เทรนด์ค่าตอบแทนและสวัสดิการในประเทศไทย ประจำปี 2559 อัตราการลาออกเพิ่มสูงขึ้นตามหน้าที่รับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น

พฤหัส ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๕:๔๙
ผลการปฏิบัติงานยังคงเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาเรื่องเงินเดือน เป็นข้อสรุปหลักจากการสำรวจ Total Compensation Measurement (TCM) Study and Benefit Survey 2016 โดย เอออน ฮิววิท บริษัทชั้นนำระดับโลก ผู้ให้บริการและคำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลรวม ภายใต้แบรนด์ เอออน (Aon plc.)

ผลลัพธ์ทีน่าสนใจจากการสำรวจอีกหนึ่งประเด็นคือพนักงานในระดับผู้บริหารระดับต้นและหัวหน้างานมีอัตราการลาออกสูงสุดเมื่อเทียบกับระดับงานอื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความกดดันที่มีมากขึ้นตามหน้าที่รับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้นในการบริหารจัดการทีม

ในขณะเดียวกัน ตัวเลขเฉลี่ยการจ่ายโบนัสสำหรับระดับพนักงานระดับต้นและผู้บริหารระดับกลางอยู่ที่ประมาณ 18% ของเงินเดือน ซึ่งคิดเป็น 3.6 เดือนโดยประมาณ โดยตัวเลขดังกล่าวอาจมีความแตกต่างกันสำหรับพนักงานแต่ละคน ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติงานเป็นสำคัญ ซึ่งยิ่งเป็นความท้าทายหลักของหัวหน้างานและผู้บริหารระดับต้นที่เพิ่งมารับภาระงานที่หนักขึ้นกว่าเดิม

คุณภาณุวัฒน์ เบ็ญเราะมาน หุ้นส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา และกรรมการผู้จัดการ บริษัทเอออน ฮิววิท (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "อัตราการลาออกในระดับผู้บริหารทีมแบบนี้เป็นสัญญาณเอนให้นายจ้างปรับนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนที่เน้นการรักษาคนเก่งไว้กับองค์กร (retention) มากขึ้น และสิ่งสำคัญยิ่งไปกว่าการเน้น pay-for-performance คือทำอย่างไร องค์กรจึงจะสามารถเตรียมพร้อมพนักงานกลุ่มนี้เพื่อให้สามารถรับมือกับบทบาทในเชิงบริหารทีมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสาเหตุการลาออกอยู่ที่ตำแหน่งงานที่อื่นน่าสนใจกว่าและโอกาสการเติบโตมีจำกัด การให้ความสำคัญกับโปรแกรมเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาจึงเป็นกลไกสำคัญในการสร้างผู้นำจากภายใน และสามารถจ่ายค่าตอบแทนได้อย่างเหมาะสม"

ข้อค้นพบอื่น ๆ จากการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการในประเทศไทย ประจำปี 2559 ได้แก่:

• ค่าเฉลี่ยโบนัสอยู่ที่ 22% ของฐานเงินเดือน เพิ่มขึ้นประมาณ 4% จากปี 2015

• ธุรกิจการค้าปลีกและธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องมือทางการแพทย์มีอัตราการขึ้นเงินเดือนอยู่ที่ 6% ซึ่งเป็นอัตราเฉลี่ยสูงสุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ

• อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีอัตราการขึ้นเงินเดือนที่น้อยที่สุดที่ 4.7% เท่านั้น

• อัตราการจ่ายค่าตอบแทนแบบแปรผัน (Variable Pay) อยู่ที่ 15% ในระดับสนับสนุน (Support Level) 18% ในระดับปฏิบัติการและระดับบริหาร และ 20% ในระดับผู้บริหารระดับสูง

• 72.2% ของบริษัทที่ทำการสำรวจให้รางวัลตอบแทนผลการปฏิบัติงานรายบุคคล และ 38.9% มีการให้รางวัลพิเศษเพื่อเป็นวิธีในการรักษาคนเก่งไว้กับองค์กร

• 43% ของบริษัทมีโปรแกรมการบริหารการเงิน (Financial Wellness) ในรูปของสวัสดิการสำหรับพนักงานในทุกระดับ

• งบประมาณรวมของสวัสดิการคิดเป็น 11% ของงบเงินเดือนทั้งหมด โดยค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก (medical outpatient) เป็นงบก้อนใหญ่ที่สุด

โครงการการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการของเอออน ฮิววิท ครอบคลุมข้อมูลด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการใน 180 ประเทศ กว่า 715 ตำแหน่งงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ในประเทศไทยมีการทำการสำรวจเป็นประจำทุกปี ในช่วงระหว่างเดือน เมษายน ถึง กรกฎาคม โดยในปี 2559 นี้ มีองค์กรเข้าร่วมสำรวจทั้งหมด 174 องค์กรจากทุกกลุ่มอุตสาหกรรม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version