กกพ. ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกการรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรม

จันทร์ ๓๑ ตุลาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๑๖
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยถึงผลการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนปี 2558 – 2562 ที่มีเป้าหมายการรับซื้อและกำลังการผลิตติดตั้งจำนวนไม่เกิน 50 เมกะวัตต์ ว่า ภายหลังจากที่เริ่มมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้ามาตั้งแต่วันที่ 22 – 28 กันยายน 2559 มียอดผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 26 ราย คิดเป็นปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งกว่า 200 เมกะวัตต์ โดยหลังจากปิดรับยื่นข้อเสนอแล้ว และได้มีการพิจารณาคุณสมบัติและประเมินคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า โดยคณะอนุกรรมการที่มาจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ กกพ. แต่งตั้งขึ้นมา ซึ่งได้ตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้า ตามที่ กกพ. ได้กำหนดไว้ สรุปผลได้ว่า มีโครงการจำนวน 7 โครงการ ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติและประเมินคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า และเป็นผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า

โครงการที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 7 โครงการ ได้แก่ บริษัท พีจี แอนด์ ซี 5714 จำกัด ปริมาณเสนอขาย 2.5 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 3 เมกะวัตต์ , บริษัท ชลบุรี คลีน เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณเสนอขาย 6.9 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง8.630 เมกะวัตต์ , บริษัท ศแบงยั่งยืน พิจิตร จำกัด ปริมาณเสนอขาย 1.88 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 2 เมกะวัตต์ , บริษัท โปรเกรส อินเตอร์เคม (ประเทศไทย) จำกัด ปริมาณเสนอขาย 4 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 4.8 เมกะวัตต์ , บริษัท เอวา แกรนด์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ปริมาณเสนอขาย 3 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 6 เมกะวัตต์ , บริษัท รีคัฟเวอรี่ เฮ้าส์ จำกัด ปริมาณเสนอขาย5.5 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 9.4 เมกะวัตต์ และบริษัท อนุรักษ์พลังงานซิเมนต์ไทย จำกัด ปริมาณเสนอขาย 7 เมกะวัตต์ กำลังการผลิตติดตั้ง 8 เมกะวัตต์ ซึ่งมีปริมาณเสนอขายรวมทั้งสิ้นจำนวน 30.78 เมกะวัตต์ และปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้นจำนวน41.83 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ โฆษก กกพ. ได้ย้ำว่า ภายหลังจากการประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ห้ามไม่ให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเปลี่ยนแปลงจุดรับซื้อไฟฟ้าหรือจุดเชื่อมโยงไฟฟ้า (Feeder) ประเภทเชื้อเพลิง(ขยะอุตสาหกรรม) และขนาดกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกินกว่าที่ประกาศ รวมถึงห้ามใช้ขยะชุมชนและถ่านหินในโครงการ ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องดำเนินการเตรียมเอกสารต่างๆ ในการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อาทิ ต้องได้รับความเห็นชอบรายงานประเมผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวของตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice : CoP) และโครงการต้องผ่านการทำประชาคม โดยรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า พ.ศ. 2559 โดยจะต้องดำเนินการลงนามภายใน 120 วัน หรือภายในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 โดย กกพ. ขอให้ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเร่งดำเนินการตามกรอบเวลา เพื่อไม่ให้กระทบกับวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ภายในเดือนธันวาคม 2562

สำหรับรายชื่อโครงการที่ผ่านการคัดเลือกสามารถดูข้อมูลรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. www.erc.or.th หรือสามารถสอบถามได้ที่ Call Center โทร. 1204

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ