นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ภายใต้เสาหลักการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนด้าน "ดินน้ำป่าคงอยู่" บริษัทวางเป้าหมายการร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ด้วยแนวคิดจากภูผาสู่ป่าชายเลน โดยในส่วนของการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนถือว่าเป็นส่วนสำคัญ เพราะเชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างบกและทะเล เป็นศูนย์รวมความหลากหลายที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต ซีพีเอฟจึงดำเนิน"
โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน" ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ 5 แห่ง ได้แก่ สมุทรสาคร, ระยอง,ชุมพร, สงขลา และพังงา ระหว่างปี 2557-2561 ครอบคลุมพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟูรวมกว่า 2,000 ไร่
"สพภ. ได้เริ่มดำเนินงานการตอบแทนคุณระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) มาตั้งแต่ปี 2553 โดยส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการระบบนิเวศ ทำการตอบแทนคุณในรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้ดูแลระบบนิเวศ เพื่อความยั่งยืนของบริการระบบนิเวศ ทั้งยังช่วยทำให้ชุมชนมีรายได้เสริมจากการอนุรักษ์ อันจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนจากความหลากหลายทางชีวภาพ โดยซีพีเอฟได้รับคัดเลือกเข้ารับรางวัล "Thailand PES Award 2016" 2 ปีซ้อน" นายวุฒิชัย กล่าวเสริม
"โครงการซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน" บริเวณตำบลชุมโค และตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร บนพื้นที่กว่า 890 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู 790 ไร่ และพื้นที่ปลูกใหม่ 100 ไร่) และบริเวณตำบล บางหญ้าแพรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บนพื้นที่กว่า 600 ไร่ (แบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์และฟื้นฟู 517 ไร่ และพื้นที่ปลูกใหม่ 83 ไร่) นับเป็น 2 ใน 5 ของพื้นที่นำร่องที่ สพภ. ได้คัดเลือกดำเนินงานเพื่อตอบแทนคุณระบบนิเวศตามหลักการ PES
รางวัล Thailand PES Award จัดโดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. พิจารณารางวัลจากองค์กรที่ดำเนินโครงการตามหลักการ PES โดยนำหลักการดังกล่าวมาทดสอบและปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละโครงการตามความพร้อม ต้องมีพื้นที่ดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม รวมถึงยังมีการสร้างเครือข่ายการดำเนินงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรับปรุงการดำเนินงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ซึ่งหลักการ PES คือเป็นแนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากบริการระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ อันนำไปสู่การช่วยสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืน.