ประชาชน 63.11 เชื่อว่าการแชร์คลิปพฤติกรรมไม่เหมาะสมผ่านโซเชียลจะทำให้ผู้กระทำหลาบจำไม่กล้าทำอีก ร้อยละ 67.09 ทำให้ผู้คนระมัดระวังตัวในการแสดงพฤติกรรมต่างๆ แต่ร้อยละ 66.24 ชี้ส่วนใหญ่มีการเขียนคอมเมนรุนแรงเกินไป

จันทร์ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๑:๑๓
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13 ถึง 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,182 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า ในปัจจุบันนอกจากเครือข่ายสังคมออนไลน์จะใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือในการขายสินค้าและบริการแล้ว เครือข่ายสังคมออนไลน์ยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะ เช่น การชกต่อย/ทำร้ายร่างกายผู้อื่น การขับยานพาหนะชนยานพาหนะผู้อื่น การด่าทอ การบังคับให้ผู้อื่นกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น

ถึงแม้การเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะจะมีส่วนทำให้ผู้คนในสังคมได้ทราบเรื่องราว/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและสามารถใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบดำเนินคดีหรือหาข้อเท็จจริงโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ แต่การเผยแพร่คลิปวิดีโอประเภทดังกล่าวอาจเป็นการสร้างผลกระทบทั้งกับตัวผู้ถูกกระทำหรือผู้กระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆให้เกิดความเครียดหรือความละอายได้ รวมทั้งอาจส่งผลกระทบไปถึงการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน

นอกจากนี้ในปัจจุบันเมื่อมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้คนส่วนหนึ่งมักใช้ถ้อยคำในการเขียนวิพากษ์วิจารณ์และตำหนิอย่างรุนแรงหยาบคาย รวมถึงการตำหนิไปถึงครอบครัว/เพื่อนร่วมงาน และนำพฤติกรรมส่วนตัวต่างๆมาวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งนักวิชาการและผู้คนในสังคมอีกส่วนหนึ่งได้ออกมาแสดงความห่วงใยว่าการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงหยาบคายอาจนำไปสู่การสร้างความขัดแย้งเกลียดชังระหว่างผู้คนในสังคมได้ จากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์

ศ.ดร. ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.59 และเพศชายร้อยละ 49.41 อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้าง/พนักงานในสถานประกอบการเอกชน สามารถสรุปผลได้ดังนี้ในด้านพฤติกรรมการแบ่งปันคลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.46 ระบุว่าตนเองเคยแบ่งปัน/ส่งต่อคลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆ เช่น การชกต่อย/ทำร้ายร่างกายผู้อื่น การขับยานพาหนะชนยานพาหนะผู้อื่น การด่าทอ การบังคับให้ผู้อื่นกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยไม่มีเหตุอันควร เป็นต้น ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างเป็นบางครั้ง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.97 ระบุว่าเคยเป็นประจำ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 15.57 ระบุว่าไม่เคยเลย

ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.11 มีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนทำให้ผู้ที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในคลิปวิดีโอเกิดความหลาบจำจนไม่กล้ากระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมนั้นๆอีก ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.4 มีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง/ดำเนินคดีทางกฎหมายรวดเร็วขึ้นได้

เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ทำให้ผู้ที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมในสถานที่สาธารณะที่ถูกเผยแพร่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ออกมาแสดงความรับผิดชอบนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 47.88 มีความคิดเห็นว่าเป็นเพราะเกิดความละอายที่ถูกเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมมากกว่า ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 35.62 มีความคิดเห็นว่าเป็นเพราะความสำนึกผิดอย่างแท้จริงมากกว่า ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.5 มีความคิดเห็นว่าทั้งสองปัจจัยเท่าๆกัน

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 67.09 มีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้คนในสังคมระมัดระวังตัวในการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะได้ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 68.19 มีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนทำให้สังคมได้รับบทเรียนในการอยู่ร่วมกันอย่างมีสติและเหตุผลได้

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 61.93 มีความคิดเห็นว่าการเผยแพร่คลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์จะมีส่วนทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความเครียดมากขึ้น ส่วนกลุ่มตัวอย่างประมาณสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 66.24 มีความคิดเห็นว่าในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่เขียนวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิผู้ที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะด้วยถ้อยคำที่รุนแรงเกินไป นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 65.06 มีความคิดเห็นว่าการเขียนวิพากษ์วิจารณ์ตำหนิด่าทอด้วยถ้อยคำที่รุนแรงกับผู้ที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะจะส่งผลให้เกิดความขัดแย้งเกลียดชังระหว่างผู้คนในสังคมเพิ่มขึ้นได้

และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 61.25 มีความคิดเห็นว่าหากผู้ที่ปรากฏอยู่ในคลิปวิดีโอการกระทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่างๆในสถานที่สาธารณะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของสังคม เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง หรือนักกีฬา บุคคลเหล่านั้นควรได้รับการลงโทษให้หนักกว่าบุคคลทั่วไป ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.63 มีความคิดเห็นว่าควรได้รับบทลงโทษเท่ากัน ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 8.12 ไม่แน่ใจ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท โรงแรมที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคุณ
๑๗:๑๔ คอนติเนนทอล เปิดตัวเทคโนโลยี Ac2ated Sound เมื่อหน้าจอแสดงผลสามารถส่งเสียงได้ !
๑๖:๑๑ ออปโป้ชวนสัมผัสความงามประเพณีไทย ผ่านภาพพอร์ตเทรต จากวิดีโอสารคดี สีสันใหม่ ในวันสงกรานต์
๑๖:๕๙ ล้ำไปอีกขั้น. ไฟน์ไลน์ซักผ้าเข้มข้น ดีลักซ์ เพอร์ฟูม คริสตัล บูเก้ มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ Charming Booster
๑๖:๑๙ Phytomer Thailand เปิดตัวทรีทเม้นท์สำหรับผิวคนในเมืองที่จะต้องเผชิญภาวะฝุ่นละออง PM 2.5
๑๗ เม.ย. เตรียมล็อคคิว หลิง-ออม ชวนแฟน ๆ ร่วมเบิร์ดเดย์ LINGORM BIRTHDAY CHARITY 2025 กดบัตร 20 เม.ย. นี้
๑๗ เม.ย. โก โฮลเซลล์ ลุยเคาะรั้วมหาวิทยาลัย ชี้ช่องตำแหน่งงาน นำร่อง ม.มหาสารคาม เจาะนิสิตเฉพาะทาง เพิ่มผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจ ตอกย้ำ Brand Core
๑๗ เม.ย. กรมการท่องเที่ยว ชวนผู้ประกอบการไทยอบรมออนไลน์ รู้ลึก เกณฑ์คุณภาพที่พักนักเดินทาง Home Lodge
๑๗ เม.ย. MOTHER ส่งซิกผลงาน Q1/68 เริ่ด!
๑๗ เม.ย. บี.กริม เพาเวอร์ ร่วมงาน Sustainability Week Asia 2025 ครั้งที่ 4 ฉายวิสัยทัศน์ ตอกย้ำผู้นำพลังงานสะอาด ก้าวสู่เป้าหมาย Net