ไบโอเฟ๊ปส์ หนึ่งในหลักสูตรเทคโนโลยีในอนาคต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อังคาร ๐๘ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๔:๓๐
รศ.ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกไม่ว่าจะด้วยฝีมือมนุษย์หรือธรรมชาติก็ตาม ทำให้แนวโน้มด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปในทางการพัฒนาเพื่อช่วยรักษาชีวิตมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายว่าจะทำอย่างไรให้มนุษย์อยู่รอดได้ท่ามกลางภัยธรรมชาติต่างๆ ที่นับวันจะมีมากขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในด้านของวิศวกรรมก็มีแนวทางการเรียนการสอนการวิจัยและพัฒนาที่คำนึงถึงความอยู่รอดมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ทุกเหตุการณ์ความเปลี่ยนแปลงและภัยพิบัติทั้งจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นภาพใหญ่ที่ มจธ.มองว่าเป็นโอกาสในการสอนให้นักศึกษาคิดและผลิตผลงานวิศวกรรมเพื่อให้โลกของเราอยู่รอดได้เช่นกัน

"ภาควิชาวิศวกรรมเคมีเป็นภาควิชาที่นักศึกษาใหม่เลือกเข้ามาศึกษาเป็นลำดับต้นๆ เนื่องจากศาสตร์ด้านวิศวกรรมเคมี เป็นศาสตร์หลักที่สามารถขยับขยายความรู้ไปสู่งานอื่นๆ ได้มาก อาทิ ด้านพลังงาน เทคโนโลยีเชื้อเพลิง พลังงานทดแทน ด้านยารักษาโรค และด้านวิศวกรรมกระบวนการชีวเคมี เหล่านี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีเป็นพื้นฐานทั้งสิ้น"

ซึ่ง ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มจธ. เปิดหลักสูตรทักษะวิศวกรรมชีวเภสัชภัณฑ์ (Bio-Pharma Engineering Practice School) หรือที่เรียกว่า Bio-PhEPS (ไบโอเฟ๊ปส์) เป็นหลักสูตรใหม่เพื่อรองรับความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในอนาคต เป็น 1 ใน 4 หลักสูตรเทคโนโลยีในอนาคต ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) มอบหมายให้ มจธ. ดำเนินการนำร่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 มีจุดประสงค์เพื่อผลิตผู้เชี่ยวชาญเข้าสู่อุตสาหกรรม ลดต้นทุนนำเข้ายาชีววัตถุและเพิ่มมูลค่าการผลิตในประเทศ และปูทางเป็นศูนย์กลางการผลิตวัสดุชีวภาพของภูมิภาคเอเชีย โดยจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเพราะยาชีววัตถุนั้นได้จากสิ่งมีชีวิต จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต เพื่อให้ได้คุณภาพ ประสิทธิภาพและความปลอดภัยตามมาตรฐาน ซึ่งถือว่า มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้ พร้อมการเรียนการสอนในแบบ practice school ที่ มจธ. มีศักยภาพสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพมากว่า 20 ปี โดยในหลักสูตรดังกล่าว สามารถรับนักศึกษาได้ปีการศึกษาละ 15 คนเท่านั้น

"เรามองว่าอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตของประเทศไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมปิโตรเลียมหรืออุตสาหกรรมยาชีววัตถุ ในขณะที่มจธ.เป็นผู้ผลิตบัณฑิต จำเป็นต้องหยิบเอาโจทย์จากภาคอุตสาหกรรมมาช่วยแก้ไขปัญหา โดยการให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้อยู่ร่วมกับทางโรงงาน พร้อมทั้งให้เขาคิดหาวิธีการใดมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วลงมือแก้ไขปัญหาจริง ได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี มจธ.เราทำแบบนี้มากว่า 20 ปี ทำให้ มจธ.เป็น practice school ที่ดีที่สุดของประเทศ และเป็นที่ภาคภูมิใจของประชาคม"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย