เดลต้า อีล็คโทรนิคส์ ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน “วิถีเทคโนโลยีออโตเมชั่น IA...สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0”

พฤหัส ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๐:๒๑
บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หนึ่งในผู้นำอีเลคทรอนิคส์และนวัตกรรมไอซีทีของโลก โดย คุณยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล และคุณเกษมสันต์ เครือธร ผู้จัดการภาคพื้นอาวุโสฝ่ายอินดัสเทรียลออโตเมชั่น ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย รศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล รองคณบดี จัดงาน "วิถีเทคโนโลยีออโตเมชั่น IA...สู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0" วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลากรนักศึกษาคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรของไทยให้ก้าวทันการปฏิรูปอุตสาหกรรม และเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและองค์ความรู้ โดยมีคนเป็นหัวใจสำคัญ พร้อมตอกย้ำการสร้างคุณค่าแบรนด์ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

คุณยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล บจม. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า เดลต้าฯ เป็นองค์กรที่ก้าวล้ำด้านนวัตกรรมอิเลคทรอนิคส์และไอซีทีของโลก นอกจากสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการที่มีคุณภาพสูง วางแผนระบบโซลูชั่นแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆแล้ว บริษัทฯยังเปี่ยมด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชนและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรไทย ในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของรัฐบาล ในการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 โดยบริษัทฯ ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าทั้ง 3 แห่ง จัดอบรมสัมมนาแก่อาจารย์และนักศึกษา เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรับ-ส่งข้อมูลและควบคุมโดยผ่านโปรโตคอลต่างๆเพื่อควบคุม บันทึกและแสดงผลกับเครื่องจักรโดยระบบเทคโนโลยีออโตเมชั่น หรือ IA (Industrial Automation) เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะหรือตรงตามความต้องการของผู้บริโภคและตลาด แต่ยังรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่สูงในระดับเดียวกับการผลิตแบบคราวละมากๆ อาทิ การผลิตรถยนต์ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ดังนั้นเทคโนโลยีออโตเมชั่นจึงกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการผลิตของภาคอุตสาหกรรมอย่างมากในยุคอุตสาหกรรม 4.0

คุณเกษมสันต์ เครือธร ผู้จัดการภาคพื้นอาวุโสฝ่ายอินดัสเทรียลออโตเมชั่น กล่าวว่า กระบวนการผลิตที่สำคัญในโลกอนาคต สำหรับอุตสาหกรรม 4.0 คือ เทคโนโลยีออโตเมชั่น หรือ Industrial Automation ประกอบด้วย เครื่องจักรกลอัตโนมัติ (Automation Machine) โรงงานอัตโนมัติ (Factory Automation) และกระบวนการผลิตอัตโนมัติ (Process Automation) ในการผลิตจะประกอบไปด้วยเครื่องจักร สิ่งสำคัญที่จะช่วยทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นคือตัวควบคุมการทำงานที่เรียกว่า PLC (Programmable Logic Controller) ซึ่งควบคุมโรงงานระดับขนาดเล็กถึงระดับกลาง ที่ I/O ไม่เกิน 4,000 Input/ Output นั้น เป็นหน่วยประมวลผลที่สามารถโปรแกรมได้ เพื่อช่วยจัดการควบคุม สั่งงาน รับค่าเซนเซอร์ ต่างๆ และกำหนดการทำงานของระบบควบคุมอัตโนมัติ ที่ออกแบบมาสำหรับใช้ควบคุมงานทางด้านอุตสาหกรรม หลังจากนั้นเชื่อมต่อผ่านเน็ตเวิร์ค ผ่านไฟเบอร์ออพติก ลิ้งค์ขึ้นมาที่ห้องควบคุม(control room) จากนั้นใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวแสดงผลที่เรียกว่า SCADA (Supervisory Control And Data Acquisition) เป็นระบบตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-time ใช้ในการตรวจสอบสถานะ ตลอดจนควบคุมการทำงานของระบบควบคุมในอุตสาหกรรม และงานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร การประปา การบำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันและก๊าซ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้คือตัวชุดที่ใช้ในกระบวนการทำงานออโตเมชั่น บางโรงงานแบ่งเป็นโรงงานที่1 โรงงานที่ 2 โรงงานที่ 3 เราก็สามารถดึงข้อมูลจากโรงงาน 1 ถึง 3 ให้เชื่อมกันผ่านเน็ตเวิร์ค และลิ้งค์ขึ้นมายังห้องควบคุม และแสดงผลผ่านมอนิเตอร์ ทำให้เราสามารถควบคุมบริหารจัดการได้ง่ายยิ่งขึ้น และสิ่งที่ขาดไม่ได้ในระบบออโตเมชั่นคือ ส่วนของหุ่นยนต์ที่จะนำมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น หุ่นยนต์จะช่วยให้การทำงานสั้นลงและมีประสิทธิภาพในไลน์การผลิตมากขึ้น

โลกของอุตสาหกรรมกำลังก้าวสู่การปฏิวัติครั้งใหม่เป็นครั้งที่ 4 ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) โดยได้ผ่านปฏิวัติอุตสาหกรรมในอดีตมา 3 ครั้ง เริ่มจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 1 (Industrial Revolution 1.0) คือ ยุคของการใช้พลังงานจากไอน้ำ (Hydro Power) การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 (Industrial Revolution 2.0) เปลี่ยนจากการใช้เครื่องจักรไอน้ำ มาใช้พลังงานไฟฟ้า การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 (Industrial Revolution 3.0) เป็นยุคของการใช้อีเลคโทรนิคส์และเทคโนโลยีไอทีในการผลิต มีการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4(Industrial Revolution 4.0) คือการนำเทคโนโลยีดิจิตัลและอินเทอร์เน็ตมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า ที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือสามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง นอกจากตัวเครื่องจักรที่เป็นอัจฉริยะแล้ว โรงงานในยุค 4.0 ก็จะมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นด้วย โดยที่โรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) จะสามารถออกแบบกำหนดความต้องการรวมทั้งสภาพแวดล้อมของการผลิต สามารถสื่อสารกับหน่วยอื่นๆ ได้อย่างอิสระแบบไร้สาย สามารถผลิตสินค้าตามคำสั่งโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น เวลา ต้นทุนการผลิต ค่าขนส่ง การรักษาความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ เป็นระบบการผลิตที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าที่สุด

บุคคลากรและผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรเตรียมพร้อมและใช้ประโยชน์จากดิจิตอลและเทคโนโลยีออโตเมชั่นให้เป็นประโยชน์สูงสุด ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์อย่างมั่นใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version