ก.พลังงาน ส่งสัญญาณขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน 4.0 ชี้พัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)

พฤหัส ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๖:๔๙
เป็นก้าวสำคัญลดความเสี่ยง และสร้างเสถียรภาพให้โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน คาดโมเดลจากรัฐแคลิฟอร์เนีย ที่เปิดตัวระบบแล้วกว่า 260 เมกะวัตต์ เป็นต้นแบบการศึกษาให้ไทยในอนาคต ยันพร้อมต่อยอดงานวิจัย ที่กองทุนอนุรักษ์พลังงานให้งบปูทางแล้วกว่า 765 ล้านบาท

? นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ และรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศตามแนวนโยบาย Energy 4.0 ซึ่งจะมุ่งเน้นการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมด้านพลังงานใหม่ๆ การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อ ต่อยอดธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานของประเทศให้เติบโต และก้าวหน้า ซึ่งสิ่งที่ภาคพลังงานของประเทศไทยจะต้องเตรียมพร้อมในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลในอนาคต ได้แก่ การบริหารจัดการพลังงานทดแทนให้มีความเสถียร (Firm Renewable Energy) จากการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญที่กระทรวงพลังงานจะได้เตรียมความพร้อม เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคตยิ่งขึ้น

? ทั้งนี้ จากการศึกษาระบบกักเก็บพลังงานที่ปัจจุบันมีความน่าสนใจ และคาดว่าจะเป็นต้นแบบการศึกษาให้แก่ประเทศไทยได้ คือ ระบบกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ซึ่งได้ถูกพัฒนาและติดตั้งที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับกิจการพลังงานหรือเรกูเลเตอร์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้สั่งการให้เซาท์เทอร์ แคลิฟอร์เนีย เอดิสัน (Southern California Edison) ซึ่งมีลักษณะการดำเนินงานคล้ายกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ) ได้ติดตั้งระบบดังกล่าว ซึ่งเบื้องต้น ระบบกักเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่นี้ สามารถเก็บไฟฟ้าได้สูงถึง 260 เมกะวัตต์ แบ่งเป็น ในส่วนของสถานีหลัก เก็บไฟฟ้าได้สูงถึง 100 เมกะวัตต์ และในส่วนของสถานีย่อยๆ อีกประมาณ 160 เมกะวัตต์ เป็นต้น

? "จากต้นแบบระบบกักเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกานี้ ถือเป็นตัวอย่างการสร้างระบบสำรองไฟฟ้าที่สอดคล้องกับการพัฒนาระบบพลังงานทดแทนของประเทศ เนื่องจากปัจจุบัน การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงพลังงานทดแทนของประเทศไทย อุปสรรคสำคัญคือด้านความมีเสถียรภาพของการผลิต ซึ่งหากในอนาคตนโยบายการส่งเสริมระบบกักเก็บพลังงานมีความรูปธรรม ก็จะช่วยให้ระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจากไฟฟ้าดับ หรือระบบสายส่งไฟฟ้าต้นทาง ซึ่งเมื่อเกิดเหตุแต่ละครั้งจะกระทบต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล" นายสราวุธกล่าว

? นายสราวุธ กล่าวเพิ่มว่า แนวทางการส่งเสริมระบบกักเก็บพลังงานดังกล่าว ปัจจุบันกระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีมติอนุมัติงบประมาณ 765 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดทำโครงการสนับสนุนการศึกษา วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) ภายในระยะเวลา 2 ปี ซึ่งจะเป็นงบประมาณเพื่อปูทางสนับสนนุให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานที่สนใจ สร้างงานวิจัยเพื่อต่อยอดการศึกษาในเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคต

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ