นางลัดดา มงคลชัยวิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ เอเชีย โฮเรก้า เปิดเผยว่า มูลค่าตลาดร้านอาหาร มีมูลค่าโดยรวมประมาณ 375,000-385,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ กลุ่มร้านอาหารที่มีสาขา มูลค่าตลาดประมาณ 108,000-110,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 28.5% โดยมีสาขาอยู่ประมาณ 2,663 สาขา และร้านอาหารทั่วไป มูลค่าตลาดประมาณ 267,000-275,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 71.5% โดยทั้งสองกลุ่มนี้ มีอัตราเติบโตที่แตกต่างกัน กลุ่มร้านอาหารที่มีสาขา จะมีแนวโน้มเติบโตสูงกว่าอยู่ที่6.9-8.9% ในขณะที่ร้านอาหารทั่วไป จะมีแนวโน้มที่ต่ำกว่าอยู่ประมาณ 2.9-5.9% อันเนื่องมาจากการพร้อมในการแข่งขันและเติบโต อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มมีอัตราเติบโตโดยรวมประมาณ 4-6.8% เมื่อเทียบจากปีก่อน
ขณะเดียวกัน ตลาดร้านกาแฟ เบเกอรี่ ไอศกรีม ปัจจุบันมีแบรนด์ชั้นนำอยู่ประมาณ 3,710 สาขา สำหรับมูลค่าตลาดของทั้งสาม อยู่ที่ประมาณ 62,000 ล้านบาท โดยในกลุ่มกาแฟมีมูลค่ามากที่สุดที่ 30,000 ล้านบาท รองลงมา เบเกอรี่ 17,000 ล้านบาท และไอศกรีม 15,000 ล้านบาททั้งนี้ ส่วนแบ่งตลาดสำหรับกาแฟระดับกลางมีมูลค่ามากที่สุด เป็นจำนวน 40% ของตลาดทั้งหมด โดยกลุ่มนี้ มีอัตราเติบโตต่อเนื่อง เพราะการบริโภคกาแฟของคนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 200 แก้วต่อคนต่อปี มีช่องว่างทางการตลาดอีกมาก โดยเฉพาะร้านกาแฟตามปั๊มน้ำมัน หรือในต่างจังหวัด ซึ่งหลายแห่งมีลูกค้าทั้งประจำและขาจร มาอุดหนุนอย่างต่อเนื่อง ความท้าทายจึงอยู่ที่ว่า เปิดร้านแล้ว ทำอย่างไรให้ธุรกิจอยู่ได้
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ธุรกิจที่คนรุ่นใหม่หรือ Gen-Y ต้องการทำมากที่สุด ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้าออนไลน์ และการขายสินค้าต่างๆ แต่โอกาสที่ธุรกิจของคน Gen-Y จะประสบความสำเร็จนั้น มีเพียง 50% เท่านั้น ส่วนอีก 50% ยังล้มเหลว โดยสาเหตุหลักที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ เนื่องจากไม่มีข้อมูลและไม่ได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ทั้งแนวโน้ม โอกาสของตลาด และเทรนด์ของลูกค้าอย่างเพียงพอ รวมทั้งการที่ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาก่อน
ดังนั้น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันและอยู่รอดได้ใน 5 ข้อ ได้แก่ 1) คำนึงถึงคุณภาพและความคุ้มค่าที่ลูกค้าจะได้รับ 2) นำนวัตกรรมเข้ามาปรับใช้ 3) รักษาฐานลูกค้าเก่าและสร้างฐานลูกค้าใหม่ 4) สร้างแบรนด์และเอกลักษณ์ให้โดดเด่น 5) ปรับองค์กรให้กระชับ รวมทั้งจะต้องบริหารธุรกิจใหม่ โดยให้ความสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) สรรหาและพัฒนาบุคลากร 2) พัฒนาความรู้ รู้จักบริหารเงินทุนหมุนเวียน เข้าร่วมเป็นสมาชิกโฮเรก้า 3) วางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ 4) นำนวัตกรรมและนำเสนอบริการรูปแบบใหม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
นอกจากนี้ HORECA Square ในฐานะศูนย์การค้าส่งสำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมโรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เบเกอรี่ และบริการจัดเลี้ยง และเป็นศูนย์การค้าที่เกิดขึ้นจากผลการวิจัยและความต้องการของกลุ่มคนในธุรกิจ นอกเหนือไปจากการจัดหาสินค้า ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่แตกต่าง ทั้งผลิตในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียเวลาไปที่อื่น มากกว่า 10,000 รายการ ให้แก่ผู้ประกอบการแล้ว HORECA Square ยังเป็นเหมือนศูนย์กลางเครือข่ายของนักธุรกิจ ผู้ประกอบการในกลุ่มโฮเรก้า ที่จะได้มาพบปะ พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดธุรกิจซึ่งกันและกัน จึงได้เปิดรับสมัครสมาชิก HORECA Square ฟรี เพื่อรับสิทธิพิเศษรับข้อมูลความรู้ แนวทางการดำเนินธุรกิจ สิทธิพิเศษ โปรโมชั่น รวมถึง การเข้ารับการอบรมหลักสูตรต่างๆ ฟรี เพื่อพัฒนาธุรกิจให้สามารถแข่งขันและเติบโตไปได้ในอนาคต โดยสามารถเข้ามาสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.horecasquare.comหรือ https://www.facebook.com/horecasquare ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
นายปริญญา ชุมรุม กูรูด้านแบรนด์ ที่ปรึกษาด้านการตลาด และอดีต ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมเพิ่มเติมว่า ก่อนจะทำการสื่อสารแบรนด์ ผู้ประกอบการต้องรู้ก่อนว่าตนเองนั้นอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทไหน อาทิ ร้านอาหารแบบหรู (fine dining) ร้านอาหารระดับกลาง (casual dining) ร้านอาหารทั่วไป (fast dining) หรือ ร้านริมบาทวิถี (kiosk) เช่นเดียวกับธุรกิจร้านกาแฟก็สามารถจัดแบ่งใกล้เคียงกับร้านอาหาร แต่อาจมีเพิ่มเติมจำแนกตามกลุ่มผู้ดื่มกาแฟเป็นหลัก โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ คอกาแฟตัวจริง ที่เน้นเรื่องคุณภาพ ชนิด ประเภท วิธีการชง กับ ผู้ดื่มกาแฟทั่วไป เหตุที่ต้องทราบ เพราะการสื่อสารแบรนด์ของแต่ละธุรกิจ แต่ละประเภทย่อมมีวิธีการที่แตกต่างกัน รวมทั้งไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่มีแนวทางหลักที่ผู้ประกอบการแต่ละราย จำเป็นต้องให้ความสำคัญและจำเป็นต้องมี 7 ประการ ได้แก่ 1) คุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ดี 2) ราคาสมเหตุสมผล 3) การบริการ 4) ทำเลที่ตั้ง 5) การออกแบบตกแต่งร้าน 6) เข้าใจผู้บริโภค 7) สร้างจุดขายเฉพาะที่มีเอกลักษณ์
HORECA Sqaure ตั้งอยู่ที่ ชั้น 3-5 ของ ซี ดับเบิ้ลยู ทาวเวอร์ (CW Tower) บนถนนรัชดาภิเษก มีขนาดพื้นที่ 12,000 ตารางเมตร ปัจจุบันพื้นที่กว่า 70 % ได้ถูกจับจองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มสินค้าเครื่องใช้ภายใน อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์และเครื่องใช้สำหรับโรงแรม อุปกรณ์เครื่องครัว สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณอดิศร กันทะเมืองลี้ ผู้จัดการโครงการ โทรศัพท์ 089 955 4463 หรือ[email protected]