"ตัวแทนเกษตรกรชาวสวนยาง เข้ามาทำหน้าที่เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางกับ กยท. และเป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรใดสถาบันหนึ่งที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. เช่นกัน ตาม พรบ.กยท.ที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีการผลิต แปรรูป ที่ได้มาตรฐานตามหลักสากล รวมถึงการสนับสนุนผู้นำเครือข่ายฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยางพารา การนำเทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาพัฒนาการดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่า โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม แปรรูปผลผลิตยางสู่อุตสาหกรรมเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ และสามารถทำธุรกิจการค้ายางและเชื่อมโยงธุรกิจถึงระดับส่งออกต่างประเทศได้" ผู้ว่าการ กยท. กล่าวย้ำ ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ขณะนี้ ผู้แทนฯ ที่ผ่านการคัดเลือกระดับสาขาและจังหวัดแล้ว จะต้องเตรียมตัวในการ คัดเลือกเป็นผู้แทนฯ ระดับเขต ในระหว่างวันที่ 4 พ.ย. 2559 - 29 พ.ย. 2559 โดยจะจัดเวียนไปตามจังหวัดที่ตั้งของเขต กยท. ประกอบด้วย เขตภาคเหนือ จำนวน 16 คน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 12 คน เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 12 คน เขตภาคกลางและภาคตะวันออก จำนวน 9 คน เขตภาคใต้ตอนบน จำนวน 12 คน เขตภาคใต้ตอนกลาง จำนวน 22 คน เขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 23 คน จากนั้น ในผู้แทนระดับเขต จะมีการการคัดเลือก ให้เหลือเขตละ 3 คน เพื่อมาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศต่อไป
- พ.ย. ๒๕๖๗ กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่นนำกลุ่มเกษตรสวนยางเยี่ยมชม IRPC และสวนตัวอย่าง
- พ.ย. ๗๓๐๔ รองปลัด กษ. ร่วมประชุมและอภิปราย โครงการสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนให้กับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
- พ.ย. ๒๕๖๗ กยท. ขยายเวลาชำระหนี้ 6 เดือน ช่วยเหลือเกษตรกร/สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง เริ่ม 1 มี.ค. นี้