ไนท์แฟรงค์เผยประเทศไทยเตรียมก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่

พุธ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๐๑๖ ๑๗:๐๔
นางสาวริษิณี สาริกบุตร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่าประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาที่ไม่พบบ่อยนักในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องด้วยความสำเร็จที่ผ่านมาในการควบคุมการเติบโตของประชากรที่มีส่วนช่วยให้อัตราความยากจนในประเทศลดลงเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหากลายเป็นสังคมผู้สูงอายุและมีความขาดแคลนด้านแรงงานที่มีทักษะ

ตามผลรายงานการสำรวจทั่วประเทศ ร้อยละ 25 ในภาคธุรกิจประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกฉบับหนึ่งอธิบายว่าทุกๆ 100ตำแหน่งงาน บริษัทสามารถว่าจ้างพนักงานได้เพียง 77 ตำแหน่ง นี้เป็นผลลัพธ์จากปัญหาอัตราว่างงานที่น้อยมากในประเทศ คิดเป็นอัตราเฉลี่ยได้ร้อยละ 1 ภายในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปัญหาที่เด่นชัดมากในภาคอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากถึง 600,000 ตำแหน่ง ปัญหานี้ส่งผลให้แผนการขยายภาคอุตสาหกรรมติดอยู่ที่ก้าวแรก

ผู้ประกอบการไทยหลายแห่งทำการจ้างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านตลอดเวลาที่ผ่านมา แต่เมื่อมาตรฐานการดำรงชีวิตและค่าจ้างที่ปรับระดับดีขึ้นในประเทศของกลุ่มแรงงานต่างชาตินั้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจไทยต้องมองหาวิธีแก้ปัญหาที่ยั่งยืนมากขึ้น

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (Industry 4.0) ในขณะนี้ได้กลายเป็นหนึ่งในความคิดริเริ่มล่าสุดของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บริษัทผู้ผลิตหลายแห่งทำการปรับปรุงโรงงานให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะที่ใช้ระบบไซเบอร์ทางกายภาพ (Cyber-Physical System) ในการกระจายอำนาจการผลิตโดยใช้ครื่องจักรในการตรวจสอบกระบวนการทางกายภาพตามจริง

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์คอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 40 ของการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ทั่วโลก ซึ่งส่งออกต่างประเทศมากถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมนี้ คือ Seagate Technology ซึ่งเป็นบริษัทข้ามชาติรุ่นแรกๆในประเทศไทยที่ลงทุนสร้างโรงงานอัจฉริยะ โดยใช้หุ่นยนต์ในการผลิตและประกอบฮาร์ดไดรฟ์ตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน และอัพเดพข้อมูลให้กับมนุษย์ตามเวลาจริงผ่านอินเทอร์เน็ต

อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้จำกัดเพียงธุรกิจโรงงานเท่านั้น บริษัทผลิตเครื่องดื่มอย่าง อิชิตัน ก็เลือกใช้ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติซึ่งกำหนดจำนวนแพคเกจที่จะถูกส่งไปยังท่าเรือเพื่อจัดส่งต่อไปตามข้อมูลการขายที่อัพเดตอัตโนมัติด้วยระบบคลาวด์ผ่านเครื่องเก็บข้อมูล ณ จุดขายทั่วประเทศ

เรายังคงดูกันต่อไปว่าอุตสาหกรรม 4.0 จะมีผลต่อบริษัทผู้ผลิตทั่วโลกและแนวโน้มการย้ายที่ตั้งไปยังประเทศที่มีแรงงานค่าจ้างต่ำกว่า แน่นอนว่าประเทศในฝั่งตะวันตกหวังที่จะเห็นอุตสาหกรรม 4.0 ทำการผลิตภายในประเทศของตน แต่การแข่งขันในตลาดลงทุนโดยตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีตลาดที่มีค่าใช้จ่ายในการผลิตน้อยกว่าและมีฐานอุตสาหกรรมที่มั่นคงอย่างประเทศไทยแข่งขันในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ