“น้ำบาดาล” เร่งปิดโครงการปี 2559 ให้แล้วเสร็จปลายปี พร้อมเดินหน้าแผนปี 2560 ตั้งเป้าเบิกจ่าย 30% ไตรมาสแรก

พฤหัส ๒๙ กันยายน ๒๐๑๖ ๑๒:๕๔
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลแถลงผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2559 เร่งปิดโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2559 และเดินหน้าตามแผนงานปีงบประมาณ 2560 โดยตั้งเป้าเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ร้อยละ 30 ภายในไตรมาสแรก

นายวรศาสน์ อภัยพงษ์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ศึกษาและประเมินศักยภาพน้ำบาดาลในประเทศไทย พบว่า มีปริมาณน้ำบาดาลกักเก็บ 1.0 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณการเพิ่มเติมอยู่ที่ 95,613 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และสามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ 71,700 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยปัจจุบันมีการใช้น้ำบาดาลรวมทั้งสิ้น 15,460 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แบ่งเป็น อุปโภคบริโภค 2,480 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรกรรม 2,580 ล้านลูกบาศก์เมตร อุตสาหกรรม 400 ล้านลูกบาศก์เมตร และบ่อน้ำตื้น 10,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ บ่อน้ำบาดาล ทั่วประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 250,000 บ่อ แบ่งเป็นบ่อราชการ 200,000 บ่อ และบ่อเอกชน 50,000 บ่อ ส่วนบ่อตอกและบ่อน้ำตื้นซึ่งเป็นบ่อน้ำบาดาลขนาดเล็กที่ใช้เพื่อการเกษตรมีอีกประมาณ 800,000 บ่อ

ปีงบประมาณ 2559 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาล รวมทั้งสิ้น 3,655 ล้านบาท โดยมีแผนงานโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรให้กับประชาชนในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้สามารถดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลไปแล้ว จำนวน 5,298 บ่อ จากทั้งหมด 6,922 บ่อ มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแล้ว จำนวน 3,763 เครื่อง และจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทั้งหมดทุกโครงการภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2559 ประกอบด้วยโครงการหลัก ดังนี้

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างพอเพียงตลอดฤดูแล้ง มีเป้าหมายดำเนินการปี 2558-2565 รวมทั้งสิ้น 11,060 แห่ง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีครัวเรือนได้รับประโยชน์รวม 2.2 ล้านครัวเรือน ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้รับ 388 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยปี 2558 ดำเนินการไปแล้ว 683 แห่ง ปี 2559 ได้รับงบประมาณ 2,182 ล้านบาท มีแผนดำเนินการ 2,728 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาล เสร็จแล้ว 1,928 บ่อ

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ช่วยให้นักเรียนและบุคคลากรในโรงเรียน รวมถึงบุคลากรในพื้นที่มีน้ำดื่มสะอาดมาตรฐานองค์การอนามัยโลก และเป็นจุดให้บริการน้ำอุปโภคบริโภคในช่วงที่เกิดพิบัติภัยธรรมชาติได้อีกด้วย มีเป้าหมายดำเนินการปี 2558-2565 รวมทั้งสิ้น 6,132 แห่ง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 1 ล้าน ครัวเรือน ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้รับ 215 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยปี 2558 ดำเนินการไปแล้ว 700 แห่ง ปี 2559 ได้รับงบประมาณ 742 ล้านบาท มีแผนดำเนินการ 688 แห่ง มี 2 รูปแบบ คือ เพื่อรองรับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 300 คนขึ้นไป จำนวน 200 แห่ง และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 100 คน จำนวน 488 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลเสร็จแล้ว 629 บ่อ

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงให้มีแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชผักในการเลี้ยงชีพและประกอบอาชีพ ช่วยให้คนในพื้นที่มีงานทำ สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยบรรเทาปัญหาการละทิ้ง ถิ่นฐานไปหางานทำในเมืองใหญ่ มีเป้าหมายดำเนินการปี 2558-2565 รวมทั้งสิ้น 18,559 แห่ง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์กว่า 1 ล้านไร่ ปริมาณน้ำที่คาดว่าจะได้รับ 388 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โดยปี 2558 ดำเนินการไปแล้ว 2,176 แห่ง ปี 2559 ได้รับงบประมาณ 1,241 ล้านบาท มีแผนดำเนินการ 3,473 แห่ง มี 2 รูปแบบ คือ พื้นที่ขนาด 100 ไร่ จำนวน 33 แห่ง และพื้นที่ขนาด 50 ไร่ จำนวน 3,440 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการเจาะบ่อน้ำบาดาลเสร็จแล้ว 2,741 บ่อ

สำหรับปีงบประมาณ 2560 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,845 ล้านบาท มีโครงการสำคัญที่ดำเนินการต่อยอดจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และขยายพื้นที่ดำเนินการให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น ดังนี้

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จำนวน 1,500 แห่ง แห่งละ 240,000 บาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 360 ล้านบาท

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ 688 แห่ง งบประมาณทั้งสิ้น 742 ล้านบาท มี 2 รูปแบบ คือ เพื่อรองรับโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนมากกว่า 300 คนขึ้นไป จำนวน 200 แห่ง แห่งละ 1,385,000 บาท และโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อยกว่า 100 คน จำนวน 488 แห่ง แห่งละ 953,000 บาท

- โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง 1,700 แห่ง งบประมาณทั้งสิ้น 777 ล้านบาท มี 3 รูปแบบ คือ พื้นที่ขนาด 100 ไร่ จำนวน 50 แห่ง แห่งละ 2,507,500 บาท พื้นที่ขนาด 50 ไร่ จำนวน 1,590 แห่ง แห่งละ 335,300 บาท และพื้นที่ขนาด 80 ไร่ จำนวน 60 แห่ง แห่งละ 1,987,800 บาท

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลกล่าวต่อไปว่า เนื่องจากปีงบประมาณ 2559 เป็นปีที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วและช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ด้วยศักยภาพของบุคลากรและเครื่องจักรอุปกรณ์ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลที่มีอยู่ แม้ไม่สามารถดำเนินการตอบสนองได้ทันตามความต้องการของประชาชนในทุกพื้นที่ แต่กรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็จะเร่งดำเนินการ ให้แล้วเสร็จทุกโครงการตามแผนงานที่กำหนดไว้ เพื่อส่งมอบให้ชุมชนหรือเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2560 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้เตรียมความพร้อมมากยิ่งขึ้น โดยจะดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้ได้ ร้อยละ 30 ก่อนสิ้นไตรมาสแรก ซึ่งจะทำให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลสามารถดำเนินโครงการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการของประชาชนก่อนปัญหาภัยแล้งฤดูกาลต่อไปจะมาเยือน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ