื่อเลื่อนข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ในส่วนของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นหลักเกณฑ์ ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่อาจนำมาใช้บังคับได้ ดังนั้น คำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 141/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เลื่อนข้าราชการ จำนวน 35 ราย ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าพนักงาน ป.ป.ช. 9 โดยไม่มีชื่อ ผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช.ที่ 141/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสอง โดยให้มีผลนับแต่วันที่ออกคำสั่ง

การดำเนินการของสำนักงาน ป.ป.ช.

1. วันที่ 4 พ.ย. 58 สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับคำพิพากษาคดีที่ 2 กรณีเจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. อีกรายหนึ่งเป็น ผู้ฟ้อง ชนะคดีซึ่งเป็นประเด็นและมูลคดีเดียวกันกับคดีแรก สำนักงาน ป.ป.ช. เห็นว่า ควรรอผลการตอบข้อหารือจากศาลปกครองก่อนนำเสนอต่อไป เพื่อจะได้เป็นแนวทางเดียวกับกรณีแรก

2. วันที่ 13 พ.ย. 58 สำนักงาน ป.ป.ช. มีหนังสือหารือไปยังศาลปกครองรวม 3 ประเด็น ดังนี้

2.1 เมื่อสำนักงาน ป.ป.ช.ได้เพิกถอนคำสั่ง ที่ 141/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดีตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด สำนักงาน ป.ป.ช. จะดำเนินการออกคำสั่งเลื่อนผู้ฟ้องคดี โดยไม่ประเมินเพื่อเลื่อนระดับได้หรือไม่ หรือ

2.2 ให้ผู้ฟ้องคดีเข้ารับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกที่ได้มีการประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา จึงจะถูกต้อง

2.3 แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการ ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น โดยให้มีผลย้อนหลัง

3. ต่อมาศาลปกครองได้ตอบข้อหารือกลับมา สรุปว่า

3.1 คดีนี้ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 141/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองโดยให้มีผลนับแต่วันที่ออกคำสั่ง ซึ่งโดยผลของคำพิพากษาทำให้คำสั่งดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองถูกเพิกถอน ไปแล้ว

3.2 เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อเลื่อนข้าราชการ สำนักงาน ป.ป.ช. ขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ที่พิพาทเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่อาจบังคับได้ ดังนั้น กระบวนการประเมินเพื่อเลื่อนระดับผู้ฟ้องคดีทั้งสองขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้นของผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เนื่องจากนำหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการประเมินผู้ฟ้องคดี และเมื่อศาลปกครองสูงสุดเพิกถอนคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 141/2548 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2548 เฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดี จึงถือเสมือนว่ายังไม่มีการประเมินผู้ฟ้องคดี เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงขึ้น ผู้ถูกฟ้องคดีจึงชอบที่จะดำเนินการประเมิน ผู้ฟ้องคดีทั้งสองใหม่ตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

4. วันที่ 4 พ.ค. 59 องค์คณะศาลได้อนุญาตให้สำนักงาน ป.ป.ช. คัดแบบประเมิน

5. วันที่ 22 มิ.ย. 59 คณะอนุกรรมการข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ โดยให้ดำเนินการประเมินผู้ชนะคดีทุกรายใหม่ โดยให้นำหลักเกณฑ์ปี 50 มาใช้ในการประเมิน ต่อมาวันที่ 7 ก.ค. 59 สำนักงาน ป.ป.ช. แจ้งผลการดำเนินการให้สำนักบังคับคดีปกครองทราบ

6. วันที่ 28 ก.ย. 59 สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอรายชื่อคณะกรรมการประเมินต่อคณะอนุกรรมการข้าราชการสำนักงาน ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผู้ฟ้องคดีทุกรายต่อไปแล้ว

จะเห็นได้ว่าเมื่อสำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับทราบคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดแล้วก็ได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เช่น หารือแนวทางปฏิบัติไปยังสำนักบังคับคดีปกครอง เมื่อได้รับแจ้งแนวทางปฏิบัติแล้ว ก็ได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผู้ฟ้องคดีทุกราย

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดระบุชัดเจนว่าเพิกถอนคำสั่งเฉพาะในส่วนที่ไม่มีชื่อผู้ฟ้องคดี ไม่กระทบกับบุคคลในคำสั่งทั้ง 35 ราย

จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version