มิชลินอาสาพัฒนาชุมชน ปีที่ 7

จันทร์ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๒:๓๘
"มิชลิน" เดินหน้า อาสาพัฒนาชุมชน ปี7สานฝันพนักงาน ขยายโอกาสการศึกษา

ส่งต่อรอยยิ้มและความสุขเป็นที่เรียบร้อย สำหรับเหล่า "พนักงานจิตอาสาของมิชลิน" ที่ได้เข้าร่วมโครงการ "มิชลินอาสาพัฒนาชุมชน" ปีที่ 7 ส่งมอบสนามเด็กเล่นที่สร้างสรรค์จากยางรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้งานและส่วนต่อเติมอาคารเรียนให้แก่โรงเรียนบ้านบ่อระแหง ต.พังตรุ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี

นางสุชาลา เทพบุตร ผู้อำนวยฝ่ายบุคคล ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและออสเตรเลีย บริษัท มิชลิน อาร์โอเอช จำกัด กล่าวว่าโครงการมิชลินอาสาพัฒนาชุมชน เป็น1ใน17กิจกรรมที่มิชลินดำเนินการในปีนี้ โดยมีการดำเนินการโครงการมาอย่างต่อเนื่องสู่ปีที่7 ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาคัดเลือก ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บ้านเกิดของพนักงานและชุมชนบริเวณรอบโรงงานมิชลินซึ่งพนักงานจิตอาสาจะต้องลงพื้นที่เพื่อหาข้อมูลและร่างแผนงานร่วมกับชุมชนไปจนถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานจริง นับเป็นการสร้างการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพนักงานและสมาชิกของชุมชนรวมทั้งยังเป็นการร่วมพัฒนาที่ตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

"มิชลินเชื่อมั่นเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน ถือเป็นนโยบายหลักของมิชลินทุกประเทศ ที่ต้องการพัฒนาความเจริญให้ชุมชน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา และต้องกระจายโอกาสไปในทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยที่ผ่านมามิชลินได้ทำโครงการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนทั้งหมด 80 โครงการ 80 แห่งทั่วประเทศ และการกระจายโครงการพัฒนาชุมชนไปทั่วประเทศได้ต้องเริ่มจากพนักงานของเรา ซึ่งมาจากทุกภาคในประเทศไทย อีกทั้งการให้พนักงานได้เข้ามามีส่วนร่วม กิจกรรมจิตอาสา โดยเลือกชุมชน หรือจังหวัดของตนเอง นอกจากสร้างการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือสังคมแล้ว ยังเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรักบ้านเกิดและรู้สึกผูกพัน รักบริษัทมากขึ้น สอดรับกับนโยบายของบริษัทในการดูแลพนักงานและสังคมอีกด้วย"

โครงการดังกล่าวริเริ่มเมื่อปี พ.ศ.2553 ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นส่งเสริมคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะด้านโภชนาการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อม

นางสาวสุวภัทร คุณพันธ์ พนักงานศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทมิชลิน ผู้นำเสนอกิจกรรมโครงการมิชลินอาสา พัฒนาชุมชน 2559 ในครั้งนี้ เล่าว่าตนสนใจโครงการของบริษัทมานานแล้ว ในฐานะศิษย์เก่า ก็ต้องการที่จะช่วยเหลือโรงเรียนในชุมชน ปีนี้นำเสนอโครงการแล้วทางบริษัทเห็นชอบและให้ทำกิจกรรมจิตอาสา ต่อเติมอาคารเรียน และสร้างสนามเด็กเล็ก รวมถึงลงพื้นที่ทาสีและจัดระเบียบทางเท้า ปลูกผักปลอดสารพิษ และการระบายสีสำหรับเด็กอนุบาล ซึ่งทุกกิจกรรมตนได้ประสานกับคุณครูเพื่อมิชลินได้ช่วยเหลือตรงตามต้องการ

"เราอยากให้น้องๆได้รับโอกาสดีๆอย่างที่เราเคยได้รับจากมิชลินซึ่งการที่เราได้ทำงานที่มิชลิน ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการอบรมสั่งสอนของคุณครู ซึ่งโรงเรียนบ้านบ่อระแหง เป็นโรงเรียนแห่งแรกที่ได้อบรมสั่งสอน และเราก็เป็นคนชุมชนนี้ก็อยากทำสิ่งดีๆ ให้แก่โรงเรียนและบ้านเกิดของเรา การที่มิชลิน ได้เปิดโอกาสให้พนักงานได้นำเสนอกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชน บ้านเกิดของตัวเองเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะนอกจากช่วยพัฒนาโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษาแล้ว ยังช่วยปลูกฝังจิตอาสาแบ่งปันระหว่างพนักงานมิชลินและชาวบ้าน ชุมชน และเด็กเยาวชน อยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้ตลอดไป"

โรงเรียนบ้านบ่อระแหง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสที่จัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล 1 ถึงมัธยมต้น มีนักเรียนทั้งหมด 192 คน และมีครู 16 คน โดยเน้นการสร้างอาชีพ ควบคู่ความรู้ทางวิชาการ มีนายฉัตรชัย กลั่นบุศย์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งได้กล่าวถึงความรู้สึกว่า ดีใจที่ได้รับการคัดเลือกจากมิชลินนำพนักงานจิตอาสามาร่วมพัฒนาโรงเรียนในครั้งนี้ บ้านบ่อระแหงเป็นโรงเรียนขยายโอกาสย่อมจะขาดแคลนในหลายเรื่อง ตนดีใจมากที่ศิษย์เก่าได้นำโครงการดีๆ ช่วยเหลือสร้างโอกาส เรียนรู้แก่รุ่นน้อง นอกจากได้เห็นถึงการแบ่งปัน พนักงานจิตอาสาจากมิชลินยังพร้อมใจช่วยเหลือโรงเรียนที่ขาดโอกาส การพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืนนั้น ย่อมต้องเกิดจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่เพียงคนในชุมชน โรงเรียน หรือท้องถิ่นเท่านั้น ยังรวมถึงภาครัฐและภาคเอกชนที่เข้ามาเป็นกำลังหลักและกำลังเสริมในการเพิ่มศักยภาพของเด็กและผู้คนในชุมชนด้วย

โรงเรียนเล็กๆ ในชุมชน ท้องถิ่นต่างๆ การช่วยเหลือตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการปลูกผัก เลี้ยงปลา เพื่อนำมาเป็นอาหารกลางวัน หรือการใช้พื้นที่ทางธรรมชาติเป็นห้องเรียนแหล่งเรียนรู้ ล้วนช่วยเติมเต็มทักษะการใช้ชีวิตให้แก่เด็กได้อย่างมาก 4 สาววัยคอซอง ด.ญ.วราพร ชัยเมือง นักเรียนชั้นม.1 ด.ญ.อัจฉรา กล้าหาญ นักเรียนชั้นม. 2 และด.ญ.มณพา ต่างพันธ์หมี ,ด.ญ.ปนัดดา สมคิด นักเรียนชั้นม.3 ช่วยกันเล่าด้วยน้ำเสียงสดใสว่า โรงเรียนได้สอนทักษะทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ ซึ่งในส่วนของวิชาชีพนั้น จะเน้นให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เช่น การทำแปลงเกษตร การเลี้ยงปลา ไก่ หรืองานฝีมือต่างๆ ที่เรานำองค์ความรู้เหล่านี้ไปช่วยที่บ้าน ชุมชนของเราได้ และการทำแปลงเกษตร ปลูกผักด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็น ผักบุ้ง มะเขือเทศ แตงกวา นอกจากจะนำมาเป็นอาหารกลางวันแล้ว ยังเป็นรายได้เสริมให้แก่นักเรียนด้วย

"การได้ปลูกผัก ทำเกษตร หรือกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียนจัดขึ้น เป็นการเรียนรู้นอกเวลา ทำให้เรารู้จักความเหนื่อยว่าเป็นอย่างไร และโตขึ้นเราต้องขยัน อีกทั้งทำให้เรามีความรับผิดชอบ อดทน สามารถช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของครอบครัว เพราะเราจะทำงานบ้าน ปลูกผัก หารายได้ด้วยตนเอง ทักษะเหล่านี้ไม่สามารถหาได้ในห้องเรียน ต้องผ่านการเรียนรู้จากกิจกรรม และเมื่อพี่ๆ ทางมิชลินมาลงพื้นที่จัดกิจกรรม ทำให้พวกเราได้มีห้องเรียน เรียนหนังสือ ทำกิจกรรม และมีสนามเด็กเล่นที่มีเครื่องเล่นไม่ชำรุด เพราะทำมาจากยางรถยนต์ เป็นการสอนให้เราได้เห็นคุณค่าสิ่งของเหลือใช้ รู้จักการแบ่งปัน และเรียนรู้การทำงานกับพี่ๆมิชลิน ขอขอบคุณและอยากให้พี่ๆ มิชลินมาเยี่ยมโรงเรียนหรือมาทำกิจกรรมร่วมกับพวกเรา" ด.ญ.วราพร ตัวแทน 4 กล่าวทิ้งท้ายด้วยรอยยิ้ม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ