ประวัติและผลงาน ดร.เจริญ วัชระรังษี นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2548

ศุกร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๐๕ ๑๕:๑๒
กรุงเทพฯ--26 ส.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
ดร.เจริญ วัชระรังษี นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2548
ดร.เจริญ วัชระรังษี มีตำแหน่งในอดีตเป็นเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ จนมาเป็นข้าราชการบำนาญ ในปัจจุบันมีประวัติการศึกษา โดยเรียนระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดชัยภูมิ ได้วุฒิมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ได้รับวุฒิ ป.ป. โดยทุนการศึกษาจากรัฐบาลไทยและได้เรียนในคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วุฒิ วท.บ. เกียรตินิยม ปริญญาโท สาขาเคมีฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล สหรัฐอเมริกา จบการศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรและประกาศนียบัตร ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศญี่ปุ่น
การรับราชการ ดร.เจริญ วัชระรังษี เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมี ที่โรงเรียนนายร้อย จปร. เป็นนักวิทยาศาสตร์โท และนักวิทยาศาสตร์เอก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหัวหน้ากองฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการกองฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นรองอธิบดี กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
ผลงานทางวิชาการ เป็นวิทยากรบรรยายวิชาเคมีฟิสิกส์ เคมีนิวเคลียร์แก่นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ 5 สถาบัน บรรยายเรื่องการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย บรรยายการพัฒนาประสิทธิภาพของการทำงานที่เรียกว่า ระบบคิวซีซี เป็นวิทยากร ร่วมอภิปรายในการสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม ปีละประมาณ 3-4 ครั้ง เป็นประธานและกรรมการจัดประชุมใหญ่กลุ่มสร้างคุณภาพไทย ปีละ 1 ครั้ง
ดำเนินการด้านงานวิจัยและเผยแพร่ในคุณสมบัติเชิงกลของสารละลายพอลิ-เอ็น-บิวทิลเมราไครเลตผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณภาพอุตสาหกรรม
ผลงานบริหารทั่วไป ได้ผลักดันให้เกิดโครงการพัฒนาระบบมาตรวิทยาของชรติ โครงการด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาห้องสมุดวิทยาศาสตร์ การออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิค ระบบควบคุมคุณภาพการผลิต และการวิจัยปัญหาทางเทคนิค ในการผลิตทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อันตรายจากไอกรดของโรงงานโลหะเคลือบ และโรงงานผลิตน้ำกรด การสูญเสียพลังงานจากการหลอมเหล็กปัญหาน้ำทิ้งจากโรงงานฟอกย้อม โรงงานน้ำตาล โรงงานเส้นหมี่และกลิ่นเหม็นจากโรงงานกลั่นน้ำมันงานสำคัญและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภายหลังการเกษียณอายุราชการแล้ว ดร.เจริญ วัชระรังษี ยังทำหน้าที่ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช ประธานกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิทยาศาสตร์ สำนักงาน ก.พ. รวมทั้งอนุกรรมการเฉพาะตัวที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังทุ่มเทความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ กล่าวคือ การอบรมนักวิทยาศาสตร์ให้รู้จักการทำงานเป็นทีม การสร้างความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจากภาคราชการและเอกชนในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษจากอุตสาหกรรม การนำพาของเหลือทิ้งกลับมาใช้ใหม่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม การปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตให้มีของเหลือทิ้งน้อยลง รวมทั้งการจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดการเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด และการจัดการที่จะนำมาซึ่งเทคโนโลยีสะอาดและสามารถแข่งขันได้ในเชิงธุรกิจ
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการเสริมสร้างความสามารถการวิจัยด้านสมุนไพร ดร.เจริญ วัชระรังษีด้มีส่วนสร้างความเข้มแข็งด้านงานวิจัยด้วยการสร้างและพัฒนานักวิจัย และให้มีการวิจัยอย่างครบวงจรโดยมุ่งให้มีการทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาค เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยอื่น ๆ
ดร.เจริญ วัชระรังษี เคยดำรงตำแหน่งนายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกสมาคมเคมี และกรรมการมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และกรรมการมูลนิธิและสมาคมอื่น ๆ อีกหลายสมาคม
ด้วยผลงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของ ดร.เจริญ วัชระรังษี สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ในโครงการสรรหานักวิทยาศาสตร์อาวุโส จึงมีมติให้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2548
สามารถคลิกดูภาพข่าวได้ที่ www.thaipr.net--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ