สาขาวิชาชีวิวทยา มทร.ธัญบุรี บูรณาการวิชาสอน “หมั่นโถววิทยาศาสตร์” สู่การบริการวิชาการสังคม

พุธ ๑๔ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๒๓
สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี บูรณาการการวิจัยและการเรียนการสอนเพื่อนำความรู้ชีววิทยา ถ่ายทอดความรู้ชุมชนคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

ดร.อัษฎาวุธ อารีสิริสุข อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เล่าว่า โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตอาหารหมักจากผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น หนึ่งในโครงการบูรณาการวิชาเรียน ต่อยอดสู่การบริการชุมชน ซึ่งปีการศึกษานี้ทางสาขาวิชาชีววิทยาเรียนวิชาชีววิทยาของยีสต์ โดยต้องเรียนรู้กระบวนการทำหมั่นโถว เนื่องจากในการทำหมั่นโถ่วต้องมีการประยุกต์ใช้ยีสต์ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้นำกระบวนการทำหมั่นโถว ไปบริการวิชาการชุมชนคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อให้ชาวบ้านนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังให้ความรู้ทางด้านสุขาภิบาลความสะอาดกระบวนการในการทำอาหาร บูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้เข้ากับชุมชน เป็นความรู้ที่สามารถจับต้องได้ ประยุกต์วัตถุดิบที่มีในชุมชนเพิ่มสีสันให้หมั่นโถว เช่น ดอกอัญชัน หัวบีท แครอท นักศึกษาจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ ที่ในห้องเรียนไม่มี และได้นำความรู้ที่ได้เรียนไปถ่ายทอดให้ชาวบ้าน โดยมีชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมกว่า 30 คน นักศึกษาจิตอาสาระดับปริญญาโทและปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ประมาณ 13 คน

"พลอย" นางสาวอาทิตยาพัณณ์ กันนิกา นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาชีววิทยา เล่าว่า เคยเข้าร่วมบริการวิชาการกับทางสาขาวิชาตั้งแต่เรียนชั้นปริญญาตรี นำวิชาที่เรียนไปบูรณาการเข้ากับชุมชน เป็นประสบการณ์อีกประสบการณ์หนึ่งในชีวิตการเรียน ชุมชนที่ได้ลงพื้นที่จะมีภูมิปัญญาที่แตกต่างกัน ปัญหาของแต่ละแหล่งๆ จะไม่เหมือนกัน ความรู้ของชาวบ้านบางเรื่องเราอาจจะไม่รู้ เมื่อได้แลกเปลี่ยนพูดคุยได้ทำให้มีความรู้เพิ่มมากขึ้น นอกจากการสอนทำหมั่นโถวให้ชาวบ้าน ยังมีการอบรมเกี่ยวกับสุภาภิบาลที่ถูกต้องให้กับชาวบ้านอีกด้วย

"อาร์ท" นายกฤตกร ลิ้มรุจิวัฒน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ประธานฝ่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ สโมสรคณะวิทยาศาสตร์ เล่าว่า ส่วนใหญ่จะออกทำกิจกรรมจิตอาสากับทางสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่ออกเป็นทำจิตอาสา แต่ในฐานะวิทยากรให้ความรู้ชาวบ้าน นอกจากที่ได้เรียนรู้วิชาเรียนในห้องเรียน ความรู้ที่ได้ไม่เพียงแต่จบในห้องเรียน แต่ยังนำไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านอีกด้วย เป็นบททดสอบเรื่องบททดสอบว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด ในการเดินทางไปในครั้งนี้ ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ความรู้ใหม่นอกห้องเรียน การคั้นน้ำดอกอัญชัน ควรคั้นในน้ำอุ่นมากกว่าน้ำปกติ เพราะจะได้สีของน้ำดอกอัญชันที่สวย ความรู้เหล่านี้ ถ้าไม่ได้ลงพื้นที่จริง หรือหน้างานอาจจะไม่พบ

ทางด้าน "ไฟร์ท" นางสาวธัญญภรณ์ จรรยารัตนวิถี และ "เต้ย" นายรัฐภูมิ สินศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เล่าว่า"เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน" ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ นำความรู้ที่ได้เรียนมา ไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้าน เนื่องจากทุกวันนี้นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้น ความรู้ใหม่ๆ ที่ในตำราเรียน ชาวบ้านไม่รู้ หรือจะเป็นประสบการณ์ที่ชาวบ้านมี แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ถ้ามีโอกาสอยากเข้าร่วมโครงการนี้อีกครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version