เอชพี สร้างนิยามใหม่ของการรักษาความปลอดภัยใน “บริการจัดการเครื่องพิมพ์ (MPS)” ที่มาพร้อมกับมาตรฐานการพิมพ์ที่ปลอดภัยระดับโลก

ศุกร์ ๑๖ ธันวาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๕๒
วันนี้ เอชพี อิงค์ ผู้นำระดับโลกด้านการพิมพ์ ประกาศปรับโฉมรูปแบบการให้บริการจัดการเครื่องพิมพ์ของเอชพี (HP Managed Print Services - MPS)เพื่อช่วยปกป้องสภาพแวดล้อมการพิมพ์ขององค์กรต่อการโจมตีทางไซเบอร์ ด้วยระบบการพิมพ์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก

ความสามารถใหม่ๆ ใน HP Secure MPS ประกอบไปด้วย บริการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงจากผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ ซอฟต์แวร์โซลูชั่นต่างๆ และการขยายความสามารถในการให้บริการลูกค้าที่ใช้งานเครื่องพิมพ์จาก ผู้จำหน่ายหลายราย นอกจากนี้ เอชพี ยังได้ประกาศติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัย (pre-configured) บนอุปกรณ์เครื่องพิมพ์ของเอชพีอีกด้วย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์www.hp.com/go/SecureMPS

นายปวิณ วรพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอชพี อิงค์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยเครื่องพิมพ์ที่ทำงานเชื่อมต่อบนระบบเน็ตเวิร์ก เนื่องจากระบบไฟร์วอลล์ในปัจจุบันไม่สามารถต่อกรกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีปริมาณและความซับซ้อนเพิ่มขึ้นได้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ เอชพีได้สร้างมาตรฐานใหม่ในการให้บริการจัดการเครื่องพิมพ์ ด้วยการผสมผสานแนวทางในการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดเข้าไปในทุกสิ่งที่เราทำ เพื่อให้ลูกค้าของเราสามารถจัดการกับทุกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของอุปกรณ์ที่เข้ามาท้าทายและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นได้"

บริการด้านความปลอดภัยต่างๆ จากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของอุตสาหกรรมพร้อมช่วยลดภาระให้กับฝ่ายไอที

เอชพีได้ผนวกรูปแบบการดำเนินงานที่ก้าวล้ำและทีมเทคนิคมืออาชีพเข้าไว้ใน HP Secure MPS เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเอ้าท์ซอร์สและปรับปรุงระบบการรักษาความปลอดภัย พร้อมช่วยประหยัดการใช้งานทรัพยากรไอทีที่มีคุณค่าต่อองค์กร โดยบริการและความสามารถใหม่ๆ นี้ประกอบไปด้วย:

· บริการดำเนินการในการรักษาความปลอดภัยของการพิมพ์ – เอชพีมีทีมช่างเทคนิคด้านการรักษาความปลอดภัยเฉพาะของตนเอง ที่จะมาช่วยดำเนินการให้เป็นไปตามแผนรักษาความปลอดภัยของการพิมพ์ที่องค์กรวางไว้

· บริการที่ปรึกษาด้านความปลอดภัย – ทีมที่ปรึกษาด้านการรักษาความปลอดภัยของเอชพี พร้อมมอบความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงรายละเอียดความเสี่ยง การประเมินแผนการรักษาความปลอดภัยเป็นประจำ และช่วยตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กร (compliance audit)แบบเฉพาะกิจ

· การกำกับดูแลความปลอดภัยของการพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กร – เอชพี พร้อมช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามข้อกำหนดขององค์กร ด้วยความสามารถในการจัดการตั้งค่าความปลอดภัยจากระยะไกลใหม่ และการตรวจสอบเครื่องพิมพ์ทั้งหมดที่มีเพื่อดูปัญหาที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการทำรายงานการปฏิบัติการถึงสถานะความปลอดภัยของเครื่องพิมพ์

· การเพิ่มการอบรม – เอชพีได้ลงทุนเพื่อเพิ่มระดับของความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่พนักงาน MPS และทีมงานด้านเทคนิค โดยทุกคนจะได้รับการรับรองความสามารถด้านความปลอดภัย เช่น การรับรองจาก CompTIA

· การรายงานและการตรวจสอบที่ล้ำหน้า – เอชพีได้ใส่ความสามารถด้านการรักษาความปลอดภัยไปในระบบการติดตามและรายงานของ MPS เพื่อให้สามารถเห็นสถานะการพิมพ์ และสามารถตรวจหาแนวทางปฏิบัติในการรักษาความปลอดภัยที่ดีที่สุดได้

· บริการและเครื่องมือใหม่ๆ ในการจัดการจากระยะไกล – เครื่องมือใหม่ๆ ของเอชพีในซอฟต์แวร์HP MPS จะช่วยให้สามารถจัดการการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น การอัพเดทเฟิร์มแวร์และการจัดการรหัสผ่านเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถเอ้าท์ซอร์สงานด้านการรักษาความปลอดภัยของไอทีที่น่าเบื่อออกไปได้ โดยการทำงานเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา MPS

นายโรเบิร์ต พาล์มเมอร์ ผู้อำนวยการวิจัย พร้อมด้วยทีมโซลูชั่นด้านภาพถ่าย การพิมพ์และเอกสารของไอดีซี 1กล่าวว่า "องค์กรต้องหันมาให้ความสำคัญในการจัดการปัญหาด้านการรักษาความปลอดภัยในโครงสร้างพื้นฐานด้านการพิมพ์และเอกสารแบบเชิงรุก และเราเชื่อมั่นว่าผู้ให้บริการด้านการจัดการการพิมพ์ (MPS) อย่างเอชพีจะสามารถเป็นพาร์ทเนอร์สำคัญขององค์กรต่างๆได้ "

ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกติดตั้ง (Pre-configured) มาในเครื่องพิมพ์ทุกเครื่อง

เอชพี ยกระดับมาตรฐานธุรกิจการพิมพ์ให้ก้าวไกลไปอีกขั้น ด้วยการประกาศการเริ่มต้นส่งเครื่องพิมพ์ด้วยการปิดอินเตอร์เฟซที่มีความปลอดภัยน้อย โดยลูกค้าจะสามารถเปิดพอร์ตและโปรโตคอลเมื่อมีความจำเป็นต้องเปิดใช้งานเครื่องพิมพ์ใหม่บนเครือข่ายขององค์กรตนเอง

· แนวทางใหม่ในการตั้งค่าอุปกรณ์ – เอชพีได้เริ่มกระบวนการในการยกเลิกอินเตอร์เฟซเก่าๆ ที่ดูแลลำบากไม่ว่าจะเป็น พอร์ต โปรโตคอล และcipher suites ที่ระบุโดยNIST ว่ามีความปลอดภัยน้อยกว่า รวมถึง FTP และ Telnet และนำเสนอ November FurtureSmart firmware update ของเอชพีที่จะช่วยปรับปรุงการดูแลการตั้งค่ารหัสผ่านของแอดมินและการเข้ารหัส สำหรับทั้งเครื่องพิมพ์ระดับองค์กรของเอชพีและ MFPs ใหม่และที่มีอยู่เดิม

· การพาร์ทเนอร์กับซอฟต์แวร์คอมมูนิตี้ – เอชพีทำงานกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องในการช่วยปรับเปลี่ยนแอพพลิเคชั่นต่างๆ ของพวกเขา และให้หันมาใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เฟซที่ใหม่และดีกว่า เพื่อปิดการใช้งานอินเตอร์เฟซต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้

การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโซลูชั่นโดยมุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของข้อมูล อุปกรณ์ และเอกสาร

HP JetAdvantage workflow และโซลูชั่นการพิมพ์ต่างๆ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญและงานสำหรับลูกค้าองค์กร เพื่อช่วยลดภาระงานด้านไอทีและค่าใช้จ่าย ปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานให้ดียิ่งขึ้น และผู้ใช้สามารถพิมพ์งานได้อย่างปลอดภัย โดยเอชพีได้พัฒนาฟังก์ชั่นด้านความปลอดภัยใหม่ๆ ดังต่อไปนี้:

· HP Access Control - HP Access Control มาพร้อมกับความสามารถในการตรวจสอบ (authentication) การอนุมัติ (authorization) และการรักษาความปลอดภัยในการพิมพ์ โดยยังได้ปรับปรุงฟังก์ชั่นและการสนับสนุนการทำงานของการ์ดรีดเดอร์ SNMPv3 ใหม่ร่วมกับ HIP2 และให้ผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบและออกจากระบบเพียงแค่รูดบัตรธรรมดาหรือสมาร์ทการ์ด

· HP Capture and Route - HP Capture and Route ช่วยให้สามารถควบคุมและตรวจสอบข้อมูลที่ถูกแสกนและเอกสารที่ถูกเผยแพร่ออกไปด้วยการสัมผัสปุ่มเพียงปุ่มเดียวเท่านั้น ฟีเจอร์ใหม่ๆ ประกอบด้วย การสนับสนุนการทำงานของ LDAP แทนที่ SSL, การเข้ารหัสข้อมูลที่สแกนเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ Capture and Route และMyMessages ทำให้สามารถพิมพ์ข้อความของผู้ใช้และแฟกซ์ได้ขณะที่ยืนที่ MFP

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ