สร้างเขื่อนแม่วงก์เลย ตรงนั้นเป็นแค่ป่าเสื่อมโทรม

จันทร์ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๖ ๑๑:๕๑
หลายท่านเข้าใจผิดว่าบริเวณที่จะสร้างเขื่อนแม่วงก์เป็นป่าดงดิบทั้งที่เป็นแค่ป่าเสื่อมโทรมที่พยายามปลูกป่ากันใหญ่เพื่อให้แลดูมีต้นไม้หนาทึบ แต่ความจริงมีแต่ต้นไม้เล็ก ๆ เป็นหลัก ที่สำคัญเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน 200-300 ครัวเรือน ที่ย้ายออกมาด้านนอกเพื่อเตรียมสร้างเขื่อนเมื่อ 30 ปีก่อนแล้ว

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ได้ลงพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ และบริเวณอื่นหลายครั้งแล้ว เพื่อสำรวจสภาพที่เป็นจริง ได้ข้อมูลที่สาธารณชนอาจไม่ทราบ และได้นำมาเปิดเผยไว้ ดังนี้

1. สภาพป่า บริเวณแก่งลานนกยูง เป็นป่าโปรงที่ฟื้นฟูในห้วงระยะ 5-20 ปีที่ผ่านมา หลังจากความพยายามในการก่อสร้างเขื่อนตั้งแต่ พ.ศ.2525 ไม่บรรลุผล ทั้งนี้แต่เดิมบริเวณดังกล่าวนี้ เคยมีชาวบ้านเผ่ากระเหรี่ยง และชาวไทย อยู่อาศัยอยู่ 200-300 ครัวเรือน ดังนั้นป่าในพื้นที่นี้จึงถูกทำลายไปมาก และเพิ่งฟื้นฟูในภายหลังจริง ไม่ใช่ป่าดงดิบแต่อย่างใด การที่บางฝ่ายพยายามอ้างความสมบูรณ์ของป่า ก็เพื่อต่อต้านการสร้างเขื่อนเป็นสำคัญ บางคนนำภาพจากยอดเขาโมโกจู ซึ่งต้องเดินไปกลับ 5 วัน มาแสดง ซึ่งยอดเขาดังกล่าวและผืนป่าที่หนาแน่นเหมือนบร็อคโครี่ อยู่คนละบริเวณกับที่สร้างเขื่อน

2. ไฟป่าเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติและที่สำคัญเกิดจากน้ำมือของมนุษย์เพื่อจับสัตว์ป่าบ้าง หรือเพื่อให้เกิดเห็ดสดบ้าง กรณีเช่นนี้ทางราชการคงมีข้าราชการหรือลูกจ้างจำกัด ทำให้เกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง และเกิดขึ้นต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากมีเขื่อน ก็ย่อมมีน้ำมากเพียงพอที่จะใช้ดับไฟป่า การก่อสร้างเขื่อนจึงช่วยดับไฟป่าได้เพราะมีน้ำท่าเพียงพอนั่นเอง ยิ่งกว่านั้นการมีน้ำกักเก็บไว้มาก ยังทำให้บริเวณโดยรอบชุ่มชื้น โอกาสเกิดไฟป่าจึงมีน้อยลง

3. นกยูงและสัตว์ต่าง ๆ เช่น เนตรทราย กระจง ไก่ฟ้า กวาง แต่เดิมไม่มีหรือในสมัยโบราณอาจมี แต่หายไปนานแล้ว มาเมื่อ 5 ปีก่อน ทางราชการได้นำมาเลี้ยงไว้ในพื้นที่นี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชม แรก ๆ อยู่ในกรง แต่ต่อมาก็ปล่อยให้หากินอิสระ และที่แพร่พันธุ์อยู่ในพื้นที่นี้มากที่สุดก็คือนกยูง เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อแก่งลานนกยูง นกยูงเหล่านี้แรกๆ ยังถูกสุนัขกัดเสียชีวิตไปบ้าง แต่ต่อมาก็แพร่พันธุ์จนถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่นี้ไปแล้ว

4. เรื่องวัฒนธรรมต่าง ๆ ก็เป็นเรื่องที่สร้างขึ้นโดยไม่มีพื้นฐานความเป็นจริง เป็นการหลอกใช้ความน่ารัก น่าสงสารของคน สัตว์ สิ่งของมาให้เราหลงเชื่อ การสร้างเขื่อนในหลายที่ อาจต้องโยกย้ายคน หรือชุมชน เช่น ในสมัยสร้างเขื่อนสิริกิติ์ (อุตรดิตถ์) และเขื่อนวชิราลงกรณ์ (กาญจนบุรี) แม้แต่วัดก็ยังย้ายและกลายเป็นเมืองใต้บาดาล แต่วัฒนธรรมต่าง ๆ ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้สูญหายไปไหน คนจีนกระจายไปอยู่ทั่วโลก วัฒนธรรมต่างๆ ก็ยังคงอยู่

5. เรื่องเสือก็เป็นเรื่องปั้นแต่ง ที่ผ่านมามักมีข่าวว่าพบเสือในป่าแม่วงก์ เช่นล่าสุดกันยายน 2557 ก็มีข่าว "เสือโคร่งจากกล้องดักถ่ายอัตโนมัติ ณ ผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน" โดยในภาพ เสือก็อยู่บนภูเขาสูง คลองลานเป็นคนละที่ ไม่ใช่ที่ตั้งเขื่อนแม่วงก์แน่นอน จะสังเกตได้ว่าการโกหกสร้างภาพมีเป็นระยะๆ ความจริงคือจุดที่สร้างเขื่อนเป็นชายขอบป่า เสือคงไม่มา แต่ก็เคยมีการพบรอยเท้าเสือแต่อยู่ห่างไกลออกไป ที่สำคัญบริเวณนี้เป็นพื้นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวบ้านและยังมีรีสอร์ตมากมาย มีจุดกางเต้นท์ ซึ่งแสดงว่าไม่มีเสือจริง และจากประสบการณ์ในที่อื่น หากพบมีเสือ ก็จะถูกไล่ล่าจนได้ เพราะเป็นอันตรายต่อชาวบ้านทั่วไป {12} อย่าลืมว่าที่สร้างเขื่อนมีขนาดเพียง 0.1% หรือ 1 ใน 1,000 ของผืนป่าตะวันตก (แม่วงก์-คลองลาน) ขนาดเพียง 2 เท่าของเขตสาทร เขตที่เล็กที่สุดเขตหนึ่งของกรุงเทพมหานครได้อย่างไร เสือคงไปอยู่ในพื้นที่ 99.9% ของผืนป่าลึกมากกว่า (http://bit.ly/1VZab1S)

6. พวกค้านเขื่อนแม่วงก์ก็เตะถ่วงยื้อเวลาไปเรื่อย มีการตั้งแง่เสนอให้ไปศึกษาใหม่ไม่จบสิ้น เช่นให้ไปศึกษาทางเลือกพื้นที่อื่น (พ.ศ.2537) ให้ทำประชาพิจารณ์ (พ.ศ.2541) ให้ศึกษาการจัดการลุ่มน้ำ (พ.ศ.2546) เป็นต้น เขื่อนก็ไม่ได้สร้างสักที ต้นไม้ก็เติบโตขึ้นทุกวันเพื่อให้ฝ่ายต้านเขื่อนมีข้ออ้างเพิ่มขึ้นอีก ถ้าสร้างเขื่อนแต่แรกก็คงไม่มีข้ออ้างเรื่องป่านี้

7. อ้างประชาชนไม่เอาเขื่อน ทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ 79% ต้องการเขื่อน ที่ไม่ต้องการคงเป็นประชาชนในที่อื่น ยิ่งหากถามชาวไร่ชาวนา จะพบว่าแทบ 100% ต้องการเขื่อน ทั้งนี้เพราะเขาสรุปจากประสบการณ์ตรงในการทำการเกษตรกรรมของพวกเขา บางคนไพล่บอกว่า จะสร้างเขื่อนต้องถามชาวบ้านที่อื่นก่อน แล้วอย่างนี้จะสร้างทางด่วน รถไฟฟ้าใน กทม. ต้องถามชาวสตูล มุกดาหาร ตราดหรือไม่ เราต้องฟังเสียงประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

เขื่อนแม่วงก์จึงจะมีประโยชน์เอนกอนันต์ต่อทั้งสัตว์ป่า ป่าไม้และประชาชนคนเล็กคนน้อย ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน การลงพื้นที่สำรวจข้อมูลโดยไม่ยึดติดกับฉันทาคติที่ต้องการปกป้องผืนป่าโดยไม่อิงกับความจำเป็นที่แท้ อาจไม่ได้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้ ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้สนใจจึงควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบหลายด้าน เพื่อไม่ให้ถูกนักต้านเขื่อนลวง

รูปนี้ปลอมแน่นอน เสือตัวเล็กขนาดนี้ จะเดินมาในพื้นที่สร้างเขื่อนที่มีคนอยู่โดยรอบได้อย่างไร คงถ่ายจากป่าลึกแล้ว

"โมเม" ว่าอยู่ในพื้นที่สร้างเขื่อน ซึ่งไม่เคยพบแม้แต่รอยเท้าเสือเลย

หลักฐานมัดแน่น เอานกยูงมาปล่อยเมื่อ 6 ปีก่อน ลวงโลกให้คนเข้าใจผิดว่าแก่งลานนกยูงมีนกยูงธรรมชาติ

เพื่อขวางการสร้างเขื่อนhttp://goo.gl/OFsP8B

อ้างอิง: AREA แถลง ฉบับที่ 76/2559: วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559

ผู้แถลง:

ดร.โสภณ พรโชคชัย ([email protected]) ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ