ดอสนวัตกรรมผลิตน้ำประปา-รีไซเคิลน้ำเสียบุกตลาดรง.อุตสาหกรรมชี้ปี’60 โต 20%

อังคาร ๑๕ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๒:๑๕
นายธิติ โตวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ธรรมสรณ์ จำกัด ผู้นำธุรกิจการจัดการน้ำดีและน้ำเสีย ภายใต้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ DOS เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตลาดเครื่องผลิตน้ำประปา และเครื่องรีไซเคิลน้ำเสีย ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องขึ้นทุกปี ปัจจัยบวกมากจากลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงชุมชน ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาดสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า และขยายฐานลูกค้า ที่ผ่านมาบริษัทได้จัดงานสัมนา หัวข้อ "นวัตกรรมผลิตน้ำประปาและ รีไซเคิลน้ำเสียโดย DOS" โดยเชิญวิทยากรจากประเทศเยอรมัน และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำและผู้ออกแบบนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบการจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการจัดการน้ำ ภายในงานดังกล่าวบริษัทฯ ยังได้รวบรวมสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูงมาจัดแสดง

ปัจจุบันระบบการผลิตน้ำประปา ภายใต้สภาพน้ำดิบที่แตกต่างกัน และระบบบำบัดน้ำเสียร่วมกับการรีไซเคิล กำลังขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้จัดงานสัมมนาสร้างการรับรู้ เพื่อกระตุ้นตลาด โดยชูจุดแข็ง เช่น ระบบ DOS PCF ระบบผลิตน้ำประปา จากบริษัท Sseng ประเทศ เกาหลีใต้ สำหรับแหล่งน้ำที่มีความขุ่นต่ำ ระบบ Actiflo จาก VEOLIA สำหรับแหล่งน้ำที่มีความขุ่นสูง ระบบ DOS MICROCLEAR คือ MEMBRANE ที่ช่วยยกระดับระบบการบำบัดน้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพสูงจนสามารถนำน้ำมารีไซเคิลได้ และระบบ DOS MBR ( DOS MEMBRANE BIO REACTOR ) ระบบบำบัดสำเร็จรูปที่ DOS พัฒนาขึ้นให้เหมาะกับรูปแบบการใช้งานในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามนวัตกรรมระบบผลิตน้ำประปา DOS PCF สามารถติดตั้งบนพื้นที่เล็กกว่าระบบเดิมถึง 75 % ประหยัดค่าไฟฟ้า และสารเคมีในการเดินระบบกว่า 50% ระบบนี้ได้รับทุนวิจัยและรางวัลด้านการวิจัย ถึง 14 รางวัล สำหรับ PCF FILTER ( PORE CONTROL FIBER ) มีลักษณะเป็นเส้นใยกรอง ทำจากวัสดุ PP มีความทนทานสูง ลักษณะพิเศษของ PCF FILER คือ รูการกรองน้ำมีขนาดเล็กขณะทำการกรอง แต่รูการกรองจะถูกขยายออกเมื่อจะทำการล้างย้อน เอาความสกปรกที่กรองไว้ออกไปกำจัดด้วยวิธีการหย่อนเส้นใยลักษณะพิเศษนี้จึงทำให้การล้างทำได้ง่ายๆ ด้วยแรงดันน้ำปกติของระบบ ระบบจึงมีประสิทธิภาพดีอยู่เสมอและด้วยขนาดของรูกรองที่เล็กถึง 5 ไมครอน จึงมีคุณภาพดีกว่าการกรองด้วยถังกรองทรายของระบบประปาทั่วไป

"PCF FILER ถูกพัฒนาและมีการใช้งานมามากกว่า 10 ปี ในประเทศะเกาหลี มีผลงานมากกว่า 1,700 โครงการ ใน 14 ประเทศ สำหรับในประเทศไทยบริษัทเราได้ติดตั้ง ระบบประปา DOS PCF ขนาด 160,000 ลบ.ม. ต่อวัน ที่นิคมอุตสาหกรรม 304 จังหวัดปราจีนบุรีส่วน Actiflo turbo เป็นนวัตกรรมการกำจัดความขุ่นในน้ำ ด้วยวิธีการตกตะกอนที่ชาญฉลาด ทำให้ระบบการตกตะกอนมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมได้ถึง 50 เท่า และมีประสิทธิภาพในการลดความขุ่นได้สูงถึง 99%" คุณธิติ กล่าว

นายธิติ กล่าวว่า การออกแบบที่ชาญฉลาดนี้คือการนำเอาเม็ดทรายมารวมกับเม็ดตะกอนทำให้ตะกอนมีน้ำหนัก ตกตะกอนได้ภายใน 2 – 3 นาที จากเดิมที่ต้องรอเวลานานเป็นชั่วโมง ระบบจึงมีขนาดเล็ก ทำงานได้เร็ว มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเดิมอย่างแท้จริงDOS MBR ออกแบบเป็นระบบถังบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป ที่สามารถนำน้ำมารีไซเคิลใช้ได้ จุดเด่น คือ ติดตั้งง่าย บำรุงรักษาง่าย มีขนาดเล็ก ติดตั้งทดแทนระบบของเดิมได้ มีประสิทธิภาพในการกรองสูง ด้วย MICROCLAER MEMBRANE มีความคงทน ประหยัดพลังงานไฟฟ้า ไม่ใช้สารเคมี การควบคุมอัตโนมัติ มีทั้งแบบติดตั้งบนดินและใต้ดิน มีขนาดรับน้ำเสียตั้งแต่ 20 ลบ.ม./ วัน ถึง 200 ลบ.ม./วัน สำหรับภาพรวมธุรกิจของบริษัทในปีหน้าจะสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้ารายใหม่เพิ่มขึ้น 3-4 ราย และจากการเร่งทำการตลาดจะช่วยให้รายได้ในปี 2560 มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 20%

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ