การดูงานในครั้งนี้ประกอบด้วย
1. โครงการ Koshigaya Lake Town ซึ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยวราคาแพง
2. โครงการ Misawa Park Tokyo ซึ่งเป็นโรงงานผลิตบ้านเดี่ยวสำเร็จรูปราคาแพง)
3. Courtyard Hiroo เป็นโครงการการปรับปรุงอาคารชุดเดิมให้มีสภาพใหม่และดี
4. โครงการ MODI ซึ่งเป็นการปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ให้มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่
5. โครงการ Fujisawa SST ซึ่งเป็นเมืองที่พึ่งตนเองได้ (Sustainable)
6. โครงการ Kamakura Ancient Town ซึ่งเป็นการบูรณะเขตเมืองเก่า
7. งานมหกรรมที่อยู่อาศัย Tokyo Big Sight ซึ่งมีนวัตกรรมอสังหาริมทรัพย์มานำเสนอเป็นจำนวนมาก
8. การดูงานโครงการบริหารการก่อสร้าง Mehio
9. ศูนย์นิทรรศการ LIXIL สุขภัณฑ์แบบนวัตกรรมนานาชนิด
การดูงานที่ ดร.โสภณ นำคณะไปนี้ เป็นการดูงานแบบเต็มที่ (ไม่มีเวลาไปเที่ยว ยกเว้นไปในช่วงค่ำตามอัธยาศัย) เพื่อให้ได้ประโยชน์จริงแก่ผู้เข้าร่วม
ดร.โสภณ มีแนวทางการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมที่น่าสนใจ ที่ไม่ใช่ไป "ไถ" เงินคนอื่นมาทำดี หรือไม่ได้ใช้อภิสิทธิ์จากเครือข่ายใดมาทำดี ดร.โสภณ ก่อตั้งมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทยนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2544 เพื่อมุ่งหวังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ให้ความรู้แก่ประชาชนด้วยคติที่ว่า Knowledge Is Not Private Property หรือ ความรู้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของใคร ควรได้รับการแบ่งปัน จนบัดนี้มูลนิธิถือเป็นองค์กรด้านอสังหาริมทรัพย์ที่มีกิจกรรมมากที่สุด
การก่อตั้งมูลนิธินี้ ดร.โสภณ ใช้เงินสดส่วนตัว 200,000 บาทเพื่อบริจาคตามกฎหมาย และขณะนี้มีเงินทุนเพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ประมาณ 2 ล้านบาทแล้ว เงินจำนวนนี้ ดร.โสภณ ไม่ได้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปเที่ยว "ไถ" ลูกน้องหรือคหบดีในนามการกุศลแต่อย่างใด แต่ได้มาจากการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ เช่นการจัดดูงานอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
สิ่งที่มูลนิธิดำเนินการจนถือเป็นองค์กรที่มีความคึกคักที่สุด เช่น
1. การจัดเสวนาวิชาการรายเดือนติดต่อกันทุกเดือนมา 166 ครั้ง (นับถึงเดือนพฤษภาคม 2559) โดยสมาชิกเข้าร่วมโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทุกคนในสังคมสามารถ Download เอกสารประกอบย้อนหลังได้ทุกครั้งโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Professional Development หรือ CPD Program) สำหรับนักวิชาชีพได้อีกด้วย
2. การจัดพิมพ์วารสารราย 2 เดือนติดต่อกันมา 12 ปีติดต่อกัน โดยมียอดพิมพ์ครั้งละ 5,000 เล่ม แจกจ่ายไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศโดยไม่คิดมูลค่า ทุกคนในสังคมสามารถ Download วารสารสี่สีรูปสวยงามได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ฉบับพิมพ์จริงพิมพ์เพียงสีเดียวเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
3. การจัดประกวดเรียงความ ครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 5 (2556) ชิงโล่รางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง "อย่าซื้อที่ดิน สปก.4-01 ภบท.5 ผิดกฎหมายและทำลายป่า" การจัดประกวดเรียงความแต่ละครั้งใช้จ่ายเงินประมาณ 400,000 บาท เพื่อรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาต่าง ๆ
4. การจัดดูงานอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศเพื่อเปิดวิสัยทัศน์สากล โดย ดร.โสภณ ซึ่งเคยเป็นที่ปรึกษาขององค์การสหประชาชาติ ธนาคารโลก และอื่น ๆ และเป็นกรรมการสมาคมอสังหาริมทรัพย์ระดับนานาชาติ จึงคุ้นเคยกับหน่วยงานทั่วโลก สามารถติดต่อดูงานทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาและออสเตรเลีย ทำให้ผู้ไปดูงานได้ประโยชน์อย่างลึกซึ้ง ทั้งนี้รายได้จากการนี้ ดร.โสภณ ยกให้กับมูลนิธิทั้งหมด โดยตัวเองเป็นผู้ร่วมออกเงิน-แรงด้วย
ทำไม ดร.โสภณ จึงสามารถสร้างเงินทุนให้มูลนิธิได้ถึง 2 ล้านบาท เงินเหล่านี้มาจากการบริจาคด้วย แต่ส่วนสำคัญมาจาก ดร.โสภณ เช่นในกรณีการเสวนาวิชาการทุกเดือน ซึ่งส่วนมากจัด ณ ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส นั้น ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ค่าประสานงาน และสถานที่ ดร.โสภณ เป็นผู้จ่าย แต่เงินบริจาคทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย ยกให้มูลนิธิ
และด้วยมูลนิธิบำเพ็ญประโยชน์อยู่เนือง ๆ จึงมีผู้สนับสนุนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บุคคลที่มีชื่อเสียงและสมาชิกที่สนใจจึงเมตตามาร่วมเป็นคณะกรรมการมูลนิธิ แม้แต่ตำแหน่งประธานกรรมการ ดร.โสภณ ก็เชิญศาสตราภิชานกิตติ พัฒนพงศ์พิบูล เป็นประธานแทน และตำแหน่งต่าง ๆ ในคณะกรรมการก็จะมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทุก 1-2 ปี มูลนิธิไม่ได้รับเงินหรือประโยชน์ใด ๆ จากกรรมการ และกรรมการก็อาสามาช่วยงานโดยไม่ได้มาแสวงหาประโยชน์ใด การบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการตั้งมูลนิธินี้ ดร.โสภณ ตั้งใจให้เห็นว่า ขนาดคน ๆ เดียวยังทำงานเพื่อสังคมได้มากมาย หากทุกคนในวงการร่วมกันดำเนินการ ก็คงสร้างประโยชน์ได้เป็นอเนกอนันต์ การทำดีแบบนี้ก็ส่งผลดีต่อธุรกิจบริการวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินและวิจัยอสังหาริมทรัพย์ในทางอ้อมด้วยความศรัทธาในการทำดีของ ดร.โสภณ เป็นสำคัญ
การทำดีแบบนี้ ทำด้วยความบริสุทธิ์ เงินทุนไม่ได้เปื้อนสิ่งใดมา ไม่สงวนสิทธิ์การลอกเลียนแบบ และหวังให้มีการทำดีที่ดีกว่านี้อีกเพื่อสังคมที่ดียิ่งขึ้น หากมีโอกาสขอเชิญร่วมทำดีกับเรานะครับ
อ้างอิง: AREA แถลง ฉบับที่ 180/2559: วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2559
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย ([email protected]) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน