โดยในปีนี้โครงการ Design Service Society เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ให้บริการออกแบบรุ่นใหม่เข้าร่วมอบรมกลยุทธ์การออกแบบกับการสร้างนวัตกรรมธุรกิจ ตลอดจนเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา การศึกษาผู้บริโภค รวมไปถึงกระบวนการคิดออกแบบ การบริหารธุรกิจและแบรนด์บริการออกแบบ เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการอบรมก้าวสู่การเป็นผู้ให้บริการออกแบบมืออาชีพ ซึ่งหลังจบการอบรมก็ได้ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการออกแบบอย่างครบวงจรกับผู้ประกอบการ นักธุรกิจ เจ้าของแบรนด์ต่างๆ ที่อยากนำการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ภายในโซน Creative Thailand ของงาน Thailand BIG+BIH 2016 ระหว่างวันที่ 19-23 ตุลาคม 2559 ณ ไบเทค บางนา
"เราสนับสนุนเรื่องดีไซน์มา 20 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันเราเน้น Design Thinking คือการคิดทั้งกระบวนการผลิต การทำการตลาด ทุกเรื่องของงานดีไซน์ ภาคธุรกิจกำลังต้องการคนที่จะให้บริการด้านการออกแบบเพื่อทำให้ธุรกิจหรือบริการของเขามีความแปลกใหม่น่าสนใจ ปัจจุบันตลาดเปลี่ยนไป คนเลือกซื้อสินค้าด้วยอารมณ์ คิดก่อนเลยว่าสิ่งนั้นๆจะทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นอย่างไร รัฐพยายามให้ผู้ประกอบการก้าวกระโดดออกจากกับดักรายได้ปานกลาง เพราะแนวคิดของผู้ประกอบการ SMEs นั้นคิดแค่จะผลิตและหาช่องทางส่งออกเท่านั้น แต่พอเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 หรือยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์แล้ว เรามีช่องทางการจำหน่ายเยอะมาก มีกลุ่ม Start Up ที่จะมาช่วยในเรื่องการขนส่งมากมาย จำหน่ายออนไลน์ก็ได้ ไม่เป็นต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง แค่หาคนมาช่วยจัดการให้ก็พอ หน้าที่ของผู้ประกอบการจริงๆคือ การหา story ของสินค้า หาดีไซน์ใหม่ๆ มากกว่า สรุปได้ว่า Design Thinking คืออนาคตของอุตสาหกรรมไทย ภาครัฐสนับสนุนให้ผู้ที่ให้บริการด้านการออกแบบ ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้กับสินค้า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้สินค้า สร้างรายได้เกินคำว่าปานกลาง" ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่ กล่าวเพิ่มเติม
ผศ.ดร.โชคอนันต์ ยังได้แนะนำเคล็ดลับการก้าวข้ามขีดจำกัดของสินค้าหรือบริการแบบเดิมๆ ว่าจะต้องนำเสนอความหลากหลายของสินค้า, มองหาความเป็นไปได้ในอนาคตหรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ, เสริมสไตล์ให้กับสินค้าต้องออกแบบให้สินค้ามีสไตล์ไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่นๆ มีความโดดเด่นสร้างการจดจำ, เพิ่มประสบการณ์ความประทับใจให้ผู้บริโภค และการลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่า ส่วนกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์หรือ Design Creative Process จะต้องเริ่มจากการสำรวจและค้นคว้าข้อมูล เช่น ผู้ใช้ เทรนด์ผู้บริโภค เทคโนโลยี ตลาดตลอดจนคู่แข่ง ขั้นตอนที่สองคือการวิเคราะห์และถอดรหัส เพื่อค้นหาปัญหา ทำความเข้าใจและสร้างมุมมองสร้างสรรค์ ขั้นที่สามต้องสร้างโจทย์และกรอบแนวคิด ขั้นตอนที่สี่ การทดลองและถ่ายทอด ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจทำซ้ำหลายครั้งเพื่อให้ผลงานการออกแบบตอบโจทย์มากที่สุด ขั้นตอนสุดท้ายคือ การทำต้นแบบเพื่อจำลองและประเมิน ก่อนจะไปสู่การผลิตและจำหน่าย
นอกจากนั้นภายในบูธกิจกรรมของ Design Service Society ยังมีนิทรรศการทันสมัยในรูปแบบ AR หรือ Augmented Reality เป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ ,Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งทำให้ภาพที่เห็นในจอเป็นภาพ 3 มิติ มีมุมมอง 360 องศา โดยนำเสนอเรื่องดีไซน์ 4.0s มุ่งหวังปั้นนักสร้างสรรค์คุณค่าธุรกิจหรือผู้ให้บริการออกแบบรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านบริการออกแบบของอาเซียนนั่นเอง
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมของสมาคมนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ที่ www.idsocietythailand.org