กทม.ทยอยปิดช่องจราจรแยกลาดพร้าว 26 มิ.ย. ผู้ว่าฯ อภิรักษ์ รุดพบผู้ใช้ถนนแจกแผ่นพับแนะเลี่ยงเส้นทาง

ศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๐๕ ๐๙:๕๐
กรุงเทพฯ--24 มิ.ย.--กทม.
กทม.ประกาศปิดการจราจร 5 แยกลาดพร้าว ประเดิม 26 มิ.ย.48 ใน 2 พื้นที่คือ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และหน้าร้านจิตรโภชนา ถนนวิภาวดีรังสิต นอกนั้นทยอยปิดไปจนแล้วเสร็จ ด้านผู้ว่าฯ อภิรักษ์ รุดพบผู้ใช้ถนน แจกแผนพับแนะเลี่ยงเส้นทาง
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ผู้รับเหมาก่อสร้างสะพานข้ามแยกลาดพร้าวจะสามารถทำทางเบี่ยง ทั้งทางขาเข้าและขาออก รวมทั้งการตีเส้นจราจร การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างแล้วเสร็จภายในวันที่ 25 มิ.ย.48 นี้ หลังจากนั้นจะเริ่มการปิดช่องจราจรดำเนินการก่อสร้างต่อทันที อย่างไรก็ตามจะทยอยปิดช่องการจราจรในบางแห่งเท่านั้น ซึ่งจากเดิมได้ตกลงว่าจะทำการปิดช่องจราจรในทุกพื้นที่ที่มีการก่อสร้างพร้อมกันทั้งหมด แต่เกรงว่าจะเกิดผลกระทบการจราจรมากจึงกำหนดให้ทยอยปิดบางพื้นที่เพื่อเจาะเข็มฐานราก แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ดังนี้
พื้นที่ที่ 1 บริเวณหน้าร้านจิตรโภชนา จะปิด 2 ช่องทางจราจรด้านซ้ายก่อนในระยะแรก เพื่อศึกษาผลกระทบการจราจร ถ้าผลกระทบมีไม่มากก็จะปิด 2 ช่องขวา รวมเป็น 4 ช่อง เริ่มปิด 2 ช่องแรกในวันที่ 26 มิ.ย.48 เพื่อเร่งก่อสร้างสะพานตัวแรกข้ามแยกจากหน้าร้านจิตรโภชนามุ่งหน้าดอนเมือง ให้เปิดใช้ก่อนกำหนดประมาณ 1 เดือน เพื่อบรรเทาปัญหาจราจร และบริเวณที่จะปิดใน วันที่ 26 มิ.ย.48 อีกพื้นที่หนึ่ง คือหน้ามหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ถนนวิภาวดีรังสิตขาเข้า จะปิดช่องจราจรตลอดเวลา ซึ่งจะมีทางเบี่ยง ที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อรองรับปริมาณรถในแต่ละวัน
พื้นที่ที่ 2 บริเวณด้านหน้าโรงแรมโซฟิเทล เซ็ลทรัล ใกล้ทางขึ้นทางด่วนดอนเมืองโทลเวย์ เป็นพื้นที่ที่มีปัญหาค่อนข้างมากเนื่องจากหากปิดการจราจรจะเหลือช่องจราจรให้รถวิ่งเพียง 2 ช่องจราจร ทั้งนี้จะให้ปิดตลอดเวลาครึ่งหนึ่งของตัวสะพาน คือ ส่วนสะพานที่ยกระดับขึ้น ส่วนอีกครึ่งหนึ่งที่เป็นทางลาดขึ้นสะพานให้ปิดเฉพาะช่วงกลางคืน ตั้งแต่เวลา 21.00-05.00 น. เริ่มปิดวันที่ 7 ก.ค.48 นี้
พื้นที่ที่ 3 บริเวณหน้าสวนจตุจักร ถนนวิภาวดีรังสิตขาออก เริ่มปิดช่องจราจรในวันที่ 10 ส.ค.48 โดยบริเวณที่จะก่อสร้างทางลาดเลี้ยวขวาเข้าถนนพหลโยธิน จะปิดเฉพาะช่วงเวลา 21.00-05.00 น.เท่านั้น โดยจะมีทางเบี่ยงที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อรองรับปริมาณรถในแต่ละวัน
พื้นที่ที่ 4 บริเวณปากทางลาดพร้าวถนนพหลโยธินขาออก เป็นการปิดเจาะเสาเข็มสร้างฐานราก 3 ฐานราก จะเริ่มปิดช่องจราจรในวันที่ 1 ส.ค.48 ไปจนถึงแล้วเสร็จ
พื้นที่ที่ 5 บริเวณเกาะกลางใต้ทางยกระดับ ถนนพหลโยธินขาเข้า เป็นการปิดเพื่อเจาะเสาเข็มสร้างฐานราก 3 ฐานราก จะเริ่มปิดช่องทางจราจรวันที่ 24 ส.ค.48 ถึงแล้วเสร็จ ซึ่งในวันนี้ (23 มิ.ย.48) นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารกทม.ลงพื้นที่ร่วมกันแจกแผ่นพับแนะนำทางลัดทางเลี่ยงห้าแยกลาดพร้าวแก่ประชาชน โดยเริ่มแจกบริเวณหน้าทางเบี่ยงขาเข้าด้านข้างห้างเซ็นทรัล ลาดพร้าว (ติดสวนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ฝั่ง ถ.วิภาวดี รังสิต ขาเข้า) ถ.ลาดพร้าวขาเข้า ในเวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ในขณะที่รถติดไฟแดง และพบนักเรียน นักศึกษา มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ให้นำแผ่นพับแจ้งผู้ปกครองที่มารับ — ส่งทราบด้วย สำหรับแผ่นพับแนะนำเส้นทางเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบนั้นจะมีด้วยกัน 2 ชุด คือ 1.ภาพรวมของโครงการสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป 2.เป็นแผ่นพับสำหรับประชาชนที่อาศัยและทำงานในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งได้เริ่มทำการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.48 ที่ผ่านมา
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ