ฟูจิตสึ ชูบริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ อิงค์ เป็นกรณีศึกษานวัตกรรมการทำงานยุคใหม่ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์สู่เป้าหมายของพนักงานทุกคน

พฤหัส ๑๐ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๔:๓๘
นวัตกรรมทางธุรกิจที่มีเป้าหมายในการแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์ อันนำไปสู่การสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ โดย บริษัท ฟูจิตสึ ลิมิเต็ด จำกัด ใช้กรณีศึกษาจาก บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ อิงค์ เป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ ที่มีความหลากหลายเป็นบริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งมากว่า 100 ปี ในปี 1902 เริ่มต้นจากการเป็นผู้ผลิตสารเคมีจากถ่านโค้กต่อมาได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในระยะเวลาอันรวดเร็ว และยังมีการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีการขยายธุรกิจผลิตเรซิน และผลิตภัณฑ์เคมีอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมถึง สารเคมี พื้นฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือน มิตซุย เคมิคอลส์ เริ่มต้นโปรแกรมการดำเนินการด้านนวัตกรรมทางธุรกิจที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาในสังคม โดยอิงจากกลยุทธ์ทางธุรกิจใน 3 แขนง อันได้แก่ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และสังคม โดยโปรแกรมมีการเปิดตัวในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจกลางปี 2014ของบริษัทฯ ภายใต้หลักการ "การสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ให้กับลูกค้าผ่านนวัตกรรม" ซึ่งแผนธุรกิจนี้ระบุว่า ธุรกิจอุปกรณ์เคลื่อนที่ สาธารณสุขและอาหารและบรรจุภัณฑ์ เป็น 3 ภาคส่วนหลักที่จะขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคต ผ่านการคืนประโยชน์กลับสู่สังคม เร่งการเติบโตทางด้านกำไร และการเติบโตธุรกิจในยุคถัดไป

"ผลลัพธ์ที่เรามุ่งหวังว่าจะได้รับจากนวัตกรรมเพื่อการพัฒนารูปแบบการพัฒนา คือ การทำงานร่วมกันแบบเปิดทั่วทั้งองค์กร การแบ่งปันความรู้ในหมู่พนักงาน และการทำให้บริษัทฯ ของเรากลายเป็นบริษัทที่มีความคึกคักและสดใสในการทำงาน" นาย มาซาฮารุ คูบุ กรรมการผู้จัดการเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส บริษัท บริษัท มิตซุย เคมิคอลส์ อิงค์ จำกัด กล่าว (Masaharu Kubo, Representative Director Senior Managing Executive Officer,Mitsui Chemicals, Inc.)

การใช้ฟูจิตสึเป็นตัวอย่างอ้างอิงในการดำเนินงานในแผนการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ๆ ให้กับลูกค้าของมิตซุย เคมิคอลส์ การทำให้ภาคส่วนเป้าหมายทั้งสามแข็งแกร่งขึ้นไม่ได้เป็นเพียงเป้าหมายเดียวเท่านั้น บริษัทฯ ยังมีการจัดทำโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้กับพนักงานทั้งหมดทุกคน โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ก็เพื่อยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรม

ทางธุรกิจให้กับบริษัทฯ โดยรวมโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานเริ่มต้นครั้งแรกในปลายปี 2013 ก่อนหน้าการเปิดตัวแผนธุรกิจกลางปีตามที่กล่าวข้างต้นหากพิจารณาถึงผลกระทบที่จะได้รับจากการสื่อสารที่ดีขึ้นในหมู่พนักงานทั่วทั้งมิตซุย เคมิคอลส์ กรุ๊ป จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะต้องลงทุนทั้งในส่วนเครื่องมือและพื้นที่การทำงานในออฟฟิศที่จะกระตุ้นให้พนักงานมีการสื่อสารกันมากขึ้น ดังนั้น นอกเหนือจากการนำระบบสารสนเทศใหม่มาใช้แล้ว ทางบริษัทฯ ยังต้องเริ่มใช้พื้นที่การทำงานในออฟฟิศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วยโดยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่นี้ไม่เพียงช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยเปิดโอกาสให้พนักงานในแต่ละแผนกและทีมงานมีการสื่อสารกันข้ามทีมข้ามแผนกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในการสร้างแผนดำเนินงานสำหรับเป้าหมายนี้ มิตซุยเคมิคอลส์ ได้ใช้ฟูจิตสึเป็นตัวอย่างอ้างอิงเนื่องจากสำนักงานใหญ่ของทั้งมิตซุย เคมิคอลส์ และฟูจิตสึตั้งอยู่ในตึกเดียวกัน ทั้งสองบริษัทจึงมีแปลนออฟฟิศที่เหมือนกัน

อย่างไรก็ดี ณ ขณะที่ดำเนินการโครงการนี้ ฟูจิตสึมีจำนวนพนักงานต่อชั้นมากกว่าที่มิตซุย เคมิคอลส์ ถึงร้อยละ 40 และถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น การวางแผนการไหลของคนในชั้นที่ดีจึงเปิดโอกาสให้พนักงานมีการเดินไปมาในชั้นได้อย่างลื่นไหล เพื่อไม่ให้รู้สึกอึดอัด ส่วนตัวออฟฟิศก็มีการออกแบบไม่เทอะทะและมีประสิทธิภาพโดยใช้ระบบคลาวด์และเครื่องมือการสื่อสารแบบครบวงจร (Unified Communications - UC) เข้ามาช่วยด้วย

นอกเหนือจากที่กล่าวไป มิตซุย เคมิคอลส์ ยังยอมรับแนวคิดรูปแบบการทำงานที่ฟูจิตสึนำเสนอให้ใช้ด้วย "หากพนักงานไม่ยอมเปลี่ยนวิธีการคิดของตนเอง ต่อให้มีสภาพแวดล้อมออฟฟิศใหม่ และการสื่อสารที่หลากหลายขึ้น ก็ไม่มีทางที่จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นเลย พนักงานมิตซุย เคมิคอลส์ จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ในด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานในทิศทางเดียวกันทุกคน" ฟูจิตสึได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคู่ค้าของบริษัทฯ ในด้านนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานการสร้างสรรค์รูปแบบการทำงานใหม่ร่วมกันพร้อมๆ กับมีความสนุกในการทำงานด้วย

เริ่มแรกมิตซุย เคมิคอลส์ ได้จัดเวิร์กช็อปขึ้นมา ซึ่งในเวิร์กช็อปนี้พนักงานจะได้มีโอกาสได้คิดและถกเถียงแนวคิดเกี่ยววิธีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของตนเอง โดยมีฟูจิตสึเป็นที่ปรึกษา ซึ่งทางฟูจิตสึเองแนะนำให้รวบรวมทีมงานประมาณ 40 คน โดยมีทั้งพนักงานในระดับล่างและกลางจากแต่ละแผนกในสำนักงานใหญ่มาเข้าเวิร์กช็อปเพื่ออภิปรายกันว่าพวกเขาแต่ละคนมีเป้าหมายการทำงานถึงจุดไหนและต้องการทำงานในด้วยวิธีการใดในอนาคต ซึ่งแนวความคิดของพนักงานกลุ่มนี้ช่วยกำหนดวิสัยทัศน์ที่จะบอกว่าบริษัทฯ ควรจะมีรูปแบบการทำงานหน้าตาอย่างไรภายใน 3 ปีข้างหน้า

ความพิเศษของโครงการของมิตซุย เคมิคอลส์ นี้คือ การที่ผลลัพธ์ของโครงการมีการอ้างอิงจากแนวความคิดที่ได้จากในเวิร์กช็อปดังกล่าวกว่า 400 แนวความคิด โดยพนักงานที่เข้าร่วมเวิร์กช็อปมีการถ่ายวิดีโอแสดงสถานการณ์จำลองการทำงานหลายๆ แบบ เช่นการเข้าร่วมประชุมทางออนไลน์ และการค้นหา ผู้เชี่ยวชาญในบริษัทเป็นต้น ซึ่งพนักงานในเวิร์กช็อปได้ทำกิจกรรมที่สนุกสนานพร้อมๆกับการมุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์รูปแบบการทำงานในอนาคตร่วมกันและตามรายงานของเวิร์กช็อป ระบุว่า พนักงานเหล่านี้ยังได้เพิ่มความกระตือรือร้นและความคาดหวังของพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ซึ่งในอดีตเคยรู้สึกว่าเหมือนเป็นคนนอกและไม่รู้เรื่องอะไรข้างในบริษัทเลยในการทำให้วิสัยทัศน์ที่คิดได้จากเวิร์กช็อปใช้ได้ในสถานการณ์จริงบริษัทฯ ได้เตรียมแผนงานที่ร่างรายละเอียดของนโยบายจริงที่บริษัทฯจะนำไปใช้ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จะปรับใช้จริง มิตซุย เคมิคอลส์ ได้ดำเนินการการปรับใช้เครื่องมือ UC และโครงสร้างพื้นฐานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จำเป็นต่อการให้บริการประชุมทางเว็บและการส่งข้อความ IM อย่างค่อยเป็นค่อยไปมาเรื่อยๆ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2014 ฟูจิตสึมีส่วนร่วมในโครงการนี้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตั้งแต่การจัดทำเวิร์กช็อปไปจนถึงการปรับใช้โซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่ โดยมีหน้าที่ใน 3 ส่วนหลัก อันได้แก่ การเป็นที่ปรึกษา นักออกแบบระบบ และวิศวกรรม มิตซุยเคมิคอลส์ ได้ยอมรับฟูจิตสึในด้าน การให้คำแนะนำอันยอดเยี่ยมเกี่ยวกับวิธีการรูปแบบการทำงานได้รวมบุคคลที่มีบุคลิกการทำงานที่แตกต่างกันให้มาทำงานร่วมกันได้

อนึ่ง โครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงานของมิตซุยเคมิคอลส์ เพิ่งเริ่มต้นเท่านั้น และบริษัทฯ ก็ยังจะมุ่งหน้าปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อพัฒนารูปแบบการทำงาน ผ่านการนำแนวทางการปฏิบัติงานและแผนใหม่มาใช้ เพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบการทำงานใหม่ในสำนักงาน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหม่นี้มาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version