กรมสุขภาพจิต เปิดบ้านฯ รับวันสุขภาพจิตโลก ย้ำมือที่อยู่ใกล้ กำลังใจที่ใกล้ตัว ผ่านภาวะวิกฤต

พฤหัส ๑๓ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๐๑
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา นาวาอากาศตรีนายแพทย์ บุญเรืองไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้มอบรางวัลผู้ปฎิบัติงานสุขภาพจิตดีเด่นในระบบเครือข่าย ให้กับรองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนิตยา คชภักดี กุมารแพทย์ สาขาพัฒนาการและพฤติกรรม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล และมอบรางวัลผู้ปฎิบัติต่องานสุขภาพจิตดีเด่นในสถานบริการ แพทย์หญิงดวงตา ไกรภัสสรณ์พงศ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เนื่องในวันอนุสรณ์ศาสตราจารย์นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทยและเนื่องในวันสุขภาพจิตโลก ประจำปี 2559 (World Mental Health Day 2016) ซึ่งปีนี้ รณรงค์ภายใต้แนวคิด Psychological First Aid and Mental Health First Aid For All : มือที่อยู่ใกล้ กำลังใจที่ใกล้ตัว โดยสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาได้จัดอภิปรายในหัวข้อมือที่อยู่ใกล้ กำลังใจที่ใกล้ตัว แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของอาสามัครสาธารณสุขที่มาเล่าประสบการณ์ในการเยียวยาจิตใจของผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตให้เข้าสู่กระบวนการรักษา นอกจากนั้นยังมีมุมมองญาติผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องดูแลผู้ป่วยและเรียนรู้ภาวะวิกฤตชีวิตของบุคคลที่ครั้งหนึ่งเคยคิดฆ่าตัวตายและสุดท้ายก็ปรับเปลี่ยนแนวคิดและเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสได้

จากสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งที่เป็นภัยธรรมชาติ หรือภัยจากการกระทำของมนุษย์นับวันจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น ทุกเหตุการณ์ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินและบุคคลอันเป็นที่รักซึ่งส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบภาวะวิกฤต การดูแลจิตใจด้วยตนเองเบื้องต้น รวมถึงการช่วยเหลือจากคนใกล้ชิดแก่ผู้ที่อยู่ในภาวะวิกฤต ก็จะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตลงได้

นพ. เสรี ตู้จินดา ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กาย- จิตเป็นของคู่กัน เมื่อร่างกายเจ็บป่วยใจก็เป็นทุกข์ได้ เมื่อเจ็บป่วยทางจิตอาจมีปัญหาทางกายตามมาได้ เราพบว่า 1/4 ถึง1/3 ของประชาชนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตครั้งหนึ่งในช่วงชีวิต และคนใกล้ชิดอาจประสบปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัวเพื่อนร่วมงาน กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้ประชาชนมีสุขภาพดี ทั้งการป้องกันและการรักษาโรค ถึงแม้ว่าปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชประชาชนยังเข้าถึงการรักษาได้ไม่มาก อาจจะด้วยความไม่รู้ก็ดีหรือ ความรู้สึกถูกตีตราหรือการการกีดกันก็ดี การช่วยเหลือเบื้องต้นหรือการปฐมพยาบาลด้านสุขภาพจิตนี้จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้เข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น กระทรวงสาธารณสุขพร้อมให้การดูแลประชาชนทุกคน มีคลินิกจิตเวชให้บริการ ในทุกระดับทุกอำเภอทุกจังหวัด ตามนโยบายเรื่องระบบบริการสุขภาพและจิตเวช มีจิตแพทย์เกือบทุกจังหวัดทั่วประเทศจังหวัดใดมีจิตแพทย์ประจำก็จะมีจิตแพทย์หมุนเวียนตรวจ

ด้าน นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้กล่าวเพิ่มเติมว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่พบบ่อยมีผลกระทบต่อตนเองครอบครัว และสังคมโดยรวม จากการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย ปีพ.ศ.2556 พบว่า มีปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด ของประชากรไทย ประมาณ ร้อยละ 32 และการศึกษาภาระโรคและ การบาดเจ็บ ปีพ.ศ.2556 พบว่า โรคซึมเศร้าและโรคจิตเภท เป็น 1 ใน 10 อันดับแรกของการสูญเสียปีสุขภาวะจากการเจ็บป่วยและ ความพิการทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่พวกเขาเหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือ น้อยมากส่วนมากเป็นผู้ที่มีปัญหารุนแรงและอาจได้รับการรักษาไม่เพียงพอ

การปฐมพยาบาลด้านสุขภาพจิตเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต หรืออยู่ในภาวะวิกฤตสุขภาพจิต โรคทางกายและอุบัติเหตุ ประชาชนได้รับการช่วย เหลือเบื้องต้น และ สามารถส่งต่อความช่วยเหลือและทำให้รอดชีวิตได้มาก แต่การช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตก็ยังมีข้อจำกัด เพราะความไม่รู้ การตีตรา และการกีดกัน ด้านสุขภาพจิต ไม่ใช่การสอนให้สามารถวินิจฉัยโรคหรือเป็นผู้รักษา แต่เป็นการสอนให้ตระหนักถึงอาการ ของปัญหาสุขภาพจิตรวมทั้งแต่ละชนิด วิกฤต สุขภาพจิต วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น

ปัจจุบันสังคมยังคงมีอคติกับผู้ป่วยจิตเวช และเมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยจิตเวชได้ก่อเหตุรุนแรงปรากฏเป็นข่าวครึกโครม ก็ยิ่งทำให้สังคมเกิดความกลัว ความหวาดระแวง และความเกลียดชัง ตอกย้ำ ตราบาป ลดคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกเขาให้น้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งในความเป็นจริง ผู้ป่วยจิตเวชสามารถรักษาให้หายและกลับคืนสู่สังคมได้จริง สามารถใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกับคนปกติทั่วไป ยิ่งเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ ได้เร็วเท่าไร ยิ่งดี

ด้าน นายแพทย์นพดล วาณิชฤดี รักษาการผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาได้กล่าวว่าในปีงบประมาณ2559 (ตุลาคม2558-กันยายน2559) มีผู้ป่วยจิตเวชเข้ารับการรักษาที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยาโดยจัดลำดับโรคไว้ดังนี้คือ (1.) โรคจิตเภท(Schizophrenia) ร้อยละ 51.04 (2.) โรคซึมเศร้า(Depressive episode) ร้อยละ10.13 (3.)โรคความผิดปกติทางอารมณ์(Bipolar affective disorder) ร้อยละ7.16 (4.)โรควิตกกังวลอื่นๆ(Anxiety disorders) ร้อยละ 6.07 (5.) โรคจิตที่มีความผิดปกติทางอารมณ์(Schizoaffective disorders) ร้อยละ 3.35 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคจิตที่เกิดจากการใช้สารเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท (Mental and behavioural disorders due to use of other stimulants, including caffeine) พบร้อยละ 1.89 และผู้ป่วยโรคจิตจากการดื่มแอลกอฮอล์ ประสาท (Mental and behavioural disorders due to use of alcohol) พบร้อยละ 1.85

ปัญหาการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิตและจิตเวชรวมไปถึงภาวะวิกฤตด้านจิตใจ เป็นปัญหาสำคัญหากได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงที โดยครอบครัว ชุมชน สังคมและบุคคลใกล้ชิดก็จะสามารถช่วยให้ผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านี้ได้รับการดูแลช่วยเหลือที่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้บุคคลเหล่าได้ผ่านพ้นวิกฤตไปได้และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีในสังคม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ